LASTEST NEWS

05 พ.ค. 2567‘เพิ่มพูน’ ยันโรงเรียนห้ามกั๊กการออกใบเกรดหากเด็กค้างค่าเทอม 05 พ.ค. 2567ก.ค.ศ.เดินหน้ารื้อระบบ ศน.ใหม่ ยกเครื่อง ปรับบทบาทหน้าที่ เพิ่มคุณสมบัติ ดึงบุคลากรคุณภาพพัฒนาคุณภาพการศึกษา 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 04 พ.ค. 2567สพม.ชัยภูมิ ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 2 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชลบุรี เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567โรงเรียนหนองไผ่ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกคอมพิวเตอร์ เงินเดือน 10,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 พฤษภาคม พ.ศ.2567 03 พ.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลสกลนคร รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกคณิตศาสตร์ เงินเดือน 9,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 8 พฤษภาคม พ.ศ.2567

การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ

usericon

หัวข้อการวิจัย    การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ เพื่อส่งเสริมความสามารถ
ในการคิดแก้ปัญหา สำหรับเด็กปฐมวัย
ปีการศึกษา        2565
ชื่อผู้วิจัย        นางสาวนิยะฉัตร เอมะสุวรรณ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนพนมมาศพิทยากร อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์

บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับเด็กปฐมวัย โดยดำเนินการวิจัย ใน 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ สำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับเด็กปฐมวัย โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสนทนากลุ่ม ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย และครูผู้สอนปฐมวัย จำนวน 10 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 2) ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับเด็กปฐมวัย ดำเนินการออกแบบและพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ แล้วตรวจสอบความถูกต้องครอบคลุมของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการศึกษาปฐมวัย จำนวน 5 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยใช้แบบประเมินความถูกต้องครอบคลุมของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ จากนั้นจึงนำรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ ไปทดลองใช้เพื่อหาประสิทธิภาพแบบเดี่ยว แบบกลุ่มเล็ก และแบบภาคสนาม 3) ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับเด็กปฐมวัย โดยนำรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ ไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างคือ เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนพนมมาศพิทยากร อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 18 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จากนั้นจึงศึกษาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและศึกษาความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ โดยใช้แบบประเมินความสามารถในการคิดแก้ปัญหา และแบบสอบถามความพึงพอใจ และ 4) ขั้นตอนที่ 4 การยืนยัน ขยายผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับเด็กปฐมวัย โดยนำรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ ไปขยายผล กับกลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กปฐมวัยและครูปฐมวัย โรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 5 โรงเรียน รวมจำนวนทั้งสิ้น ครู 5 คน เด็กปฐมวัย 87 คน โดยเป็นการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) จากนั้นทำการประเมินคุณภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ ในด้านความเหมาะสม ด้านความเป็นไปได้ และด้านการนำไปใช้ประโยชน์ โดยครูผู้สอนปฐมวัย กลุ่มการยืนยันขยายผล โดยใช้แบบประเมินคุณภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ และดำเนินการศึกษาประเด็นปรับปรุงรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ โดยการสัมภาษณ์ครูผู้สอนปฐมวัย กลุ่มการยืนยัน แล้วจึงปรับปรุงรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับเด็กปฐมวัย ให้มีความสมบูรณ์
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการ สำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับเด็กปฐมวัย 1) สภาพปัจจุบัน ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา 1.1) ด้านหลักสูตร คือ ครูผู้สอนปฐมวัยมีการวิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2560 เพื่อนำมาจัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 1.2) ด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คือ ครูผู้สอนปฐมวัยมีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็กปฐมวัยได้ลงมือปฏิบัติจริง ผ่านการใช้คําถามหรือสถานการณ์ปัญหาในการดำเนินกิจกรรม 1.3) ด้านการวัดและประเมินผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คือ ครูผู้สอนปฐมวัยมีการวัดและประเมินผลพัฒนาการเด็กปฐมวัยมีวิธีการต่าง ๆ อย่างหลากหลาย 1.4) ด้านความสามารถในการคิดแก้ปัญหา คือ การค้นพบวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะกับสถานการณ์และตนเอง เป็นพื้นฐานที่สำคัญของการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย 2) สภาพปัญหาในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา 2.1) ด้านหลักสูตร คือ ครูขาดความเข้าใจในการคัดเลือกสาระการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 2.2) ด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คือ ครูขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกลยุทธ์ในการพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหา 2.3) ด้านการวัดและประเมินผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คือ ครูขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบเครื่องมือในการประเมินความสามารถในการคิดแก้ปัญหา 2.4) ด้านความสามารถในการคิดแก้ปัญหา คือ เด็กไม่เข้าใจกระบวนการทำความเข้าใจกับปัญหา และขาดทักษะการคิดแก้ปัญหา 3) ผลการศึกษาความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ 3.1) ด้านหลักการของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คือ เด็กปฐมวัยทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ 3.2) ด้านวัตถุประสงค์ของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย 3.3) ด้านสาระการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คือ ควรเป็นเนื้อหาในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 มาตรฐานที่ 10 มีความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ 3.4) ด้านกิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คือ เด็กได้เรียนรู้และแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ด้วยตนเอง ภายใต้ความท้าทายอย่างเป็นระบบ 3.5) ด้านสื่อและแหล่งการเรียนรู้ คือ ควรจัดกิจกรรม สื่อ วัสดุอุปกรณ์ สภาพแวดล้อมทั้งในและนอกห้องเรียน 3.6) ด้านการวัดและประเมินผล คือ การวัดประเมินผลตามสภาพจริงอย่างหลากหลาย 3.7) ด้านความสามารถในการคิดแก้ปัญหาสำหรับเด็กปฐมวัย คือ การทำความเข้าใจกับปัญหา และการคิดหาเหตุผล เพื่อแสวงหาทางเลือกมาปฏิบัติในการแก้ปัญหาด้วยวิธีการใหม่ที่ต่างจากสิ่งที่มีอยู่เดิม หลากหลายมากกว่าหนึ่งวิธีคิดหรือหนึ่งแนวคิด และทำการประเมินข้อค้นพบสำหรับการแก้ปัญหา สามารถแก้ปัญหาได้สำเร็จ
2. รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับเด็กปฐมวัย มี 6 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 หลักการ องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ องค์ประกอบที่ 3 สาระการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 4 กิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 5 สื่อและแหล่งการเรียนรู้ และองค์ประกอบที่ 6 การวัดและประเมินผล โดยมีขั้นตอนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ตระหนักรู้ สู่ปัญหา (Problem Finding : P) หมายถึง การสังเกต สำรวจ รับรู้ ขั้นที่ 2 สำรวจ สืบค้น ข้อมูล เพื่อค้นหาความคิด (Idea Finding : I) ขั้นที่ 3 ลงมือปฏิบัติ (Action Finding : A) ขั้นที่ 4 สร้างความคิดรวบยอดเพื่อสรุปความเข้าใจ (Concept Finding : C) และขั้นที่ 5 ประเมินผลการปฏิบัติ (Assessment Finding : A) และรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ มีระดับความถูกต้องครอบคลุม (Accuracy) ในภาพรวมอยู่ในระดับถูกต้องครอบคลุมมากที่สุด
3. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหา อยู่ในระดับดี และมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ อยู่ในระดับมาก
4. ผลการยืนยันการขยายผลการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ 1) เด็กปฐมวัยกลุ่มการยืนยันขยายผล มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหา อยู่ในระดับดี และมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ อยู่ในระดับมาก 2) คุณภาพของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ จากการสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอนเด็กปฐมวัยกลุ่มการยืนยันขยายผล ในด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และการนำไปใช้ประโยชน์ อยู่ในระดับคุณภาพมากที่สุด 3) ประเด็นการปรับปรุงรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ ฉบับสมบูรณ์ 3.1) จุดเด่นของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ คือ ทำให้เด็กมีความคิดที่หลากหลายในการแก้ปัญหา มีสมาธิและมีการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอน และสามารถพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาที่สามารถใช้ได้ในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์ที่เด็กสามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเอง 3.2) ข้อจำกัดของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ คือ ควรมีการขยายการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดผลในระยะยาว และในการทำกิจกรรมต้องอาศัยความระมัดระวัง การดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษจากครูผู้สอน 3.3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางหรือวิธีการที่ทำให้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เชิงบูรณาการ บรรลุวัตถุประสงค์ 3.3.1) ด้านครูผู้สอน คือ ครูต้องศึกษาขั้นตอนของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ 3.3.2) ด้านเทคนิคการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ คือ ครูผู้สอนต้องมีความสร้างสรรค์ สามารถใช้เทคนิคการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้เชื่อมโยงการแก้ปัญหา 3.3.3) ด้านการประเมินผล คือ ครูต้องติดตามสังเกตและจดบันทึกพฤติกรรมเด็กอย่างละเอียดและรอบด้าน
doreing 07 มี.ค. 2567 เวลา 19:25 น. 0 94
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^