LASTEST NEWS

29 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 29 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบ ภาค ก ตำแหน่ง ผอ. - รองผอ.สถานศึกษา ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 29 เม.ย. 2567สพป.นครศรีธรรมราช เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 26 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 29 เม.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 4 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 36 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 29 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 เม.ย. 2567สพม.ศรีสะเกษ ยโสธร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ศรีสะเกษ ยโสธร 29 เม.ย. 2567สพป.สิงห์บุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สิงห์บุรี 29 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 เม.ย. 2567สพม.กรุงเทพมหานคร เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.กรุงเทพมหานคร เขต 2

รายงานการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ

usericon

ชื่อเรื่อง    รายงานการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative
Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ รายวิชาวิทยาศาสตร์
    สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย    นางเนาวรัตน์ วิชาหาร
ปีที่ศึกษา    2558


บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัด การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัด การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ 4) เพื่อศึกษา ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนเชียงเพ็งวิทยา อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี จาก 1 ห้องเรียน จำนวน 31 คน
ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) แผนการจัด การเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ 4) แบบทดสอบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัด การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทีแบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา

    ผลการวิจัยพบว่า

        1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า “EARCA Model” โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระความรู้ สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง ระบบสนับสนุน และเงื่อนไขการนำรูปแบบการสอน ไปใช้ ซึ่งมีกระบวนการเรียนการสอน 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นกระตุ้นความสนใจ (Engage : E) 2) ขั้นเรียนรู้ร่วมมือปฏิบัติ (Action : A) 3) ขั้นสะท้อนความรู้มุ่งสู่ความคิด (Reflection : R) 4) ขั้นสรุปเพื่อสร้างความรู้ (Construction : C) 5) ขั้นประเมินผลค้นพบตน (Assessing : A) และรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 85.31/82.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80
    2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
    3. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
    4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ รายวิชาวิทยาศาสตร์ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด โดยนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านกิจกรรมการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด เพราะนักเรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมการเรียนการสอน นักเรียนสามารถสรุปความรู้ เชื่อมโยงนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ ครูมีการเรียงเนื้อหาและกิจกรรมได้อย่างเหมาะสม คำถามของครูฝึกให้นักเรียนคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล และมีการอภิปรายร่วมกันระหว่างสมาชิกในกลุ่ม ทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง
palmmufc 30 ม.ค. 2561 เวลา 14:33 น. 0 714
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^