LASTEST NEWS

18 พ.ค. 2567สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รับสมัครพนักงานราชการ 12 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป 17 พ.ค. 2567เปิดเทอมใหม่ “ครู-นร.” เฮ! สพฐ.กำชับทุกโรงเรียน “ลดการบ้าน” 17 พ.ค. 2567เปิดเทอมใหม่ สพฐ.กำชับโรงเรียน “ลดการบ้าน-ลดประเมิน” สร้างความสุขนักเรียน-ครู 17 พ.ค. 2567ด่วนที่สุด !! รมว.ศธ. แจ้งหัวหน้าส่วนราชการ ผ่อนผันการแต่งเครื่องแบบนักเรียน 16 พ.ค. 2567กรมราชทัณฑ์ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 102 อัตรา สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2567 - 18 มิถุนายน 2567 16 พ.ค. 2567โรงเรียนวัดสํานักบก รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 22 พฤษภาคม 2567 16 พ.ค. 2567“บิ๊กอุ้ม” จี้อ.ก.ค.ศเขตพื้นที่ ทำงานโปร่งใส ไร้ทุจริต ยึดประโยชน์ราชการ 16 พ.ค. 2567เสมา 1 มุ่งมั่นขับเคลื่อนนโยบาย รวมพลัง ศธ. จับมือเดินหน้าผลักดัน “ธนาคารหน่วยกิต เพิ่มโอกาสทางการศึกษาสำหรับทุกคน” 16 พ.ค. 2567“สิริพงศ์” แจงวิชาลูกเสือมีความทันสมัย แต่ขาดการสร้างความรับรู้ 15 พ.ค. 2567ท้องถิ่น เตรียมจัดสอบ 92 ตำแหน่ง รวม 6,262 อัตรา - ครูผู้ช่วย 29 วิชาเอก 1,157 อัตรา

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง อสมการ ของนักเรียนชั้นม.3

usericon

ชื่อผลงาน
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง อสมการ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์

ผู้ศึกษา
นายร่อเก็ม ทวีโสะ ครูชำนาญการโรงเรียนหาดใหญ่เจริญราษฎร์พิทยา
อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 16 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ปีที่ทำการศึกษา
ปีการศึกษา 2559

บทคัดย่อ

    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์ที่กำหนด 75/75 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง อสมการ ก่อนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการ ประชากร ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนหาดใหญ่เจริญราษฎร์พิทยา จำนวน 3 ห้องเรียน รวม 78 คน กลุ่มตัวอย่าง ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนหาดใหญ่- เจริญราษฎร์พิทยา จำนวน 28 คน ซึ่งได้จากการสุ่มอย่างง่ายโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและ หลังเรียน แบบฝึกทักษะคณิตสาสตร์ และแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบกลุ่มสัมพันธ์กัน(t-test dependent sample)
    ผลการศึกษาพบว่า 1) แบบฝึกทักษะคณิตสาสตร์ เรื่อง อสมการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
มีประสิทธิภาพเท่ากับ 79.61/76.79 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2)ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
รายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการ โดยใช้แบบฝึกทักษะ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3)ความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.61 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.62
บทที่ 1
บทนำ

