LASTEST NEWS

04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 04 พ.ค. 2567สพม.ชัยภูมิ ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 2 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชลบุรี เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567โรงเรียนหนองไผ่ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกคอมพิวเตอร์ เงินเดือน 10,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 พฤษภาคม พ.ศ.2567 03 พ.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลสกลนคร รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกคณิตศาสตร์ เงินเดือน 9,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 8 พฤษภาคม พ.ศ.2567 03 พ.ค. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567สพม.ชลบุรี ระยอง ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567

หัวข้อวิจัย การศึกษาแนวทางพัฒนาการบริการวิชาการ ตามแนวพระราชดำริ

usericon

หัวข้อวิจัย    การศึกษาแนวทางพัฒนาการบริการวิชาการ ตามแนวพระราชดำริ เข้าใจ
เข้าถึง และพัฒนา ของโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร

ผู้วิจัย        นายณรงค์ฤทธิ์ ห่วงไธสง ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา

หน่วยงาน    โรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร(บ่อนไก่)

สังกัด        กองส่งเสริมอาชีพ สำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร

ปีการศึกษา    2557

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การศึกษาแนวทางพัฒนาการบริการวิชาการตามแนวพระราชดำริ เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ของโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาการบริการวิชาการตามแนวพระราชดำริ เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ของโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยหลักการสำคัญ 3 ประการ ดังนี้ 1) เข้าใจ 2) เข้าถึง และ 3) พัฒนา ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู ของโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 106 คน เครื่องมือคือแบบสอบถามมาตรวัดแบบประเมินค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 36 ข้อ ได้แก่ หลักเข้าใจ จำนวน 12 ข้อ หลักเข้าถึง จำนวน 12 ข้อ และหลักพัฒนา จำนวน 12 ข้อ ได้ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.83
ผลการศึกษาพบว่า ความคิดเห็นด้วยแนวทางพัฒนาการบริการวิชาการตามแนวพระราชดำริ เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา ของโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร
ด้านเข้าใจ ในภาพรวมมีความคิดเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ อันดับ 1 ได้แก่ สถานศึกษาควรมีการศึกษา วิเคราะห์ ระดับภูมิปัญญาสังคมของชุมชนเพื่อแลกเปลี่ยนภูมิปัญญาท้องถิ่นในการบริการวิชาการ มีความคิดเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด อันดับ 2 มี 2 ข้อ ได้แก่ สถานศึกษาควรมีการดำเนินการศึกษา วิเคราะห์ รูปแบบการให้บริการวิชาการที่สอดคล้องกับศักยภาพของชุมชน มีความคิดเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด และ สถานศึกษาควรมีการศึกษา วิเคราะห์ และกำหนดแนวทางหรือรูปแบบในการเข้าสู่ชุมชนเพื่อการบริการวิชาการทั้งทางตรงและทางอ้อม มีความคิดเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด อันดับ 3 ได้แก่ สถานศึกษาควรมีการดำเนินการศึกษา วิเคราะห์ บริบทด้านอาชีพหรือวิชาชีพของชุมชนเพื่อการบริการวิชาการ มีความคิดเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด ตามลำดับ

และอันดับท้ายสุด คือ สถานศึกษาควรมีการศึกษา วิเคราะห์ ทรัพยากร(คน วัสดุ-ครุภัณฑ์ งบประมาณ และเทคโนโลยี) ที่เหมาะสมกับการบริการวิชาการในแต่ละพื้นที่ของชุมชน มีความคิดเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด
ด้านเข้าถึง ในภาพรวม มีความคิดเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ อันดับ 1 มี 2 ข้อ ได้แก่ สถานศึกษาควรมีการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจกับชุมชนในการใช้หรือแลกเปลี่ยนทรัพยากรร่วมกันเพื่อการบริการวิชาการ มีความคิดเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด และสถานศึกษาควรมีระบบการบริการฐานข้อมูลด้านวิชาการที่ชุมชนสามารถเข้าถึงได้หลากหลายช่องทาง มีความคิดเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด อันดับ 2 ได้แก่ สถานศึกษาควรมีการประชาสัมพันธ์ ภารกิจ หน้าที่ และข่าวสารกิจกรรม เพื่อการบริการวิชาการในชุมชนอย่างทั่วถึง มีความคิดเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด อันดับ 3 ได้แก่สถานศึกษาควรมีการสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือภายในชุมชนเพื่อการบริการวิชาการ มีความคิดเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด ตามลำดับ และอันดับท้ายสุด คือ สถานศึกษาควรมีการจัดระบบกลไกการบริการวิชาการ ที่เน้นการให้เปล่าและมีคุณภาพ มีความคิดเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด
ด้านพัฒนา ในภาพรวม มีความคิดเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็น
รายข้อ อันดับ 1 ได้แก่ สถานศึกษาควรมีกระบวนการจัดการฝึกปฏิบัติหรือฝึกประสบการณ์วิชาชีพให้กับชุมชนได้อย่างหลากหลาย มีความคิดเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด อันดับ 2 ได้แก่ สถานศึกษาควรมีระบบติดตามประเมินผลการให้บริการวิชาการกับชุมชนอย่างต่อเนื่อง มีความคิดเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด อันดับ 3 ได้แก่ สถานศึกษาควรมีการกระบวนการหรือกลไกในการติดตามความก้าวหน้าด้านประกอบวิชาชีพหรืออาชีพอิสระที่เป็นผลจากการบริการวิชาการชุมชนอย่างต่อเนื่อง มีความคิดเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด ตามลำดับ และอันดับท้ายสุด มี
3 ข้อ คือ สถานศึกษาควรมีรูปแบบ หรือตัวอย่างแบบความสำเร็จด้านอาชีพหรือวิชาชีพในการให้ชุมชนได้ศึกษาเรียนรู้ อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต มีความคิดเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด สถานศึกษาควรมีการสร้างทีมพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำด้านการประกอบวิชาชีพ หรืออาชีพอิสระแก่ชุมชน มีความคิดเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด และ สถานศึกษาควรมีการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการให้บริการวิชาการกับชุมชนอย่างต่อเนื่อง มีความคิดเห็นด้วยอยู่ในระดับมากที่สุด
narongrit99 17 มิ.ย. 2557 เวลา 15:43 น. 0 839
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^