LASTEST NEWS

13 ก.ย. 2567สพป.ร้อยเอ็ด เขต 1 รับสมัครพนักงานราชการครู 8 อัตรา เงินเดือน 18,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 16 กันยายน 2567 13 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 13 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 13 ก.ย. 2567โรงเรียนเพชรพิทยาคม รับสมัครพนักงานธุรการ และพนักงานบริการ จำนวน 2 อัตรา ตั้งแต่ 23 - 28 กันยายน พ.ศ. 2567 (ไม่เว้นวันหยุดราชการ) 13 ก.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ตราครุฑมาแล้ว สพฐ. แจ้งแนวทาง สพท.ทั่วประเทศ ตรวจสอบ เน้นย้ำ กำชับสถานศึกษาทุกแห่ง ลดภาระการประเมินและเลื่อนเงินเดือนครู 13 ก.ย. 2567ด่วน! ‘ธนุ’ สั่งสอบ ‘ผอ.สพม.สระแก้ว’ แล้ว ปม รายชื่อสอบครูได้ที่ 1 หาย 13 ก.ย. 2567สพป.สกลนคร เขต 1 รับสมัครพนักงานราชการครู วิชาเอกสังคมศึกษา เงินเดือน 18,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 17 กันยายน 2567 12 ก.ย. 2567แถลงการณ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระแก้ว เรื่อง ประกาศแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ผ่านการสรรหาและเลือกสรรเป็นพนักงานราชการทั่วไป ตำแหน่งครูผู้สอน 12 ก.ย. 2567สพม.สระแก้ว แก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ผ่านการสรรหาและเลือกสรรพนักงานราชการทั่วไป ตำแหน่ง ครูผู้สอน  11 ก.ย. 2567ประกาศแล้ว รายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบครูผู้ช่วย กทม. ครั้งที่ 1/2567

เผยแพร่ผลงานวิจัย ของ นางสาวภาสินี สุวรรณโก

usericon

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
The Development of an Integrated Learning Management Model on Krua Pa,
Subject group learning thai language Prathomseuksa 2

                                                                นางสาวภาสินี สุวรรณโก
                                                                 ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเทศบาล 1 (อนุบาลเด็กน่ารัก) เทศบาลตำบลหนองบัวแดง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ

บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 3) เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนเทศบาล 1 (อนุบาลเด็กน่ารัก) กองการศึกษาเทศบาลตำบลหนองบัวแดง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 24 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตามวิธีการของลิเคิร์ท 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ค่าดัชนีความสอดคล้อง ค่าอำนาจจำแนก และค่าความเชื่อมั่น
    ผลการวิจัยพบว่า
        1. ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่า ครูผู้สอนเน้นวิธีการสอนแบบการบรรยาย ไม่จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ไม่ส่งเสริมให้นักเรียนได้พัฒนาการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ แสวงหาคำตอบ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ไม่ส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่ม ไม่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ไม่เห็นความสำคัญของบรรยากาศการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ สื่อและแหล่งเรียนรู้ไม่ทันสมัยและไม่เพียงพอ ไม่เน้นการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามภาพจริง นักเรียนส่วนใหญ่ไม่ชอบเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ไม่กระตือรือร้อนต่อการเรียน ไม่ตั้งใจเรียน เบื่อการเรียน ไม่มีสมาธิในการเรียน ไม่เข้าใจเนื้อหาสาระ ไม่รักการอ่าน ขาดความรับผิดชอบ ไม่กล้าแสดงออก ไม่เห็นความสำคัญของการเรียน ไม่ให้ความร่วมมือในการเรียน ไม่เห็นประโยชน์ของการเรียน และไม่นำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนขอนักเรียนจึงต่ำกว่าเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด
        2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ของ Joyce, Weil and Calhoun จำนวน 6 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน คือ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นเสนอความรู้ใหม่ ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ขั้นสรุปองค์ความรู้ ขั้นนำเสนอผลงาน 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนอง และ 6) ระบบสนับสนุน โดยผู้วิจัยตั้งชื่อรูปแบบนี้ว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ซึ่งมีผลการประเมินความเหมาะสม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
