LASTEST NEWS

05 พ.ค. 2567ก.ค.ศ.เดินหน้ารื้อระบบ ศน.ใหม่ ยกเครื่อง ปรับบทบาทหน้าที่ เพิ่มคุณสมบัติ ดึงบุคลากรคุณภาพพัฒนาคุณภาพการศึกษา 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 04 พ.ค. 2567สพม.ชัยภูมิ ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 2 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชลบุรี เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567โรงเรียนหนองไผ่ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกคอมพิวเตอร์ เงินเดือน 10,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 พฤษภาคม พ.ศ.2567 03 พ.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลสกลนคร รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกคณิตศาสตร์ เงินเดือน 9,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 8 พฤษภาคม พ.ศ.2567 03 พ.ค. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567

บทความงานวิจัย รายงานผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการแต่งกาพย์ยานี 11

usericon


บทความงานวิจัย
รายงานผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการแต่งกาพย์ยานี 11
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

กานต์รวี เกิดสมศรี
ครูชำนาญการโรงเรียนวัดลาดสนุ่น


บทคัดย่อ

    การพัฒนาทักษะกาพย์ยานี 11 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการแต่งกาพย์ยานี 11 ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการแต่งกาพย์ยานี 11 ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 ก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การแต่งกาพย์ยานี 11 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการแต่ง กาพย์ยานี 11
    กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดลาดสนุ่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ปีการศึกษา 2559 ภาคเรียนที่ 1 จำนวน 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบฝึกเสริมทักษะการแต่งกาพย์ยานี 11 แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 32 ข้อ และแบบทดสอบแบบอัตนัย จำนวน 2 ข้อ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบฝึกเสริมทักษะการแต่ง กาพย์ยานี 11 จำนวน 6 เล่ม เล่มละ 10 ข้อและแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะ จำนวน 10 ข้อ ผลการวิจัยพบว่า
    1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการแต่งกาพย์ยานี 11 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ใน การทดสอบภาคสนามโดยเฉลี่ยมีค่า E1 /E2 เท่ากับ 87.11/89.88 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
    2. ผลสัมฤทธิ์ทางเรียน เรื่องการแต่งกาพย์ยานี 11 หลังเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะสูงกว่าก่อนเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะ มีค่าการพัฒนาเท่ากับ 3.87
    3. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการแต่งกาพย์ยานี 11 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะทั้ง 6 เล่ม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
    4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะการแต่ง กาพย์ยานี 11 อยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด

ความสำคัญของปัญหา

