LASTEST NEWS

05 พ.ค. 2567ก.ค.ศ.เดินหน้ารื้อระบบ ศน.ใหม่ ยกเครื่อง ปรับบทบาทหน้าที่ เพิ่มคุณสมบัติ ดึงบุคลากรคุณภาพพัฒนาคุณภาพการศึกษา 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 04 พ.ค. 2567สพม.ชัยภูมิ ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 2 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชลบุรี เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567โรงเรียนหนองไผ่ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกคอมพิวเตอร์ เงินเดือน 10,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 พฤษภาคม พ.ศ.2567 03 พ.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลสกลนคร รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกคณิตศาสตร์ เงินเดือน 9,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 8 พฤษภาคม พ.ศ.2567 03 พ.ค. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567

การพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างศักยภาพครู

usericon

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนา
ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียนโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ปราจีนบุรี จังหวัดปราจีนบุรี
ผู้วิจัย นางสาลี่ เชิดชู ตำแหน่ง ผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี

ปีที่วิจัย 2565-2566

บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียนโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียนโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง 2. เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียน รู้และนวัตกรรมของผู้เรียนโรงเรียน โรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง 3. เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียนโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง 4. เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ และนวัตกรรมของผู้เรียนโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง โดยใช้กรอบแนวคิดการวิจัย และพัฒนา (Research and Development (R & D)) ประกอบด้วย 4 ระยะ ระยะที่ 1 การวิจัย (Research : R1) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis : A) การวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ ในการพัฒนาการบริหารเพื่อเสริมสร้างศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียน โดยการสอบถามผู้บริหารโรงเรียนโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง ระยะที่ 2 การพัฒนา (Development : D1) ออกแบบและพัฒนา (Design and Develop: D&D) รูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะ การเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียนโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง ระยะที่ 3 การวิจัย (Research : R2) ทดลองใช้ (Implement : l) รูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้ เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียนโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง และระยะที่ 4 การพัฒนา (Development : D2) ประเมินผล (Evaluation : E) รูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ของผู้เรียนโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง กลุ่มผู้ร่วมวิจัย ประกอบด้วย ครูโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุงจำนวน 11 คน และนักเรียน จำนวน 125 คน โดยการเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องที่ใช้ในการวิจัย คู่มือการใช้รูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก
ในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียนโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง แบบประเมินความรู้ของครูในการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก แบบสังเกตการจัดการเรียนรู้เชิงรุก แบบทดสอบความรู้ของครูในการจัดการเรียนรู้ และแบบประเมินทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียน สถิติที่ใช้เป็นสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( X-bar ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียนโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง สภาพปัจจุบันของการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียนโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุงโดยรวมและรายด้านทุกด้าน อยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียนโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง โดยรวมและรายด้านทุกด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด
2. การพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียนโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุงสรุปผลได้ ดังนี้
2.1 ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียนโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง จากการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี สามารถสรุปได้ว่า การพัฒนารูปแบบต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ มีการตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบในทุกขั้นตอนของการพัฒนารูปแบบ องค์ประกอบสำคัญของรูปแบบประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบ 2) ความมุ่งหมายของรูปแบบ 3) เนื้อหาสาระของรูปแบบ 4) กิจกรรมของรูปแบบ 5) การวัดและประเมินผล และ 6) เอกสารประกอบรูปแบบ (คู่มือการใช้รูปแบบ) และทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียน ประกอบด้วย 1) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา 2) ทักษะการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม และ 3) ทักษะการสื่อสารและการร่วมมือกัน
2.2 ผลการประเมินรูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียนโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง พบว่าโดยรวม รูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียนโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( X-bar = 4.59, S.D. = 0.49) สามารถนำไปใช้ได้
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียนโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง พบว่า ภายหลังการเข้ารับการทดลองใช้รูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียนโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง กลุ่มตัวอย่าง มีความรู้ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียน ผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม และความรู้ของครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียน หลังการทดลองใช้หลักสูตร สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียน กับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ พบว่า โดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 84.14 ซึ่งผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ที่ตั้งไว้
4. ศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียนโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง พบว่า
4.1 ผลการพัฒนาหลังการเข้ารับการทดลองใช้รูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียนโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ และนวัตกรรมของผู้เรียน ผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม โดยภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 88.73
4.2 ผลการเปรียบเทียบความรู้ของครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียน ระหว่าง ก่อน และหลังการทดลองใช้รูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียนโรงเรียนศรีรักษ์ราษฎร์บำรุง พบว่า ความรู้ของครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียน หลังการใช้หลักสูตรสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4.3 ผลการเปรียบเทียบความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียน กับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ พบว่า โดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็น ร้อยละ 88.46 ซึ่งผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ที่ตั้งไว้
4.4 ผลการเปรียบเทียบทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียน หลังการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการบริหารเพื่อเสริมสร้างศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของผู้เรียนกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ พบว่า โดยรวมมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 90.26 ซึ่งผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ที่ตั้งไว้
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^