        3. ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พบว่า 1) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน เท่ากับ 21.04 คิดเป็นร้อยละ 52.60 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน เท่ากับ 34.54 คิดเป็นร้อยละ 85.93 และ 2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
ABSTRACT
    The purposes of this research were to 1 ) to study the basic information about the development of an integrated learning management model on the subject of Krua Pa, in the Thai language learning group. Prathomseuksa 2, 2 ) to develop an integrated learning management model on Krua Pa, in Thai language learning group Prathomseuksa 2, and 3) to study the results of learning management with an integrated learning management model on Krua Pa, in Thai language learning group. Prathomseuksa 2 and 3 ) to study the results of learning management with an integrated learning management model on Krua Pa in Thai language learning group Prathomseuksa 2, The samples used in this research were Prathom Suksa 2/1 students of Tessaban 1 (ANUBAN DEKNARAK ) School, Nong Bua Daeng Municipality Education Division. Nongbuadang District Chaiyaphum Province In the first semester of the academic year 2023, there were 24 students obtained by Cluster Random Sampling. The research instruments were 1) the interviewing level according to Likert's method, 2 ) the learning achievement test, and 3 ) the student satisfaction scale. Statistics used in data analysis were mean, standard deviation, percentage, and consistency index. classification power and confidence.
    The research result found that :
        1. Basic information about the development of an integrated learning management model on Krua Pa, Thai language learning group In Prathomseuksa 2 , it was found that teachers emphasized the lecture method. does not manage integrated learning Does not encourage students to develop analytical thinking, synthesize, seek answers, and create knowledge by themselves Does not encourage students to learn in a group process regardless of individual differences do not see the importance of a learning atmosphere that is conducive to learning management Media and learning resources are outdated and inadequate. Does not focus on measuring and evaluating learning based on actual images most students I don't like studying in the Thai language learning group. Not enthusiastic about studying don't study hard bored of studying no concentration in studying do not understand the content don't love to read irresponsible assertive did not see the importance of learning not cooperating in learning I don't see the benefit of studying. and not applying knowledge in real life The academic achievement of the students is therefore lower than the criteria set by the educational institution.
    2. The results of the development of an integrated learning management model on Krua Pa, Thai language learning group Prathomseuksa 2 , using the learning management model of Joyce, Weil and Calhoun, 6 components : 1) principles 2) objectives 3) a 5 -step learning management process , i.e. the introduction to the lesson. new knowledge step knowledge exchange stage Knowledge summary presentation stage 4) social system 5) principles of response and 6) Support system The researcher named this model as integrated learning management model which has the result of suitability assessment Overall, it was at the highest level.
        3. The results of learning management with an integrated learning management model on Krua Pa Thai language learning group Prathomseuksa 2 found that 1) students had higher learning achievement after school than before. The average score before the study was 21.04 , representing 52.60 percent and the average score after the study was 34.54 representing 85.93 percent . and 2) the students were satisfied with the integrated learning management model on Krua Pa, Thai language learning group. Prathomseuksa 2 overall is at the highest level.
