LASTEST NEWS

05 พ.ค. 2567‘เพิ่มพูน’ ยันโรงเรียนห้ามกั๊กการออกใบเกรดหากเด็กค้างค่าเทอม 05 พ.ค. 2567ก.ค.ศ.เดินหน้ารื้อระบบ ศน.ใหม่ ยกเครื่อง ปรับบทบาทหน้าที่ เพิ่มคุณสมบัติ ดึงบุคลากรคุณภาพพัฒนาคุณภาพการศึกษา 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 04 พ.ค. 2567สพม.ชัยภูมิ ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 2 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชลบุรี เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567โรงเรียนหนองไผ่ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกคอมพิวเตอร์ เงินเดือน 10,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 พฤษภาคม พ.ศ.2567 03 พ.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลสกลนคร รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกคณิตศาสตร์ เงินเดือน 9,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 8 พฤษภาคม พ.ศ.2567

การพัฒนารูปแบบการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนหัวถนนวิทยา

usericon

ชื่อเรื่อง:    การพัฒนารูปแบบการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนหัวถนนวิทยา
ผู้วิจัย:    นางสาวเกศินี ศรีสุข
ปีที่วิจัย:    2565 - 2566

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการที่เกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนหัวถนนวิทยา 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนหัวถนนวิทยา 3) ทดลองใช้รูปแบบการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนหัวถนนวิทยา 4) ประเมินและรับรองรูปแบบการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนหัวถนนวิทยา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 โรงเรียนหัวถนนวิทยาที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 1,050 คน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูที่ปฏิบัติหน้าที่สอนโรงเรียนหัวถนนวิทยา ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 58 คน และ ครูที่ปฏิบัติหน้าที่สอนโรงเรียนหัวถนนวิทยา ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 61 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนหัวถนนวิทยา จำนวน 285 คน ได้มาโดยใช้ตารางเครจซี่ และ มอร์แกน (Krejcie and Morgan, 1970) และการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและความต้องการสำหรับครู จำนวน 1 ฉบับ แบบประเมินความสอดคล้องสำหรับผู้เชี่ยวชาญ 1 ฉบับ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับ การทดลองใช้รูปแบบ 1 ฉบับ แบบสอบถามความพึงพอใจของครู จำนวน 1 ฉบับ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน จำนวน 1 ฉบับ แบบประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน จำนวน 1 ฉบับ แบบประเมินสมรรถนะของผู้เรียน จำนวน 1 ฉบับ และแบบประเมินและรับรองรูปแบบ จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
    ผลการวิจัยพบว่า
     1. สภาพปัญหาการพัฒนารูปแบบการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนหัวถนนวิทยา ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.41 ,  = 0.78) และความต้องการพัฒนารูปแบบการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนหัวถนนวิทยาในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65,  = 0.48)
        2. รูปแบบการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนหัวถนนวิทยา ตามความคิดเห็นของเชี่ยวชาญ องค์ประกอบของรูปแบบมี 5 องค์ประกอบ พบว่า มีความสอดคล้องทุกองค์ประกอบ โดยองค์ประกอบที่มีความสอดคล้องมากที่สุด ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 หลักการ (IOC = 1.00) องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ (IOC = 1.00) องค์ประกอบที่ 3 กระบวนการ (IOC = 1.00) รองลงมา ได้แก่ องค์ประกอบที่ 4 การวัดและประเมินผล (IOC = 0.80) องค์ประกอบที่ 5 ผลลัพธ์และผลผลิต (IOC =0.80) ตามลำดับ ได้รูปแบบรูปแบบการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนหัวถนนวิทยา คือ
        3. การทดลองใช้รูปแบบการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนหัวถนนวิทยา โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.66 ,  = 0.47) พบว่า
        3.1 ผลการประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนหัวถนนวิทยา โดยรวมมีระดับความพึงพอใจมากที่สุด ( = 4.70 ,  = 0.51)
        3.2 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนหัวถนนวิทยา โดยรวมมีระดับความเหมาะสมมากที่สุด (¯("X" ) = 4.67, S.D. = 0.58)
        3.3 ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน พบว่า โดยรวมมีระดับความเหมาะสมมากที่สุด (¯("X" ) = 4.66, S.D. = 0.48)
        3.4 ผลการประเมินสมรรถนะของผู้เรียน พบว่า โดยรวมมีระดับความเหมาะสมมากที่สุด (¯("X" ) = 4.65 , S.D. = 0.48)
     4. ผลการประเมินและรับรองรูปแบบการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนหัวถนนวิทยา โดยรวมมีระดับความเหมาะสมมากที่สุด ( = 4.68 ,  = 0.39)
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^