LASTEST NEWS

04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 04 พ.ค. 2567สพม.ชัยภูมิ ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 2 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชลบุรี เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567โรงเรียนหนองไผ่ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกคอมพิวเตอร์ เงินเดือน 10,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 พฤษภาคม พ.ศ.2567 03 พ.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลสกลนคร รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกคณิตศาสตร์ เงินเดือน 9,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 8 พฤษภาคม พ.ศ.2567 03 พ.ค. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567สพม.ชลบุรี ระยอง ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567

การประเมินโครงการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา

usericon

ชื่อผลงาน    : การประเมินโครงการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาโรงเรียนท่าศาลา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4
ผู้รายงาน     : นายจรุง โปช่วย
ปีการศึกษา : 2565

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

    การประเมินโครงการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาโรงเรียนท่าศาลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ปีการศึกษา 2565 ในครั้งนี้ วัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินด้านบริบทของโครงการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา เกี่ยวกับความต้องการจำเป็นของโครงการ ความพร้อมและเหมาะสมของสถานศึกษา ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์ การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและความสอดคล้องของนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด 2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้าเกี่ยวกับบุคลากร งบประมาณ สถานที่ สื่อและวัสดุอุปกรณ์และระบบบริหารที่เอื้อต่อการดำเนินงานโครงการ 3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการ เกี่ยวกับการวางแผน การดำเนินการ การนิเทศกำกับติดตาม การประเมินผล การตรวจสอบปรับปรุงและแก้ไข 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิต เกี่ยวกับคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน และความพึงพอใจต่อการดำเนินงานพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของโครงการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนท่าศาลา อำเภอท่าศาลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ในปีการศึกษา 2565 โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การประเมินโครงการได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (PurposiveเRandom Sampling) จำนวน 350 คน ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 9 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 168 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 168 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 5 คน (ไม่รวมตัวแทนครูและผู้อำนวยการสถานศึกษา) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 3 ฉบับ ดังนี้ ฉบับที่ 1 แบบสอบถาม ด้านบริบทและด้านปัจจัยนำเข้าเประเมินก่อนการดำเนินงานโครงการ มีข้อคำถามจำนวน 48 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 ประเมินโดยครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 2 แบบสอบถามด้านกระบวนการ ประเมินระหว่างดำเนินงานโครงการ จำนวน 5 ตัวชี้วัด ข้อคำถาม จำนวน 41 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 ประเมินโดยครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 3 แบบสอบถามประเมินผลผลิต ประเมินหลังเสร็จสิ้นการดำเนินงานโครงการ มีจำนวน 5 ตัวชี้วัด มีข้อคำถาม จำนวน 29 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 ประเมินโดยครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครอง การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการตรวจสอบเอกสารหลักฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าสถิติ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation)