บทนำ
    ภาษาไทยถือเป็นองค์ความรู้ที่เสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติ ให้มีเอกลักษณ์ ความเป็นไทย รวมทั้งเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทำให้สามารถประกอบกิจธุระ การงาน และดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมประชาธิปไตยได้อย่างสันติสุข และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ประสบการณ์จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ เพื่อพัฒนา ความรู้ กระบวนการคิดวิเคราะห์วิจารณ์ และสร้างสรรค์ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพให้มั่นคง ทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเป็นสื่อแสดงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษด้านวัฒนธรรม ประเพณี สุนทรียภาพ เป็นสมบัติล้ าค่าควรแก่การเรียนรู้ อนุรักษ์ และสืบสานให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป(กระทรวงศึกษาธิการ. 2551) อีกทั้งภาษาไทยมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต ความเป็นปึกแผ่นของสังคมไทย คนไทยจำเป็นต้องตระหนักถึงความสำคัญของภาษาไทย ความเข้าใจ ศึกษาหลักเกณฑ์ทางภาษาและฝึกฝนให้เกิดทักษะการฟัง การดู การอ่าน และการเขียนภาษาไทย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อนำไปใช้ในการสื่อสาร การเรียนรู้ การแสวงหาความรู้ การเสริมสร้าง ความเข้าใจอันดีต่อกัน การสร้างความเป็นเอกภาพของคนในชาติ (วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. 2554)
    พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 ในหมวด 4 มาตรา 24 กําหนดให้มีการจัดกระบวนการเรียนรู้โดย สถานศึกษาต้องจัดเนื้อหา สาระกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดตามความแตกต่าง ของผู้เรียน ฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกปฏิบัติให้ทําได้ คิดเป็น ทําเป็น รักการอ่าน และเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง ผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างสมดุล รวมทั้งปลูกฝัง คุณธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนรู้ อํานวยความสะดวกให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และใช้การวิจัย เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนรู้และ แหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย พ่อแม่ ผู้ปกครอง และชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ ทุกเวลา ทุกสถานที่เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2553)
    หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จึงกำหนดสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนไว้ 5 สมรรถนะ คือ ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการคิด ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต และความสามารถในการใช้เทคโนโลยี และกำหนดสาระและมาตรฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยไว้ 5 สาระ ได้แก่ สาระการอ่าน สาระการเขียน สาระการฟัง การดู และการพูด สาระหลักการใช้ภาษา สาระวรรณคดีและวรรณกรรม และกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ไว้ 5 มาตรฐาน ส่วนสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยที่ผู้เรียนทุกคนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจำเป็นต้องเรียนรู้ คือ ความรู้ ทักษะ และวัฒนธรรมการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ชื่นชม เห็นคุณค่าภูมิปัญญาไทย และภูมิใจในภาษาประจำชาติ เพื่อให้สถานศึกษาใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนให้บรรลุผลและสนองต่อความสำคัญดังกล่าว ทั้งนี้จะต้องให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 (กระทรวงศึกษาธิการ. 2551)
    การเรียนการสอนแบบบูรณาการ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 4 แนวการจัดการศึกษาในมาตราที่ 23 กำหนดไว้ว่า การจัดการศึกษาต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ และบูรณาการตามความเหมาะสมแต่ละระดับการศึกษาในเรื่องความรู้เกี่ยวกับตนเอง ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทยและการประยุกต์ภูมิปัญญาความรู้และทักษะด้านคณิตศาสตร์และภาษา ความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างสงบสุข (บุรินทร์ ทองแม้น. 2546) การจัดการเรียนแบบบูรณาการ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานได้กำหนดแนวการจัดการเรียนรู้คือเรียนรู้ตรงจากประสบการณ์จริงและสัมพันธ์เชื่อมโยงกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ผู้เรียนได้ค้นพบความจริงด้วยตนเอง ค้นคว้า แสวงหา ความรู้อย่างอิสระ ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับตนเอง ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเลือกวิธีเรียนรู้ให้หลากหลายเหมาะสมกับตนเอง ให้ผู้เรียนได้ปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น มีทักษะกระบวนการคิด การจัดการและการอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข ใช้สื่อที่หลากหลายรวมทั้งนำภูมิปัญญาไทยมาประยุกต์ใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ จัดกิจกรรม และเนื้อหาสาระที่ผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างสมดุลในลักษณะของการบูรณาการ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แบบองค์รวมและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ (อรทัย มูลคำ และสุวิทย์ มูลคำ. 2544)