ประเทศไทยมีสิ่งที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ที่สำคัญ คือ ภาษาไทย ดังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินไปทรงร่วมการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทยคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2505 (2542: 5) ความตอนหนึ่งว่า“ภาษาไทยนั้นเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของชาติ ภาษาทั้งหลายเป็นสิ่งสวยงามอย่างหนึ่ง เช่น ในทางวรรณคดี เป็นต้น ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องรักษาเอาไว้ให้ดี ประเทศไทยนั้นมีภาษาของเราเองจึงต้องหวงแหน ประเทศใกล้เคียงของเราหลายประเทศมีภาษาของตนเอง แต่ว่าเขาก็ไม่ค่อยแข็งแรง เขาต้องพยายามหาทางที่จะต้องสร้างภาษาของตนเองไว้ให้มั่นคงเราโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาลจึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้...” การเรียนการสอนวิชาภาษาไทยเป็นสิ่งสำคัญ สำหรับเยาวชนไทย กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดให้ภาษาไทยเป็นวิชาบังคับในหลักสูตรทุกระดับชั้น พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2)พ.ศ.2545 และ(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553 (1: 2542) กล่าวถึงในมาตรา 7 เรื่องความภาคภูมิใจในความเป็นไทย รู้จักรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ รวมทั้งส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรมของชาติ การกีฬา ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และความรู้อันเป็นสากล ตลอดจนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มีความสามารถในการประกอบอาชีพรู้จักพึ่งตนเอง มีความริเริ่มสร้างสรรค์ ใฝ่รู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับ เอกสารหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กล่าวถึงมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย (2552: 1) ว่าภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ของชาติเป็นสมบัติทางวัฒนธรรม อันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพและเสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทำให้สามารถประกอบกิจธุระ การงาน และดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมประชาธิปไตยได้อย่างสันติสุข และเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ ประสบการณ์จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศต่างๆ เพื่อพัฒนาความรู้ พัฒนากระบวนการ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ และสร้างสรรค์ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ตลอดจนนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเป็นสื่อแสดงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษด้านวัฒนธรรม ประเพณีและสุนทรียภาพ เป็นสมบัติล้ำค่าควรแก่การเรียนรู้ อนุรักษ์ และสืบสานให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป
กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (2553: ก) กล่าวว่า ภาษาไทยเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของชนชาติไทยในอดีตที่สามารถธำรงความเป็นเอกลักษณ์ที่ยาวนาน และภาษาไทยนั้นเอง คือเครื่องมือสำคัญในการธำรงเอกลักษณ์ แห่งความเป็นชาติไทยมาจวบจนปัจจุบัน ภาษาไทยจึงนับว่ามีความสำคัญยิ่ง คนไทยนั้นมีนิสัยประณีต บรรจงและรักสงบ นักปราชญ์ นักกวีไทยในสมัยก่อนจึงได้สร้างสรรค์อักขระไทยและภาษาไทยมาผสมผสานกัน โดยให้มีความไพเราะและเกิดการวิจิตรทางภาษานั้นก็คือ การแต่ง คำประพันธ์ การสอนภาษาไทยแต่โบราณ เมื่อผู้เรียนเข้าใจหลักการผสมคำแล้ว ครูผู้สอนนิยม ผูกถ้อยคำ เป็นหมวดหมู่ให้นักเรียน จดจำเป็นเรื่องราว ซึ่งมีการใช้ถ้อยคำสัมผัส คล้องจอง ทำให้ จำได้ง่าย จึงทำผู้เรียนพอใจในจังหวะ ลีลาความคล้องจองและเข้าใจ เนื้อความไปด้วย ทำให้การอ่านนั้นมีความหมายมากขึ้น ซึ่งในสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (2551: 50) มาตรฐาน ท 4.1 ผู้เรียนจะต้องเขาใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปญญาทางภาษาและรักษาภาษาไทยไว้ เป็นสมบัติของชาติ ตามตัวชี้วัดที่ ม 1/5 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ทุกคนจะต้องแต่งบทร้อยกรองกาพย์ยานี 11 ได้ ดังนั้นครูภาษาไทยจึงมีบทบาทสำคัญที่จะต้องถ่ายทอดความรู้เรื่องการแต่งกาพย์ยานี 11 ให้นักเรียนมีความรักในวรรณศิลป์เพิ่มขึ้นและชอบที่จะเรียนวิชาภาษาไทยรักวิชาภาษาไทย และรักครูภาษาไทยมากขึ้น