ผลการประเมิน

การประเมินโครงการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาโรงเรียนท่าศาลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ปีการศึกษา 2565 มีผลการประเมินสามารถสรุปได้ดังนี้
1. ผลการประเมินโครงการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาโรงเรียนท่าศาลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄=4.73, S.D.= 0.46) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินที่กำหนดเมื่อพิจารณา ถึงรายละเอียดของแต่ละตัวชี้วัดโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ผลการประเมินผลผลิต ( x̄= 4.75,S.D.= 0.48) มีผลการประเมินมากที่สุด รองลงมาคือ ผลการประเมินด้านบริบท ( x̄=4.74,S.D.= 0.42) ผลการประเมินปัจจัยนำเข้า ( x̄= 4.72,S.D.=0.44) และผลการประเมินกระบวนการดำเนินงาน ( x̄= 4.77,S.D. = 0.40) ตามลำดับ
2. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 5 ตัวชี้วัด โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.74, S.D. = 0.42) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ โดยพิจารณารายตัวชี้วัด ดังนี้
    2.1 ความต้องการจำเป็นของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อและมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.77, S.D.= 0.41)
    2.2 ความพร้อมและความเหมาะสมของสถานศึกษา พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อและมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.66, S.D.= 0.47)
    2.3 ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อและมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.74, S.D.= 0.42)
    2.4 การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อและมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.83, S.D.= 0.37)
    2.5 ความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต้นสังกัด พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อและมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.70, S.D.= 0.44)
3. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 5 ตัวชี้วัด โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.72, S.D. = 0.44) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ โดยพิจารณารายตัวชี้วัด ดังนี้
    3.1 ด้านบุคลากรของสถานศึกษา พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทุกข้อและมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.76, S.D.= 0.42)
    3.2 ด้านงบประมาณ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทุกข้อและมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.64, S.D.= 0.48)
    3.3 ด้านสถานที่ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทุกข้อและมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.71, S.D.= 0.45)
    3.4 ด้านเครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อและมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.79, S.D.= 0.40)
    3.5 ด้านระบบบริหารที่เอื้อต่อการดำเนินงานโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อและมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.67, S.D.= 0.45)
4. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 5 ตัวชี้วัด โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.71, S.D. = 0.52) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ โดยพิจารณารายตัวชี้วัด ดังนี้
    4.1 ด้านการวางแผน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทุกข้อและมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.66, S.D.= 0.60)
    4.2 ด้านการดำเนินงาน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทุกข้อและมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.69, S.D.= 0.51)
    4.3 ด้านการนิเทศกำกับติดตามผล พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทุกข้อและมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.75, S.D.= 0.44)
    4.4 ด้านการประเมินผลการดำเนินงาน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อและมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.71, S.D.= 0.50)
    4.5 ด้านการตรวจสอบ ปรับปรุง แก้ไข พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อและมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.71, S.D.= 0.53)
5. ผลการประเมินกระบวนการของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 5 ตัวชี้วัด โดยรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.73, S.D.=0.53) ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อ โดยพิจารณารายตัวชี้วัด ดังนี้
    5.1 คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อและมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.76, S.D. = 0.43)
    5.2 ความพึงพอใจต่อการดำเนินงานพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน พบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินทุกข้อและมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄= 4.73, S.D.=0.53)
    ผลการประเมินโครงการในภาพรวมพบว่า การประเมินโครงการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาโรงเรียนท่าศาลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 อยู่ในระดับมากที่สุดและผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวชี้วัด ดังนั้นจึงควรที่จะให้มีการดำเนินงานตามโครงการต่อไปเทั้งนี้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะต้องตระหนักและเห็นความสำคัญ ให้ความร่วมมือ สนับสนุนอย่างจริงจัง มีการกำกับติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การดำเนินงานโครงการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ

ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะในการนำผลการประเมินไปใช้
1. ควรดำเนินการจัดกิจกรรมต่อไปอย่างต่อเนื่อง โดยนำผลการประเมินโครงการมาพัฒนาและปรับปรุงโครงการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลยิ่งขึ้น
2. การดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ควรเปิดโอกาสให้บุคลากรทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อให้เกิดมุมมองที่หลากหลาย ซึ่งจะเป็นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตรงตามความต้องการของชุมชน
    ข้อเสนอแนะทั่วไปเพื่อการประเมินครั้งต่อไป
1. ควรมีการจัดประเมินระบบประกันคุณภาพภายในโดยให้บุคคลจากภายนอกพื้นที่บริการ ขององค์กรมีส่วนร่วมในการประเมิน
2. ควรมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับรูปแบบที่เหมาะสมต่อการดำเนินโครงการประกันคุณภาพภายในตามขนาดของโรงเรียน
3. พัฒนาระบบประกันให้เป็นระบบมากขึ้นครูและบุคลากรทุกคนในโรงเรียนมีความรู้ความเข้าใจใน ระบบงานประกันมากขึ้น
4. โรงเรียนควรมีการวิเคราะห์องค์กรเพื่อจัดโครงสร้างองค์กรนําไปสู่การพัฒนาระบบ ประกันคุณภาพการศึกษาได้ดีขึ้น
5. ควรมีการประเมินคุณภาพภายในที่มุ่งผลเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^