    การสอนภาษาไทยในโรงเรียนมิได้มุ่งหวังให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้เพียงอย่างเดียว แต่สามารถนำความรู้ความสามารถไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง สื่อสารกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล ใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ และใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารได้เป็นอย่างดี รวมทั้งต้องรักษาภาษาไทยไว้ในฐานะที่เป็นสมบัติของชาติ (กรมวิชาการ. 2546) การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะต้องสอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่ชาติ พุทธศักราช 2542 โดยกำหนดว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการเรียนการสอนจะต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการเรียนการสอนจะต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ ใช้การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญหรือเป็นศูนย์กลาง (กรมวิชาการ. 2545) การจัดการเรียนการสอนภาษาไทย จะต้องเน้นการจัดการเรียนการสอนตามสภาพจริง ส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ร่วมกันกับบุคคลอื่น เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง การเรียนรู้แบบบูรณาการเป็นกระบวนการเรียนรู้ข้ามกลุ่มสาระการเรียนรู้ในลักษณะองค์รวมที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นการนำกระบวนการเรียนรู้จากกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ได้แก่ การอ่าน การเขียน การพูด การฟัง และการดู มาบูรณาการกันในการจัดการเรียนการสอนหรือนำสาระการเรียนรู้ต่างกลุ่มสาระการเรียนรู้มาบูรณาการ (กรมวิชาการ. 2545) โดยจัดให้สอดคล้องกับความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละบุคคล ความสามารถทางปัญญา วิธีการเรียนรู้โดยการบูรณาการคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติจริง ได้พัฒนากระบวนการคิดวิเคราะห์ ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง และแสวงหาความรู้ด้วยตนเองตามความถนัดและความสนใจ ด้วยวิธีการ กระบวนการและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายที่เชื่อมโยงกับชีวิตจริงทั้งในและนอกห้องเรียน มีการวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริง ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามมาตรฐานหลักสูตรที่กำหนด (กรมวิชาการ. 2544)
    การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 1 (อนุบาลเด็กน่ารัก) กองการศึกษาเทศบาลตำบลหนองบัวแดง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ปีการศึกษา 2565 ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ดังจะเห็นได้จากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 67.52 ถือว่าเป็นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ ร้อยละ 75 ทั้งนี้เนื่องมาจากการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนเทศบาล 1 (อนุบาลเด็กน่ารัก) กองการศึกษาเทศบาลตำบลหนองบัวแดง อำเภอหนองบัวแดงจังหวัดชัยภูมิ บางคนยังใช้วิธีการสอนแบบบรรยายที่เน้นครูเป็นสำคัญ และมุ่งเน้นถ่ายทอดเนื้อหาวิชามากกว่าการส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้จากสภาพจริง ไม่ส่งเสริมให้นักเรียนได้พัฒนาในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ แสวงหาคำตอบและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ตลอดจนไม่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ส่งผลให้นักเรียนขาดทักษะดังกล่าว ไม่มีปฏิสัมพันธ์ต่อเพื่อนเพราะไม่ได้ทำงานด้วยกระบวนการกลุ่ม ไม่แสวงหาคำตอบและไม่สามารถสรุปองค์ความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งทำให้นักเรียนมีความรู้ไม่กว้างและไม่ลุ่มลึก การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการดังกล่าวข้างต้นคือ การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
การเรียนการสอนแบบบูรณาการ (Intergration) เป็นการจัดการเรียนรู้โดยใช้ความรู้ความเข้าใจ และทักษะในศาสตร์หรือวิชาต่าง ๆ มากกว่า 1 วิชาขึ้นไป เพื่อแก้ปัญหาหรือแสวงหาความรู้ความเข้าใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ทำให้ผู้เรียนได้ประยุกต์ใช้ความคิด ประสบการณ์ ความสามารถ และทักษะต่าง ๆ ในเวลาเดียวกัน ทำให้ได้รับความเข้าใจในลักษณะองค์รวม ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้ง เนื่องจากเป็นการเรียนรู้ที่มีสภาพใกล้เคียงกับชีวิตจริง (กรมวิชาการ. 2544) การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ถือว่าเป็นนวัตกรรมที่มีความสำคัญและจำเป็นที่จะช่วยให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบรรลุตามวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 เพราะกิจกรรมบูรณาการเป็นการเรียนรู้แบบเปิด มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบรอบด้าน หลากหลาย หลอมรวมมวลความรู้เข้าเป็นองค์รวมแห่งความรู้ จึงทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมายและยั่งยืน ตลอดทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาอย่างลุ่มลึกด้วยตนเองภายใต้ทักษะกระบวนการกลุ่ม ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข และเต็มตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคน (สำลี รักสุทธี และคนอื่น ๆ. 2544) หลักการที่สำคัญในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ คือ การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง การส่งเสริมให้นักเรียนได้ร่วมทำงานกลุ่มด้วยตนเอง จัดประสบการณ์การณ์ตรงให้กับผู้เรียน จัดบรรยากาศในชั้นเรียนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกกล้าคิด กล้าทำ เน้นการปลูกฝังจิตสำนึก ค่านิยม และจริยธรรมที่ถูกต้องดีงาม (วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. 