แต่ปัญหาการสอนการแต่งกาพย์ยานี 11 นั้น เป็นเรื่องยากและเป็นปัญหาสำคัญสำหรับครูภาษาไทยที่ควรแก้ไข เพราะนักเรียนส่วนใหญ่มีความเห็นว่าการแต่งคำประพันธ์นั้นยากไม่มีความจำเป็นในชีวิตประจำวัน หรือมองว่าตนเองไม่มีความสามารถในการแต่งคำประพันธ์ จึงทำให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่ายในการเรียนการแต่งคำประพันธ์ อาจมีผลมาจากผู้เรียนขาดทักษะการเรียนรู้และความเข้าใจในการแต่งคำประพันธ์ และหากครูผู้สอนไม่เข้าใจเนื้อหาและวิธีถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้เรียนจนสามารถแต่งคำประพันธ์กาพย์ยานี 11 ได้ ก็จะทำให้ การเรียนการสอนเรื่องการแต่งกาพย์ยานี 11 ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่หลักสูตรกำหนด
มีนักการศึกษาได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับการแต่งคำประพันธ์กาพย์ยานี 11 หลายท่านและ ได้นำเสนอปัญหาของการแต่งคำประพันธ์กาพย์ยานี 11 เช่น พนมศักดิ์ มนูญปรัชญาภรณ์ (2557: 1) กล่าวถึงความสำคัญของการสอนการแต่งคำประพันธ์ว่า ร้อยกรองนั้นต้องใช้ทักษะในการเขียนสูงกว่าร้อยแก้วอันเนื่องมาจากลักษณะบังคับทางด้านฉันทลักษณ์ ทำให้ผู้เขียนต้องใช้ความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานการเขียนสูงซึ่งบทร้อยกรอง นับว่าเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งที่ครูภาษาไทยใช้ ในการจัดการเรียนการสอน โดยเฉพาะเมื่อต้องการสอนเนื้อหาเรื่องต่าง ๆ ก็มักหยิบยกเอาวรรณคดี หรือวรรณกรรมร้อยกรองมาใช้ในการเรียนการสอน ร้อยกรองจึงมีความสำคัญในฐานะของเครื่องมือ ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนของครูภาษาไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนี้ ร้อยกรองยังเป็นรากฐานของประเทศชาติและสังคมไทยในฐานะเครื่องดำรงรักษาวัฒนธรรมของชาติให้มั่นคง ชรินทร์ เนืองศรี (2551: 3) กล่าวถึงสภาพปัจจุบัน นักเรียนมีความสนใจด้านร้อยกรองน้อยลง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะโอกาส ที่จะใช้มีน้อยมาก การพูดตอบโต้กันระหว่างชายหญิงก็ไม่นิยมใช้ภาษาร้อยกรองเนื่องจากค่อนข้างจะดูล้าสมัยไม่ทันเหตุการณ์ และสังคมเปลี่ยนแปลงไป สอดคล้องกับ จรินทร์ งามแม้น (2553: 4) กล่าวถึงปัญหาของการจัดการเรียนการสอนหน่วยการเขียนคำประพันธ์ ยังไม่ประสบผลสำเร็จ กล่าวคือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ส่วนใหญ่ขาดทักษะการเขียนคำประพันธ์กาพย์ยานี 11 และมีเจตคติที่ไม่ดีต่อการเขียน เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องยากและตนเอง ไม่สามารถจะทำได้ อีกทั้ง นักเรียนไม่แม่นฉันทลักษณ์ ใช้สัมผัสและคำคล้องจองไม่ถูกต้อง ไม่รู้จังหวะคำ แบ่งจังหวะคำไม่ได้ ถ้อยคำที่นำมาเรียบเรียงเป็นคำพูดร้อยแก้วที่ยังไม่มีคำสัมผัสในที่คล้องจองกัน กรนิษฐ์ ชายป่า (2556: 1) กล่าวว่า จากประสบการณ์สอนภาษาไทย เป็นเวลานานกว่า 20 ปีโดยเฉพาะเรื่องกาพย์ยานี 11 จากการตรวจงานพบว่า ผู้เรียนไม่แม่นยำเรื่องฉันทลักษณ์แบ่งจังหวะคำไม่ได้ ถ้อยคำที่นำมาเรียบเรียงเป็นร้อยแก้วที่ไม่มีสัมผัสคล้องจองกัน สื่อและกระบวนการเรียนรู้กิจกรรมและวิธีการสอน จะช่วยให้ผู้เรียนมีทักษะและเจตคติที่ดีต่อการแต่งกาพย์ยานี 11 เชิงสร้างสรรค์ได้ การจัดการเรียนรู้เรื่องการแต่งคำประพันธ์กาพย์ยานี 11 นั้นสิ่งสำคัญคือ ผู้เรียนต้องเข้าใจการสัมผัสคล้องจองฉันทลักษณ์ และการใช้คำที่ สื่อความหมายชัดเจนและมีจินตนาการ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญและเป็นเรื่องที่ยากสำหรับทั้งผู้สอนและผู้เรียน
