LASTEST NEWS

05 พ.ค. 2567‘เพิ่มพูน’ ยันโรงเรียนห้ามกั๊กการออกใบเกรดหากเด็กค้างค่าเทอม 05 พ.ค. 2567ก.ค.ศ.เดินหน้ารื้อระบบ ศน.ใหม่ ยกเครื่อง ปรับบทบาทหน้าที่ เพิ่มคุณสมบัติ ดึงบุคลากรคุณภาพพัฒนาคุณภาพการศึกษา 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 04 พ.ค. 2567สพม.ชัยภูมิ ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 2 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชลบุรี เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567โรงเรียนหนองไผ่ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกคอมพิวเตอร์ เงินเดือน 10,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 พฤษภาคม พ.ศ.2567 03 พ.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลสกลนคร รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกคณิตศาสตร์ เงินเดือน 9,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 8 พฤษภาคม พ.ศ.2567

พัฒนาทักษะวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานบูรณาการกับการเรียนสืบเสาะความรู

usericon

นวัตกรรมการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)

ชื่อผลงาน พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน บูรณาการกับการเรียนแบบสืบเสาะ
ความรู้ 5 ขั้น เรื่องหินและซากดึกดำบรรพ์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ชื่อผู้เสนอผลงาน โกวิท บุญฤทธิ์
โรงเรียนวัดสมัยคงคา
สังกัด สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1
โทรศัพท์
e-mail : kovit.1996b@gmailcom

1. ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรมที่นําเสนอ
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องฝึกฝนให้เกิดขึ้นกับทุกคนเพราะไม่เพียงแต่จะ เป็นแนวทางในการค้นคว้าหาความรู้ หรือหาคำตอบสำหรับปัญหาต่าง ๆ เท่านั้น แต่ยังเป็นประโยชน์และ เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราอย่างใกล้ชิด ดังนั้นครูผู้สอนควรจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นักเรียนทุกคนได้ ฝึกฝนจนเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้ได้ เพื่อเขาเหล่านั้นจะได้เป็นคนช่างสังเกต รู้จักคิดอย่างมี เหตุผล รู้จักแก้ปัญหาต่าง ๆ อย่างมีระบบและรู้จักค้นคว้าหาความรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้เขา เหล่านั้นเป็นคนคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้ เพื่อดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีคุณค่าต่อตนเองและมีความสุข ทักษะกระบวนการพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ควรได้รับการฝึกฝนอย่างจริงจัง สำหรับนักเรียนระดับชั้น
ประถมศึกษา รวม 8 ทักษะ ตามแนวทางของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประกอบด้วย ทักษะการสังเกต ทักษะการวัด ทักษะการจําแนกประเภท ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา ทักษะการคํานวณ ทักษะการจัดกระทําและสื่อความหมายข้อมูล ทักษะการลงความคิดเห็น จากข้อมูล และทักษะการพยากรณ์ ทักษะทั้ง 8 ทักษะ เป็นทักษะพื้นฐานที่สําคัญสําหรับทุก ๆ คน ในการที่ จะดํารงชีวิตได้อย่างมีคุณค่าต่อตนเองและสังคม ตลอดจนเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้คิดเป็น ทําเป็น แก้ปัญหาเป็น และรู้จักค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองอีกด้วย
    ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ทาง วิทยาศาสตร์ เพราะความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ได้จากการศึกษาในแต่ละครั้งจะมีความน่าเชื่อถือหรือไม่นอกเหนือจากการที่ผู้ศึกษาหาความรู้ดังกล่าวจะใช้วิธีการที่น่าเชื่อถือแล้ว ตัวผู้ศึกษาหาความรู้เองจะต้องมี ทักษะหรือมีความสามารถในการที่จะให้การดําเนินการศึกษาหาความรู้ในครั้งนั้นมีความราบรื่น ข้อมูลที่ได้ใน
แต่ละขั้นตอนมีความน่าเชื่อถือ และเนื่องจากเราถือว่ามนุษย์มีความแตกต่างในความถนัดและความสามารถที่ ติดตัวมาแต่กําเนิด แต่ไม่ได้หมายความว่าความแตกต่างดังกล่าวจะไม่สามารถปรับปรุงหรือพัฒนาได้ จาก การศึกษาในปัจจุบันเราพบว่า ความสามารถหรือทักษะต่าง ๆ เราสามารถฝึกฝนและพัฒนาเพื่อให้เกิดความ ชํานาญได้ ดังนั้นการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความชํานาญ สามารถ เลือกใช้ทักษะต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมในการแก้ปัญหาแต่ละด้านก็สามารถกระทําได้เช่นเดียวกัน
    จากเหตุผล ดังกล่าวข้างต้น ทําให้ผู้เสนอผลงานเห็นว่า สิ่งสําคัญในการสอนวิทยาศาสตร์นอกจากความรู้ในเนื้อหาแล้ว ยังต้องฝึกในส่วนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และเสริมสร้างเจตคติทางวิทยาศาสตร์แก่นักเรียนเป็นสําคัญอีกด้านหนึ่ง ดังนั้นการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน บูรณาการร่วมกับการเรียนแบบสืบเสาะความรู้ ๕ ขั้น รายวิชาวิทยาศาสตร์จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การเสริมสร้างเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ และทําให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงขึ้น