ความสำคัญและความเป็นมา    
คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในทุกๆด้านและทุกๆวัน ตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงเข้านอนของแต่ละวัน มนุษย์ทุกคนล้วนต้องอาศัยคณิตศาสตร์ในการดำเนินชีวิตทุกๆวัน เพียงแต่มนุษย์โดยส่วนใหญ่มองว่าคณิตศาสตร์ไม่ได้มีความสำคัญ ความจำเป็นอะไรในการดำเนินชีวิต ใช้เฉพาะรายรับและรายจ่ายเพียงอย่างเดียว ซึ่งเป็นมุมมองที่ไม่ถูกต้อง
คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาความคิดมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหา และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศาสตร์อื่น ๆ คณิตศาสตร์จึงมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข (กระทรวงศึกษาธิการ. 2551 : 56) และคณิตศาสตร์ยังช่วยพัฒนาให้แต่ละบุคคลเป็นคนที่สมบูรณ์ เป็นพลเมืองที่ดี เพราะคณิตศาสตร์ช่วยเสริมสร้างความมีเหตุผล ความเป็นคนช่างคิด ช่างริเริ่มสร้างสรรค์ มีระบบระเบียบในการคิด มีการวางแผน ในการทำงาน มีความสามารถในการตัดสินใจ มีความรับผิดชอบต่อกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายตลอดจนมีลักษณะของความเป็นผู้นำในสังคม (สิริพร ทิพย์คง. 2545 : 1)
    หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 (กระทรวงศึกษาธิการ. 2551 : 25) ได้กล่าวถึง หลักการจัดการเรียนรู้ไว้ว่า การจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถ ตามมาตรฐาน
การเรียนรู้ สมรรถนะสำคัญและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยยึดหลักว่า ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด เชื่อว่าทุกคนมีความสามารถ เรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ ยึดประโยชน์ที่เกิดกับผู้เรียน กระบวนการจัดการเรียนรู้ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียน สามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการทางสมอง เน้นให้ความสำคัญทั้งความรู้ และคุณธรรม
    คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ ช่วยในการคาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหา และนำไปใช้ใน
ชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศาสตร์อื่นๆ คณิตศาสตร์จึงมีประโยชน์ต่อการเนินชีวิต
ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข(กระทรวงศึกษาธิการ. 2551 : 56)
ถึงแม้ว่าคณิตศาสตร์จะมีบทบาท มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตมากเพียงใดก็ตาม แต่การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร จะเห็นได้จากรายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2557 ปีการศึกษา 2558 ของโรงเรียนหาดใหญ่เจริญราษฎร์พิทยา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งปรากฏผลดังนี้
ตาราง 1 ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2557 กับปีการศึกษา 2558 ของโรงเรียนหาดใหญ่เจริญราษฎร์พิทยา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ระดับ    ค่าเฉลี่ยร้อยละ
    ปีการศึกษา 2557    ปีการศึกษา 2558
ระดับประเทศ    29.65    32.40
ระดับเขตพื้นที่การศึกษา    31.05    34.28
ระดับโรงเรียน    25.94    29.13

    จากตารางพบว่า ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2557 กับปีการศึกษา 2558 ของโรงเรียนหาดใหญ่- เจริญราษฎร์พิทยา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละต่ำกว่าระดับประเทศ และเมื่อผู้ศึกษาวิเคราะห์ตามโครงสร้างมาตรฐานและสาระการเรียนรู้ ผลปรากฏว่า มาตรฐานและสาระการเรียนรู้ที่โรงเรียนควรเร่งพัฒนาเนื่องจากคะแนนเฉลี่ยของโรงเรียนต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ ได้แก่ มาตรฐานการเรียนรู้ ค.4.2 ใช้นิพจน์ สมการ อสมการ กราฟและตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์(mathematical mode) อื่นๆ แทนสถานการณ์ต่างๆ ตลอดจนแปลความหมายและนำไปใช้แก้ปัญหา และเมื่อวิเคราะห์ไปยังข้อสอบรายข้อของมาตรฐาน ค. 4.2 ผลปรากฏ ว่าเรื่องที่นักเรียนทำคะแนนได้ไม่ดี คือ เรื่อง อสมการ ซึ่งเป็นเนื้อหาที่เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

จากสภาพปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นทำให้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
โรงเรียนหาดใหญ่เจริญราษฎร์พิทยาดำเนินการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนมาโดยตลอด โดยได้จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ ได้แก่ กิจกรรมติวเตอร์ จากครูและบุคลากรในกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์และวิทยากรภายนอกจากสำนักติวเตอร์(หาดใหญ่ติวเตอร์) กิจกรรมค่ายคณิตศาสตร์ เป็นต้น โดยเฉพาะในสาระและมาตรฐานที่มีปัญหา ผู้ศึกษาในฐานะครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ในระดับชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 3 ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์
จึงสนใจที่จะเลือกใช้สื่อเพื่อการเรียนรู้ โดยได้จัดทำแบบฝึกทักษะ เรื่อง อสมการ เพื่อใช้ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง อสมการ ซึ่งเป็นเนื้อหาที่มีปัญหาของนักเรียน และนอกจากนี้
ผู้ศึกษาเล็งเห็นแล้วว่าแบบฝึกทักษะเป็นนวัตกรรมที่มีคุณค่าช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และรับความรู้
ในเชิงเนื้อหา และกระบวนการ พร้อมทั้งช่วยส่งเสริมพัฒนาทักษะการคิด ซึ่งสอดคล้องกับการแก้ปัญหาการเรียนการสอน มาสโลว์ (ทิศนา แขมมณี. 2550 : 69 ; อ้างอิงมาจาก Maslow. 1962) กล่าวว่า การเข้าใจถึงความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ สามารถช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมของบุคคลได้ เนื่องจากพฤติกรรมเป็นการแสดงออกของความต้องการของบุคคล การที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิด การเรียนรู้ได้ดี จำเป็นต้องตอบสนองความต้องการพื้นฐานที่เขาต้องการเสียก่อน ในกระบวนการเรียนการสอน หากครูสามารถหาได้ว่าผู้เรียนแต่ละคนมีความต้องการอยู่ในระดับใดขั้นใด ครูสามารถใช้ความต้องการพื้นฐานของผู้เรียนนั้นเป็นแรงจูงใจ ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ การช่วยให้ผู้เรียนได้รับการตอบสนองความต้องการพื้นฐานของตนอย่างพอเพียง การให้อิสรภาพและเสรีภาพแก่ผู้เรียนในการเรียนรู้ การจัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้จะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ในการรู้จักตนเองตรงตามสภาพความเป็นจริง
    สื่อมีบทบาทสำคัญที่ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยสื่อจะทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้
ความเข้าใจ ความรู้สึกและเพิ่มพูนทักษะ ประสบการณ์ให้ผู้เรียน ปัจจุบันสื่อการเรียนรู้มีอิทธิพลสูงต่อการกระตุ้นให้ผู้เรียนกลายเป็นผู้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองจนเกิดการพัฒนาด้านต่าง ๆ (กระทรวงศึกษาธิการ. 2553 : 38) แบบฝึกทักษะเป็นสื่อประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนช่วยให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาการเรียนรู้ จากการปฏิบัติด้วยตนเอง ได้ฝึกทักษะเพิ่มเติมและทบทวนเนื้อหาหลังจากที่ได้เรียนบทเรียน (เกศินี มีคุณ. 2547 : 27) นอกจากนั้นการให้ผู้เรียนได้ทำแบบฝึก-ทักษะมาก ๆ จะช่วยให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทางการเรียนรู้ในเนื้อหาได้ดีขึ้น เพราะนักเรียน มีโอกาสนำความรู้ที่เรียนมาแล้วมาฝึกให้เกิดความเข้าใจกว้างขวางยิ่งขึ้น (วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. 2549 : 113)
    จากที่กล่าวมาข้างต้น ผู้ศึกษาได้สร้างแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้ เนื่องจากแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เป็นสื่อที่สามารถใช้กับวิชาคณิตศาสตร์แล้วทำให้นักเรียนสามารถพัฒนาความรู้ ความเข้าได้ดี และสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ให้บรรลุวัตถุประสงค์และ มีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น และเป็นแนวทางให้ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ ได้พัฒนาการจัดการเรียนรู้ของตนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์ของการศึกษา
1. เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการ ชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 3 ตามเกณฑ์ที่กำหนด 75/75
    2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง อสมการ ก่อนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
    3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้
โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการ

สมมติฐานของการศึกษา
1. แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ
ตามเกณฑ์ที่กำหนด 75/75
    2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง อสมการ โดยใช้แบบฝึก-ทักษะคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
    3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการ อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด

    
ขอบเขตของการศึกษา
    การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ผู้ศึกษาดำเนินการตามลำดับขั้นตอนดังนี้
    1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
     1.1 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนหาดใหญ่เจริญราษฎร์พิทยา อำเภอหาดใหญ่
จังหวัดสงขลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 16 จำนวน 3 ห้องเรียน
จำนวนนักเรียน 78 คน โดยนักเรียนทั้ง 3 ห้อง มีความสามารถใกล้เคียงกัน
1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนหาดใหญ่เจริญราษฎร์พิทยา อำเภอหาดใหญ่
จังหวัดสงขลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 16 จำนวน 1 ห้องเรียน
จำนวนนักเรียน 28 คน ได้จากการสุ่มอย่างง่ายโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม (Simple Random Sampling)

    2. ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า
        2.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์
เรื่อง อสมการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
        2.2 ตัวแปรตาม ได้แก่
         2.2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการ         
2.2.2 ความพึงพอใจในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการ

    3. เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษา
    ผู้ศึกษาได้พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ตามเนื้อหาในหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 และหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนหาดใหญ่เจริญราษฎร์พิทยา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หน่วยที่ 1 เรื่อง อสมการ จำนวน 16 แผนการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ จำนวน 3 ชุด ได้แก่


    แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ชุดที่ 1 อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
    แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ชุดที่ 2 การแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
    แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ชุดที่ 3 โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