จากการจัดการเรียนการสอนในมาตรฐาน ท 4.1 หลักภาษาไทย เรื่องการแต่งคำประพันธ์ กาพย์ยานี 11 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนวัดลาดสนุ่น ยังไม่ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ตามรายงานผลการประเมินคุณภาพผู้เรียนระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของโรงเรียนวัดลาดสนุ่น ปีการศึกษา 2557 (1: 2557) ที่ผ่านมาพบว่า มาตรฐานการเรียนรู้หลักภาษาไทย มาตรฐานการเรียนรู้ ท 4.1 หลักภาษาไทย มีค่าเฉลี่ยความแตกต่างจากระดับประเทศ -9.08 นอกจากนี้ จากการประเมินคุณภาพผู้เรียนระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของโรงเรียนวัดลาดสนุ่น คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ มาตรฐาน ท 4.1 ปี 2557 ยังต่ำกว่า ปี 2558 (1: 2558) มีค่าความแตกต่างถึง -16.1 ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าวิธีการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องหลักภาษา ไม่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน และครูจะต้องปรับปรุงคุณภาพการจัดการเรียนรู้อย่างเร่งด่วน
จากปัญหาที่กล่าวมา ผู้ศึกษาจึงคิดว่าแบบฝึกเสริมทักษะเป็นนวัตกรรมอย่างหนึ่งที่สามารถ นำมาใช้ในการเสริมทักษะการแต่งคำประพันธ์กาพย์ยานี 11 ได้ดี เพราะแบบฝึกเสริมทักษะเป็นสื่อการเรียนชนิดหนึ่งที่ทำขึ้นอย่างเป็นระบบ ช่วยให้นักเรียนฝึกทักษะการเรียนรู้ เป็นประโยชน์ต่อ การพัฒนาผู้เรียนและการจัดการเรียนการสอน คือเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ สามารถวัดผลและประเมินผลการเรียนช่วยให้ครูทราบความก้าวหน้าหรือข้อบกพร่องของนักเรียน และช่วยให้นักเรียนประสบผลสำเร็จในการเรียน ดังที่ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2545) มาตรา 22 กำหนดแนวทางในการจัดการศึกษาและได้กล่าวถึงสื่อการสอนไว้ว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถที่จะเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ครูผู้สอนและผู้จัดการศึกษาจะต้องเปลี่ยนแปลงบทบาทจากการเป็น ผู้ชี้นำ ผู้ถ่ายทอดความรู้ไปเป็นผู้ช่วยเหลือ ส่งเสริมและสนับสนุนผู้เรียนในการแสวงหาความรู้จากสื่อและแหล่งการเรียนรู้ต่างๆและให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ผู้เรียนเพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้สร้างสรรค์ความรู้ ของตน สอดคล้องกับ ชรินทร์ เนืองศรี (2551: 1) ที่ตระหนักถึงความสำคัญของการเขียนร้อยกรอง ส่งเสริมให้นักเรียนได้เขียนร้อยกรองอย่างสร้างสรรค์ โดยคิดหาวิธีสอนและเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ เพื่อฝึกฝนการเขียนของนักเรียน จึงสร้างชุดฝึกการเขียนร้อยกรองเฉพาะกาพย์ยานี 11 สาระ การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เช่นเดียวกับ จรินทร์ งามแม้น (2553: 5-6) ได้กล่าวว่า แบบฝึกเป็นนวัตกรรมอย่างหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการฝึกทักษะให้แก่นักเรียน ทำให้นักเรียนสนใจไม่เบื่อหน่าย เป็นแรงจูงใจให้นักเรียนเพิ่มความพยายามมากขึ้น ในส่วนของครูนับว่า มีประโยชน์มาก เพราะแบบฝึกช่วยประหยัดเวลา แรงงาน ครูสามารถใช้แบบฝึกเป็นเครื่องมือสำหรับประเมินผลการเรียนทำให้ทราบพัฒนาการด้านทักษะการแต่งกาพย์ยานี 11 ของนักเรียน

    ผู้ศึกษาเห็นว่าการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการแต่งกาพย์ยานี 11 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นั้นจะช่วยให้นักเรียนเกิดการพัฒนาทักษะการแต่งกาพย์ยานี 11 ทำให้นักเรียนได้รับความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องคำสัมผัสคล้องจอง ลักษณะคำประพันธ์ ฉันทลักษณ์ และการใช้คำที่สื่อความหมายอย่างมีจินตนาการ ทำให้ผู้เรียน เกิดความเพลิดเพลินในการเรียน มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนแต่งกาพย์ยานี 11 อีกทั้ง ยังเป็นการรักษาและสืบทอดลักษณะคำประพันธ์กาพย์ยานี 11 ของไทยเอาไว้ให้ยั่งยืนต่อไปได้

วัตถุประสงค์การวิจัย
1.2.1 เพื่อพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการแต่งกาพย์ยานี 11 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
1.2.2 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการแต่งกาพย์ยานี 11 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการแต่งกาพย์ยานี 11
1.2.3 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดลาดสนุ่น ที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการแต่งกาพย์ยานี 11
การศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตเนื้อหา ประชากรแลกลุ่มตัวอย่างและตัวแปรที่ศึกษาไว้ดังนี้


    ขอบเขตประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1) ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดลาดสนุ่น ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 3 ห้องเรียน จำนวนนักเรียนทั้งหมด 131 คน
2) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวนนักเรียน 43 คน ซึ่งได้มาโดย การเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) บุญชม ศรีสะอาด (2545: 44) โดยมีเหตุผลสำคัญในการเลือกดังนี้
2.1) ผู้วิศึกษาทำหน้าที่เป็นครูผู้สอนกลุ่มสาระภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จึงทราบถึงปัญหาของการจัดการเรียนรู้ และต้องการจะพัฒนาการจัดการเรียนรู้เรื่อง การแต่ง กาพย์ยานี 11 ให้มีคุณภาพ
2.2) มีการจัดการเรียนการสอนตรงตามเนื้อหาที่จะใช้ทำการศึกษา
2.3) มีจำนวนนักเรียนเพียงพอสำหรับการทำศึกษา
2.4) นักเรียนในชั้นเรียนมีทั้งที่เรียนเก่ง ปานกลาง อ่อน คละกันไป เพื่อจัดนักเรียน ออกเป็นกลุ่มย่อย เหมาะสำหรับการศึกษา
    ขอบเขตของเนื้อหา เนื้อหาที่ใช้ในแบบฝึกเสริมทักษะการแต่งกาพย์ยานี 11 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นี้มีทั้งหมด 6 เล่ม ใช้เวลาเรียน 20 ชั่วโมง
เล่มที่ 1 กาพย์ยานี ลีลาร้อยกรอง (ความรู้เบื้องต้นและวิธีการอ่านกาพย์ยานี 11)
        เล่มที่ 2 ทำนองคล้องสัมผัส (คำสัมผัส คล้องจอง)
    เล่มที่ 3 จัดกระบวนคำ (ลักษณะคำประพันธ์กาพย์ยานี 11)
        เล่มที่ 4 เลิศล้ำคำไวพจน์ (คำไวพจน์)
        เล่มที่ 5 อรรถรสคำประพันธ์ (วิธีการแต่งกาพย์ยานี 11)
เล่มที่ 6 สร้างสรรค์คุณค่ากาพย์ยานี 11 (คุณค่าของกาพย์ยานี 11 และการแต่ง กาพย์ยานี 11 ตามจินตนาการ)

    ผลการวิจัย
การวิเคราะห์การผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการแต่งกาพย์ยานี 11 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ได้ผลดังนี้
        1) ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการแต่งคำประพันธ์กาพย์ยานี 11 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หรือคะแนนจากกระบวนการ (E1 ) พบว่านักเรียนผ่านกระบวนการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะ การแต่งคำประพันธ์กาพย์ยานี 11 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยได้คะแนนรวมเฉลี่ย 80.47 จากคะแนนเต็ม 100 แสดงว่าแบบฝึกทักษะมีประสิทธิภาพของกระบวนการที่จัดไว้ในบทเรียน (E1 ) เท่ากับ 80.47 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และเมื่อพิจารณาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะทุกเล่ม พบว่านักเรียนทำคะแนนได้เกินร้อยละ 80 ทุกเรื่อง
เมื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการแต่งคำประพันธ์กาพย์ยานี 11 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จากการเปรียบเทียบคะแนนสอบก่อนเรียนกับคะแนนสอบหลังเรียน (E2 ) พบว่า นักเรียนทำข้อสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนรู้ได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.74 เมื่อนักเรียน ได้เรียนรู้จากแบบฝึกทักษะการแต่งกาพย์ยานี 11 แล้วทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน ได้คะแนนเฉลี่ย 7.61 แสดงว่าแบบฝึกทักษะการแต่งกาพย์ยานี 11 มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนแปลงผลการเรียนของนักเรียน (E2 ) มีค่าการพัฒนา 3.87
    จากนั้นได้วิเคราะห์ประสิทธิภาพของการแต่งคำประพันธ์ ตามเกณฑ์ 80/80 ได้ค่าเฉลี่ย มีค่า E1 /E2 เท่ากับ 80.40 / 80.12 และ 87.16 / 80.47 ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าแบบฝึกเสริมทักษะการแต่งกาพย์ยานี 11 ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
