LASTEST NEWS

04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 04 พ.ค. 2567สพม.ชัยภูมิ ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 2 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชลบุรี เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567โรงเรียนหนองไผ่ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกคอมพิวเตอร์ เงินเดือน 10,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 พฤษภาคม พ.ศ.2567 03 พ.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลสกลนคร รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกคณิตศาสตร์ เงินเดือน 9,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 8 พฤษภาคม พ.ศ.2567 03 พ.ค. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567สพม.ชลบุรี ระยอง ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ

usericon

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่องพลังงานความร้อน รายวิชาวิทยาศาสตร์ 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่องพลังงานความร้อน รายวิชาวิทยาศาสตร์ 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่องพลังงานความร้อน รายวิชาวิทยาศาสตร์ 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่องพลังงานความร้อน รายวิชาวิทยาศาสตร์ 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 4) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่องพลังงานความร้อน รายวิชาวิทยาศาสตร์ 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ดังนี้ 4.1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนจากการใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่องพลังงานความร้อน รายวิชาวิทยาศาสตร์ 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 4.2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนจากการใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่องพลังงานความร้อน รายวิชาวิทยาศาสตร์ 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1และ 5) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่องพลังงานความร้อน รายวิชาวิทยาศาสตร์ 2 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 โรงเรียนบัวใหญ่ อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 35 คน ได้มาโดยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) และใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม โรงเรียนใช้วิธีการจัดห้องเรียนแบบคละความสามารถของนักเรียน นักเรียนแต่ละห้องมีผลการเรียนไม่แตกต่างกัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสนทนากลุ่ม แบบวิเคราะห์เอกสาร เครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบการเรียนการสอน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (X-Bar) ร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t - test for dependent, one sample)
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่องพลังงานความร้อน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (ME6PDE Model) ประกอบไปด้วยขั้นตอนการการเรียนการสอน จำนวน 4 ขั้น และ 6 กระบวนการส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ขั้นที่ 1 กระตุ้นความสนใจ (Motivation: M), ขั้นที่ 2 จัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ (Education: E6P), กำหนดปัญหา (Problem Define: P), วิเคราะห์ข้อมูลของปัญหา (Problem Analyze: P), วางแผนแก้ปัญหา (Problem Solution: P), ลงมือปฏิบัติแก้ปัญหา (Problem Practice: P), ประเมินผลการแก้ปัญหา (Problem Assessment: P), สรุปผลการแก้ปัญหา (Problem Conclusion: P), ขั้นที่ 3 อภิปรายสะท้อนความรู้ (Discussion: D) และ ขั้นที่ 4 สรุปและประเมินผล (Evaluation: E)
2. รูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่องพลังงานความร้อน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่องพลังงานความร้อน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่องพลังงานความร้อน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ เรื่องพลังงานความร้อน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย (X-Bar) โดยรวมเท่ากับ 4.60 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.64

คำสำคัญ: การเรียนรู้แบบร่วมมือ, การเรียนรู้เชิงรุก, การแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์
pungun 13 ก.พ. 2567 เวลา 21:33 น. 0 114
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^