2.จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
    จุดประสงค์
-เพื่อจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้ฝึกทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน
     -เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน
     -เพื่อให้นักเรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถนำเสนอผลงานเอกสารรายงาน
เป้าหมาย
     นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดสมัยคงคา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 22 คน

3.กระบวนการผลิตผลงานหรือขั้นตอนการดำเนินงาน
3.1 วิเคราะห์สภาพปัญหาจากการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
3.2 ศึกษาหลักสูตรกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ การจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
3.3 ศึกษา ค้นคว้า กิจกรรมวิทยาศาสตร์ในรูปแบบต่างๆ
3.4 ออกแบบกิจกรรมพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน บูรณาการกับ
การเรียนแบบสืบเสาะความรู้ 5 ขั้น เรื่องหินและซากดึกดำบรรพ์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
3.5 สร้างชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน บูรณาการกับ
การเรียนแบบสืบเสาะความรู้ 5 ขั้น
3.6 นําชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน บูรณาการกับ การเรียนแบบสืบเสาะความรู้ 5 ขั้น ไปทดลองใช้กับนักเรียน ให้ครบทุกกิจกรรม เพื่อปรับปรุง แก้ไข กิจกรรมให้ดียิ่งขึ้น โดยในชุดกิจกรรมที่ปรับปรุงแก้ไขและได้ทดลองใช้ จะประกอบด้วย 6 กิจกรรม คือ
3.6.1 กิจกรรมที่ 1 กระบวนการเกิดหิน,กิจกรรมที่ 2 สังเกตหิน (ทักษะการสังเกต, (ทักษะการจัดทำและสื่อความหมายข้อมูล,ทักษะการตีความหมายและลงความเห็นข้อมูล)
3.6.2 กิจกรรมที่ 2 สังเกตหิน (ทักษะการจำแนกประเภท)
3.6.3 กิจกรรมที่ 3 หินในท้องถิ่น (ทักษะการสังเกต,ทักษะการวัด,ทักษะการลงความเห็นข้อมูล)
3.6.4 กิจกรรมที่ 4 ประโยชน์ของหิน (ทักษะการสังเกต, ทักษะการลงความเห็นข้อมูล)
3.6.5 กิจกรรมที่ 5 แบบจำลองการเกิดซากดึกดำบรรพ์ (ทักษะการสังเกต)
3.6.6 กิจกรรมที่ 5 แบบจำลองการเกิดซากดึกดำบรรพ์ (ทักษะการวัด,ทักษะการคำนวณ)
3.6.7 กิจกรรมที่ 5 แบบจำลองการเกิดซากดึกดำบรรพ์ ,กิจกรรมที่ 6 ถ้วยปั้นแบบจำลองซากดึกดำบรรพ์(ทักษะการพยากรณ์,ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา)