    2) ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ วิชา ภาษาไทย สาระการเรียนรู้พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง การแต่งกาพย์ยานี 11 ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้าง และการหาคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ วิชาภาษาไทย สาระการเรียนรู้พื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 6 แผน ผู้เชี่ยวชาญประเมินความเหมาะสม ระหว่างการจัดแผนการเรียนรู้ กับผลการเรียนรู้/จุดประสงค์การเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 0.94 แสดงว่า แผนการจัดการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพเหมาะสมสำหรับใช้ในการจัดการเรียนรู้
    3) เมื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียน แล้วนำผลคะแนน ที่ได้มาจากการคำนวณค่าความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย ผลการทดสอบหลังเรียนกับก่อนเรียน โดยใช้ t-test (Dependent Samples) ศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การแต่งกาพย์ยานี 11 ก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะ ชุดที่ 1-6 พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนด้วยแบบฝึกทักษะร้อยละ 11.59 ต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน ร้อยละ 33.93 ทำให้มีค่าการพัฒนาเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.98 แสดงว่าผลสัมฤทธิ์การเรียนหลังใช้ แบบฝึกทักษะหลังเรียนสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
    4) สร้างแบบสอบถามความพึงพอใจ ประเมินความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความ พึงพอใจ ตามวิธีของครอนบาค (Cronbach) จากนั้นนำแบบสอบถามที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 จำนวน 43 คน พบว่า ข้อคำถามทั้ง 10 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นโดยรวม เท่ากับ 0.98
    จากการสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน ที่เรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการแต่ง กาพย์ยานี 11 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยแบบฝึก เสริมทักษะการแต่งกาพย์ยานี 11 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด รวมเฉลี่ย ( = 4.52, S.D.= 0.19) นักเรียนมีความพึงพอใจเป็นรายข้ออยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้อ

อภิปรายผล
    จากผลการศึกษา สามารถอภิปรายผลการพัฒนาแบบฝึกทักษะการแต่งกาพย์ยานี 11 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ดังนี้
    1) แบบฝึกเสริมทักษะการแต่งกาพย์ยานี 11 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพ 87.16 / 80.47 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 สอดคล้องกับ ชรินทร์ เนืองศรี (2551: 82) พัฒนาชุดฝึกทักษะการเขียนร้อยกรอง “กาพย์ยานี 11” กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 ได้ค่าประสิทธิภาพ 86.66/80.71 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ จรินทร์ งามแม้น (2553: 95-96) ศึกษาการพัฒนาแบบฝึกการเขียนคำประพันธ์กลอนสุภาพและกาพย์ยานี 11 สำหรับนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ได้ค่าประสิทธิภาพ 84.03/89.00 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เนื่องจากนักเรียนทำแบบฝึกทีละขั้นตอนตามลำดับความยากง่ายทำให้นักเรียนไม่เกิดความวิตกกังวล เป็นการประมวลความรู้ที่เรียนมาทั้งหมดซึ่งสอดคล้องกับ กาญจนา ไพราม (2556: 63) ศึกษาผลการแต่งบทร้อยกรอง ประเภทกาพย์ยานี 11 ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยแบบฝึกที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 82.19/83.77 เนื่องจากแบบฝึกทักษะสร้างขึ้นอย่างเป็นระบบ ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ ปรับปรุงแก้ไขก่อนนำไปใช้ทดลองทำให้แบบฝึกมีประสิทธิภาพ
    จากผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า ประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการแต่ง กาพย์ยานี 11 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้วิจัยได้พัฒนานั้นมีประสิทธิภาพสูงมีผลมาจากการปรับปรุง และตรวจสอบจากผู้ที่เชี่ยวชาญ ก่อนที่จะนำมาใช้กับนักเรียน อีกทั้งแบบฝึกยังมีเนื้อหาเรียงลำดับจากง่ายไปหายาก มีความน่าสนใจ เหมาะกับผู้เรียนที่จะนำมาใช้ทบทวนได้ จึงทำให้แบบฝึก มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน เหมาะกับผู้เรียนที่มีปัญหาและมีเจตคติที่ไม่ดีต่อ การแต่งกาพย์ยานี 11 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
    2) ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การแต่ง กาพย์ยานี 11 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผู้วิจัยได้ดำเนินการสร้าง และการหาคุณภาพของแผน การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 6 แผน ผู้เชี่ยวชาญประเมินความเหมาะสม ระหว่างการจัดแผนการเรียนรู้ กับผลการเรียนรู้/จุดประสงค์การเรียนรู้มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 0.92 ค่าประสิทธิภาพ 87.16/80.47 แสดงว่า แผนการจัดการเรียนรู้มีประสิทธิภาพเหมาะสมสำหรับใช้ในการจัดการเรียนรู้สามารถนำไปใช้สอนได้ สอดคล้องกับ สุวารีย์ สิงห์ยะบุศย์ (2550: 58-84) ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยโครงงาน ตามสาระการเรียนรู้ เรื่องครื้นเครงเพลงพื้นบ้าน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยมีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทยโดยโครงงานเรื่องครื้นเครงเพลงพื้นบ้าน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่าแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีประสิทธิภาพเท่ากับ 91.26/82.34 สอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้ อมราภรณ์ กองสันเทียะ (2550: 49-67) ได้ศึกษาการพัฒนาแผนการเรียนรู้วิชาภาษาไทยเรื่องสุภาษิตอิศรญาณโดยใช้กิจกรรมโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยมีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาแผนการเรียนรูภาษาไทยเรื่องสุภาษิตอิศรญาณ โดยใช้กิจกรรมโครงงาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์80/80 ได้ค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 84.81/80.33 และดัชนีประสิทธิผลแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเรื่องสุภาษิตอิศรญาณ ทั้ง 8 แผนเท่ากับ 0.68 และ รวิวรรณ พวงสมบัติ (2553: 98) ศึกษาการพัฒนาความสามารถใน การแต่ง กาพย์ยานี 11 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กิจกรรมโครงงาน ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ได้ค่าประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กิจกรรมโครงงาน เท่ากับ 81.30/81.61
    จากผลการวิจัย สามารถสรุปได้ ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับแบบฝึกเสริมทักษะการแต่งกาพย์ยานี 11 ช่วยพัฒนาความสามารถในการแต่งกาพย์ยานี 11 ได้ สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
    3) ประสิทธิภาพของแบบทดสอบวัดผลและประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการแต่งกาพย์ยานี 11 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ร้อยละ 11.59 ต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนด้วยแบบฝึก ร้อยละ 21.98 แสดงว่าผลสัมฤทธิ์การเรียนหลังใช้ แบบฝึกเสริมทักษะสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สอดคล้องกับงานวิจัยของ ชรินทร์ เนืองศรี (2551: 79) พัฒนาชุดฝึกทักษะการเขียนร้อยกรอง “กาพย์ยานี 11” กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 ได้ค่าคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน มีค่าอำนาจจำแนก .22 - .54 ค่าความยากตั้งแต่ .37 - .78 และความเชื่อมั่น 0.89 ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ รวิวรรณ พวงสมบัติ (2553: 106) ที่ได้ ค่าดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้โครงงาน เรื่องกาพย์ยานี 11 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เท่ากับร้อยละ 62.66 แสดงว่าผู้เรียนมีความก้าวหน้าและ มีพัฒนาการทางการเรียน จรินทร์ งามแม้น (2553: 92) กล่าวถึงผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการเขียนคำประพันธ์ของนักเรียนก่อนและหลัง การใช้แบบฝึกการเขียนคำประพันธ์กลอนสุภาพและกาพย์ยานี 11 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณาราด้านพบว่าความสามารถในการเขียนคำประพันธ์กลอนสุภาพและกาพย์ยานี 11 ด้านฉันทลักษณ์อยู่ในระดับสูงส่วนด้านเนื้อหาในการใช้ภาษาอยู่ในระดับปานกลาง กาญจนา ไพราม (2556: 62) พัฒนาการใช้แบบฝึกทักษะการแต่งบทร้อยกรองประเภทกาพย์ยานี 11 กลุ่มสาระภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หลังการใช้แบบฝึกแต่งต่างกับก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เนื่องจากแบบฝึกสามารถเพิ่มทักษะการแต่งบทร้อยกรองประเภทกาพย์ยานี 11 ให้นักเรียนได้ฝึกฝนและทำซ้ำด้วยตนเอง ประกอบกับความน่าสนใจของเนื้อหาและภาพประกอบ ได้รับการพัฒนาอย่างถูกต้องเป็นระบบ อีกทั้งแบบฝึกที่ใช้ มีเนื้อหาที่เหมาะสม และไม่ยากจนเกินไป นักเรียนได้ฝึกทักษะตามลำดับขั้นตอน ตามกิจกรรมที่น่าสนใจ ทำให้เกิดความสุขในการเรียน การแต่งคำประพันธ์กาพย์ยานี 11 จนทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น
    จากผลการวิจัยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะแตกต่างกัน โดยมีค่าการพัฒนาที่เพิ่มขึ้นถึง 21.98 สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้แสดงให้เห็นว่าผู้เรียนมีทักษะการแต่งกาพย์ยานี 11 ที่ดีขึ้นมาก เนื่องจากการใช้แบบฝึกเสริมทักษะที่มีประสิทธิภาพ และการพัฒนาทักษะการแต่งกาพย์ยานีตามลำดับขั้นตอนจากง่ายไปหายาก และการได้รับคำชมเชย การให้กำลังใจ รวมถึงจะต้องมีกิจกรรมการเรียนการสอนที่สอดแทรกความสนุกสนาน เช่นการใช้เกม การใช้สื่อการสอนอื่นๆ ร่วมกับการใช้แบบฝึกด้วยจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความสุข และสนุกกับการเรียนเรื่อง การแต่งคำประพันธ์กาพย์ยานี 11
4) จากการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการแต่งกาพย์ยานี 11 พบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 4.25 แสดงให้เห็นว่า แบบฝึกทักษะการแต่งกาพย์ยานี 11 ชุดนี้นักเรียนมีความพึงพอใจ มากที่สุด เนื่องจาก ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนดีขึ้น เมื่อได้ใช้แบบฝึกเสริมทักษะ การแต่งกาพย์ยานี 11 ที่มีเนื้อหาน่าสนใจเรียงลำดับจากง่ายไปหายาก ทำให้นักเรียนมีพัฒนาการ ในการแต่งกาพย์ยานี 11 ที่ดีขึ้นสอดคล้องกับงานวิจัยของ จรินทร์ งามแม้น (2553: 98) ได้ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกการเขียนคำประพันธ์กลอนสุภาพและกาพย์ยานี 11 พบว่า นักเรียนเห็นด้วยมากที่สุดในเรื่องของประโยชน์ของแบบฝึก และบรรยากาศในการเรียนด้วยแบบฝึก เพราะนักเรียนได้เรียนรู้จากแบบฝึกโดยตรง รวมถึงแบบฝึกมีเนื้อหาที่เหมาะสมกับวัยและระดับความสามารถของผู้เรียน กาญจนา ไพราม (2556: 64) จากการทดสอบความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการแต่งบทร้อยกรอง ประเภทกาพย์ยานี 11 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นักเรียนมีความเห็นด้วยในระดับดีมากต่อแบบฝึกทักษะที่มีเนื้อหาน่าสนใจมีกิจกรรมในแต่ละชุดที่หลากหลาย สร้างความอยากเรียนรู้ของนักเรียน นักเรียนได้เรียนรู้เพิ่มขึ้น และได้ฝึกทักษะอย่างเป็นขั้นตอนซ้ำ ๆ และต่อเนื่อง เนื้อหาของแบบฝึกเริ่มจากง่ายไปหายากซึ่งเป็นกระบวนการสร้างการเรียนรู้ด้วยตัวนักเรียนเอง
    จากการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อแบบฝึกการแต่งกาพย์ยานี 11 นักเรียนมีความพึงพอใจมากที่สุดเนื่องจากประโยชน์ที่นักเรียนได้รับเกิ
boomy6040 13 ก.ค. 2560 เวลา 22:29 น. 0 5,191
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^