    4. ระยะเวลาในการศึกษา
    ใช้เวลาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2559 ถึงวันที่
2 ธันวาคม 2559 ทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน ด้วยแบบทดสอบ
วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง อสมการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 30 ข้อ ใช้เวลาในการทดสอบ 50 นาที จากนั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการ ซึ่งมีทั้งหมด 16 แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ รวมทั้งหมด 18 ชั่วโมง และแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ จำนวน 3 ชุด เมื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์แต่ละชุดเสร็จแล้ว ให้นักเรียนทำแบบทดสอบย่อยรวม 3 ชุด ประกอบด้วย ชุดที่ 1 จำนวน 15 ข้อ ชุดที่ 2 จำนวน 15 ข้อ และชุดที่ 3 จำนวน 10 ข้อ ทำแบบสอบถาม ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการ และทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน ด้วยแบบทดสอบ
วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฉบับเดียวกับแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนใช้เวลาในการทดสอบ 50 นาที

นิยามศัพท์เฉพาะ
    1. แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ หมายถึง สื่อการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการ
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้ศึกษาได้สร้างขึ้น และใช้ในการฝึกปฏิบัติเพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนทางคณิตศาสตร์ให้กับนักเรียน หลังจากเรียนจบเนื้อหานั้น ๆ ทำให้นักเรียนเกิดความรู้ ความเข้าใจรวดเร็ว ชัดเจน แม่นยำ และนำไปใช้ได้ เป็นผลให้การจัดการเรียนการสอนของครูและการเรียนของนักเรียนประสบผลสำเร็จและมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ จำนวน 3 ชุด ดังนี้
    แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ชุดที่ 1 อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
    แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ชุดที่ 2 การแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
    แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ชุดที่ 3 โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
    2. แผนการจัดการเรียนรู้ หมายถึง แผนการจัดการเรียนรู้ที่มีการจัดการเรียนการสอน โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการ รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน รหัสวิชา ค23102
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 16 แผนการเรียนรู้ รวมจำนวน 18 ชั่วโมง ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น
    3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ผลการวัดความสามารถทางด้านการเรียนของนักเรียน เรื่อง อสมการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากคะแนนสอบที่ได้จากการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น
    4. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง เครื่องมือสำหรับช่วยให้ครูผู้สอนสามารถตัดสินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะเป็นแบบทดสอบที่ใช้วัดความรู้ ทักษะกระบวนการ และความสามารถทางวิชาการที่ผู้เรียนได้เรียนรู้มาแล้ว แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผู้ศึกษาสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ในหน่วยการเรียนรู้ ซึ่งเป็นแบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ
    5. ความพึงพอใจ หมายถึง ระดับความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนการสอน
ในระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การปฏิบัติของครูผู้สอน และสภาพบรรยากาศโดยทั่วไปของการเรียนการสอน ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียน การจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้จากคะแนนแบบสอบถาม วัดความพึงพอใจของนักเรียน แบบมาตราส่วนประมาณค่าชนิด 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น
    6. แบบสอบถามวัดความพึงพอใจ หมายถึง แบบสอบถามที่วัดความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่าชนิด 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น
    7. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ หมายถึง คุณภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น โดยหาประสิทธิภาพของกระบวนการและประสิทธิภาพของผลลัพธ์ ตามเกณฑ์ที่กำหนด 75/75 ซึ่งมีความหมาย ดังนี้
     75 ตัวแรก หมายถึง ค่าประสิทธิภาพของกระบวนการของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ได้จากร้อยละเฉลี่ยของคะแนนของนักเรียนทั้งหมดจากการทำกิจกรรมและแบบทดสอบระหว่างเรียนหลังใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ทั้ง 3 ชุด คิดเป็นร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม
     75 ตัวหลัง หมายถึง ค่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์ ได้จากร้อยละเฉลี่ยของคะแนนของนักเรียนทั้งหมดจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน คิดเป็นร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม



ประโยชน์ของการศึกษา
    1. ได้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับพัฒนาผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนคณิตศาสตร์ให้สูงขึ้น
    2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง อสมการ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์มีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น
    3. ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ใช้เป็นแนวทางสำหรับการพัฒนา
แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ในเนื้อหาและระดับชั้นอื่นๆ ต่อไป

hunnad462110 28 มิ.ย. 2561 เวลา 09:23 น. 0 577
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^