2545) ซึ่งสอดคล้องกับผลงานวิจัยของ ดวงจันทร์ จันทะเกษ (2547) ที่ได้พัฒนาแผนและสื่อประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยแบบบูรณาการโดยใช้กลุ่มร่วมมือ เรื่อง จำปาสี่ต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ผลการวิจัยพบว่า แผนและสื่อประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยแบบบูรณาการ โดยใช้กลุ่มร่วมมือ เรื่องจำปาสี่ต้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ 82.54/82.20 และมีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.5379 หมายความว่า ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 53.79 จากก่อนเรียน ซึ่งสอดคล้องกับ สุปรานี หงษ์อุดร (2548) ที่ได้พัฒนาการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง รั้วน้ำใจ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ผลการศึกษาพบว่า แผนการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง รั้วน้ำใจ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.25/81.35 และมีค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ เท่ากับ 0.5525 ซึ่งแสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 55.25
    จากการศึกษาหลักการและเหตุผลดังกล่าว พบว่า การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และเป็นการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จึงมีความสนใจในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เพื่อเป็นการวางพื้นฐานที่ดีให้แก่ผู้เรียนในการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพ และเพื่อเป็นแนวทางสำหรับครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพต่อไป

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
    1. เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
    2. เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
    3. เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในประเด็นต่อไปนี้
        3.1 เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
        3.2 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

ขอบเขตของการวิจัย
    การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตของการวิจัยไว้ 3 ระยะ ดังนี้
        ระยะที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
            1.1 ขอบเขตด้านวิธีการวิจัย 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ 2) ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
            1.2 ขอบเขตด้านผู้ให้ข้อมูล 1) กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 40 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ได้แก่ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนเทศบาล 1 (อนุบาลเด็กน่ารัก) กองการศึกษาเทศบาลตำบลหนองบัวแดง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 10 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 1 (อนุบาลเด็กน่ารัก) กองการศึกษาเทศบาลตำบลหนองบัวแดง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 30 คน
        ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1. สร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2. หาประสิทธิภาพของรูปแบบโดยการประเมินความสอดคล้องเหมาะสมของรูปแบบ และการปรับปรุง แก้ไขรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3. ทดลองใช้ (Try Out) รูปแบบการจัดการเรียนรู้
            2.1 ขอบเขตด้านวิธีการวิจัย
                2.1.1 การสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้รู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
                2.2.2 การหาประสิทธิภาพของรูปแบบโดยการประเมินความสอดคล้องเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน และการปรับปรุง แก้ไขรูปแบบการจัดการเรียนรู้
                2.2.3 การทดลองใช้ (Try-out) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 40 คน
        ระยะที่ 3 การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างดังนี้
            3.1 ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
                 3.1.1 ประชากร จำนวน 50 คน ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 1 (อนุบาลเด็กน่ารัก) กองการศึกษาเทศบาลตำบลหนองบัวแดง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 24 คน ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนเทศบาล 1 (อนุบาลเด็กน่ารัก) กองการศึกษาเทศบาลตำบลหนองบัวแดง อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2566 ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)
            3.2 ขอบเขตด้านตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
                3.2.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
                3.2.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจของนักเรียน
            3.3 เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ใช้เวลาในการจัดกาเรียนรู้แผนละ 2 ชั่วโมง จำนวน 8 แผน รวม 16 ชั่วโมง
            3.4 ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นปรถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 2 สัปดาห์ รวม 16 ชั่วโมง โดยไม่รวมเวลาทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน

วิธีดำเนินการวิจัย
    การวิจัยครั้งนี้ ใช้วิธีการวิจัยและพัฒนา (Researchand Development : R&D) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ผู้วิจัยได้กำหนดขั้นตอนดำเนินการวิจัยให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ เป็น 3 ระยะ ดังนี้
        วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 40 คน ได้แก่ ครู 10 คน และนักเรียน จำนวน 30 คน โรงเรียนเทศบาล 1 (อนุบาลเด็กน่ารัก) เทศบาลตำบลหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
        วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการ
เรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ได้แก่ 1) สร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
2) การหาประสิทธิภาพของรูปแบบโดยการประเมินความสอดคล้องเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน และการปรับปรุง แก้ไขรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) ทดลองใช้ (Try Out) กับนักเรียน ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 40 คน

        วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยนำรูปแบบไปใช้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 24 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ให้นักเรียนทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน เมื่อจัดการเรียนรู้ครบทุกแผนการจัดการเรียนรู้แล้ว จึงให้นักเรียนทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน และประเมินความพึงพอใจของนักเรียนหลังเรียน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
    เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินประสิทธิภาพรูปแบบ แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ
        3. การสร้างเครื่องมือ
            3.1 การสร้างรูปแบบการจัดกาเรียนรู้
                3.1.1 กำหนดรูปแบบและสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้วยข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ข้อมูลพื้นฐาน รวมถึงการศึกษาแนวคิดทฤษฎีประกอบการจัดการเรียนรู้ ร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้มี 6 องค์ประกอบตามแนวคิดของ Joyce, Weil และ Calhoun (2011) ประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนอง และ 6) ระบบสนับสนุน
                3.1.2 หาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนแบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน เกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการจัดกาเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ทำการประเมินประสิทธิภาพความสอดคล้องเหมาะสมของรูปแบบ
                3.1.3 ปรับปรุง แก้ไขรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในส่วนที่ 1 หลักการของรูปแบบ การใช้ภาษา และคำที่พิมพ์ผิดตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ
            3.2 การสร้างแผนการจัดกาเรียนรู้
                3.2.1 ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และศึกษาสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ คำอธิบายรายวิชา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
                3.2.2 ศึกษาทฤษฎี หลักการ แนวคิดในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ และจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้
                3.2.3 กำหนดรูปแบบและเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ และสร้างแผนการจัดการเรียนรู้
                3.2.4 นำแผนการจัดการเรียนรู้ พร้อมแบบประเมินชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ซึ่งมี 5 ระดับ คือ เหมาะสมมากที่สุด เหมาะสมมาก เหมาะสมปานกลาง เหมาะสมน้อย และเหมาะสมน้อยที่สุด เสนอผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ความถูกต้องเหมาะสมของการใช้ภาษา และความสอดคล้องของแผนการจัดการเรียนรู้ ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.78 ซึ่งหมายความว่า แผนการจัดการเรียนรู้ มีความเหมาะสมระดับมากที่สุด
                3.2.5 นำแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ครัวป่า กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนเทศบาล 1 (อนุบาลเด็กน่ารัก) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 24 คน
            3.3 การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
                3.3.1 ศึกษาสาระ มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
                3.3.2 ศึกษาเอกสาร ทฤษฎี แนวคิด และจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องในการสร้างแบบทดสอบ (บุญชม ศรีสะอาด. 2546 ; สมนึก ภัททิยธนี. 2546 )
                3.3.3 สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งเป็นแบบทดสอบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 50 ข้อ เพื่อใช้จริง จำนวน 40 ข้อ
                 3.3.4 นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพร้อมแบบประเมินความสอดคล้องเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เพื่อประเมินความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์การเรียนรู้ โดยวิธีของ โรวิเนลลี่ (Rovinelli) และ แฮมเบลตัน (R.K Hambleton)
                 3.3.5 วิเคราะห์หาดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์การเรียนรู้ โดยใช้ส
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^