3.7 ระยะเวลาการดำเนินงาน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566

แผนผังกระบวนการดำเนินการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน บูรณาการกับการเรียนแบบสืบเสาะความรู้ 5 ขั้น เรื่องหินและซากดึกดำบรรพ์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Plan = P
1. กําหนดเป้าหมาย การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยเมื่อนักเรียนทํากิจกรรมครบ 7 กิจกรรมหลัก นักเรียนจะมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้น ผ่านเกณฑ์ที่กําหนด ร้อยละ 75 นักเรียนมีความสุข สนุก เกิดเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ สามารถทํากิจกรรมทั้งแบบเดี่ยวและแบบกลุ่ม อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
2. วางแผนการทํางาน โดยการวิเคราะห์สภาพปัญหาจากการจัดการเรียนรู้ ผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนของนักเรียน ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักสูตรสถานศึกษา แนวทางการจัด กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ลักษณะกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ออกแบบกิจกรรมร่วมกับนักเรียน ให้ครบจำนวนชั่วโมง 7 ชั่วโมง มีการสร้างชุดข้อสอบเพื่อวัดและประเมินนักเรียน
ก่อน-หลัง การทำกิจกรรม
3. จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ที่จะต้องใช้ในแต่ละกิจกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัสดุหาง่าย ลงทุนน้อยและประหยัด
Do = D
ลงมือปฏิบัติตามแผนโดยพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน บูรณาการกับการเรียนแบบสืบเสาะความรู้ 5 ขั้น เรื่องหินและซากดึกดำบรรพ์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Check = C
ตรวจสอบผลงาน สังเกตและวัดประเมินผลนักเรียน นําข้อบกพร่อง ข้อเสนอแนะ จากการทดลองใช้ไปปรับปรุงชุดกิจกรรมให้มีความเหมาะสม สอดคล้อง มากขึ้น
Action =A
ปรับปรุงชุดกิจกรรมให้ดีขึ้น โดยการเพิ่มกิจกรรมการทดลองให้มากขึ้น เพราะกิจกรรมที่จัดขึ้นสามารถฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้หลายทักษะใน 1 กิจกรรม

4.ผลการดำเนินงาน
     4.1 นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน บูรณาการกับการเรียนแบบสืบเสาะความรู้ 5 ขั้น เรื่องหินและซากดึกดำบรรพ์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ร้อยละ 83.63 จากการใช้แบบประเมินวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน
4.2 นักเรียนได้รับการพัฒนาทักษะทางกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ซึ่งได้แก่
1) การสังเกต
2) การวัด
3) การคํานวณ
4) การจําแนกประเภท
5) การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา
6) การจัดกระทําและสื่อความหมายข้อมูล
7) การลงความเห็นจากข้อมูล
8) การพยากรณ์
4.3 นักเรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถนําเสนอผลงาน เอกสารรายงาน

5. ปัจจัยความสําเร็จ
5.1 นักเรียนให้ความสนใจ ชื่นชอบและสนุกกับกิจกรรม
5.2 ครูมีความตั้งใจ มุ่งมั่นที่จะพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้กับนักเรียน ในการสนับสนุนนักเรียนทํากิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน
5.3 ผู้ปกครองให้ความร่วมมือสนับสนุนส่งเสริมการทำกิจกรรมของนักเรียน
5.4 ผู้บริหาร เพื่อนครู ให้การสนับสนุนและส่งเสริมให้กําลังใจเป็นอย่างดี

6. บทเรียนที่ได้รับ
ในการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน บูรณาการกับการเรียนแบบสืบเสาะ ความรู้ 5 ขั้น รายวิชาวิทยาศาสตร์ ควรเป็นกิจกรรมที่ฝึกทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ จากลำดับขั้นต้น คือ การสังเกต แล้วค่อยๆ ฝึกทักษะไปจนกระทั่งเกิดทักษะทางวิทยาศาสตร์ ขั้นสูง กิจกรรมต้องเป็นกิจกรรมที่สนุก และควรมีกิจกรรมการทดลองมากกว่า กิจกรรมอื่นๆ เพราะ จะกระตุ้นความสนใจของนักเรียนเป็นอย่างดี นอกจากนี้ กิจกรรมที่นํามาใช้จัดควรเป็นกิจกรรมที่สามารถหา อุปกรณ์ได้ง่าย และเมื่อนักเรียนอยู่บ้าน นักเรียนก็สามารถนํากิจกรรมไปเล่นขณะอยู่บ้านได้ สามารถนําไปใช้จริงในชีวิตประจำวันของนักเรียน

7. การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้
7.1 เผยแพร่ผลงานเข้าสู่เว็บไซต์ ของโรงเรียน
7.2 เผยแพร่ทางเครือข่ายสังคมออนไลน์
7.3 นำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาช่วงชั้นอื่นๆ
7.4 ผลงานของนักเรียนได้นำมาเผยแพร่ในงานตลาดนัดวิชาการของโรงเรียนโดยมีผู้ปกครองชุมชนเข้ามาร่วมดูงาน
7.5 นักเรียนได้รับรางวัล การแข่งขันงานศิลปะหัตกรรมนักเรียน ดังนี้
    - เหรียญเงิน การแข่งขันเครื่องร่อนปล่อยมือ ประเภทร่อนนาน ป.4-ป.6
    -เหรียญเงิน การแข่งขันการใช้โปรแกรมนำเสนอ ป.4-6


kovit.1996b 05 มี.ค. 2567 เวลา 21:13 น. 0 91
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^