LASTEST NEWS

29 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 เม.ย. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยภูมิ เขต 2 29 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 เม.ย. 2567ดาวน์โหลด...คู่มือการประเมิน ITA Online สถานศึกษา ปีงบประมาณ พ.ศ.2567 29 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบ ภาค ก ตำแหน่ง ผอ. - รองผอ.สถานศึกษา ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 29 เม.ย. 2567คู่มือ การดำเนินการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ. 2567 28 เม.ย. 2567กรมสุขภาพจิต เปิดสอบบรรจุรับราชการ 86 อัตรา เงินเดือน 15,000-16,500 บาท 28 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบ ภาค ก ตำแหน่ง ผอ. - รองผอ.สถานศึกษา ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 27 เม.ย. 2567สพป.ชุมพร เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชุมพร เขต 2

การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ

usericon

ชื่อเรื่อง    : การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อ
พัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนเทศบาล ๔
(บ้านกำปงตาโก๊ะ) อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
ผู้วิจัย     : ปาจารีย์ สระชิต
ปีการศึกษา    : 2565

บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านกำปงตาโก๊ะ) อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรับรองรูปแบบการบริหารสถานศึกษาพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 การวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การวิจัย (Research : R1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 เครื่องมือได้แก่ แบบสอบถามการวิจัย (ฉบับที่ 1) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (ฉบับที่ 2) และแบบวิเคราะห์ข้อมูลจากการสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group Discussion : FGD) (ฉบับที่ 3) ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 10 คน และครูผู้สอน จำนวน 15 คน รวม 25 คน ระยะที่ 2 การพัฒนา (Development : D1) การออกแบบและพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 เครื่องมือได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสม ความเป็นไปได้และการใช้ประโยชน์ (ฉบับที่ 4) แบบประเมินความสอดคล้อง (ฉบับที่ 5) และแบบประเมินคู่มือการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษา (ฉบับที่ 6) ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน ระยะที่ 3 การวิจัย (Research : R2) การทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 เครื่องมือ ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพงานของครูผู้สอน (ฉบับที่ 7) และแบบประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน (ฉบับที่ 8) กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอน จำนวน 15 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึงนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 115 คน และระยะที่ 4 การพัฒนา (Development : D2) การประเมินและปรับปรุงรับรองรูปแบบการบริหารสถานศึกษาพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 เครื่องมือได้แก่ แบบประเมินความพึงพอใจและการปรับปรุงแก้ไข (ฉบับที่ 9) ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน และครูผู้สอน จำนวน 15 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านกำปงตาโก๊ะ) อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส พบว่า สภาพปัญหาในการพัฒนาสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก (x-bar= 4.47, S.D. = 0.64) และความต้องการพัฒนาสถานศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.56, S.D. = 0.50)
2. ผลการออกแบบและพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านกำปงตาโก๊ะ) อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส มีชื่อว่า “Five Finding Model” (ไฟว์ ฟายดิ้ง โมเดล : 5FM) ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการบริหารคุณภาพ มี 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 : การค้นหาความจริงจากเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้น (Fact Finding : F1) ขั้นที่ 2 : การค้นหาเป้าหมายที่แท้จริง (Goals Finding : F2) ขั้นที่ 3 : การค้นหาแนวทางการปฏิบัติ (Work Finding : F3) ขั้นที่ 4 : การค้นหาการบริหารจัดการคุณภาพ (Quality Finding : F4) ขั้นที่ 5 : การค้นหาความก้าวหน้าความสำเร็จ (Successful Finding : F5) 4) การวัดและประเมินผล และ 5) ปัจจัยที่เอื้อต่อการบริหารคุณภาพ โดยผลการสอบถามความคิดเห็น พบว่า 1) ความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.55, S.D. = 0.51) 2) ความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar= 4.52, S.D. = 0.51) และ 3) การใช้ประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar= 4.54, S.D. = 0.51) และผลการออกแบบและพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 มีความสมเหตุสมผลและความเป็นไปได้ต่อการนำปฏิบัติได้จริง และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านกำปงตาโก๊ะ) อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส พบว่า หลังจากการนำรูปแบบการบริหารสถานศึกษา ที่มีชื่อว่า “Five Finding Model” (ไฟว์ ฟายดิ้ง โมเดล : 5FM) ไปทดลองใช้แล้ว การเตรียมความพร้อมและการจัดการเรียนการสอนมีความถูกต้อง/ความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.54, S.D. = 0.51) และครูผู้สอนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (x-bar= 4.50, S.D. = 0.68) และผลการประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 ของผู้เรียน พบว่า นักเรียนปฏิบัติ/แสดงพฤติกรรมนั้นทุกครั้ง (x-bar= 2.52, S.D. = 0.50)
4. ผลการประเมินความพึงพอใจและการปรับปรุงแก้ไของค์ประกอบของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนเทศบาล ๔ (บ้านกำปงตาโก๊ะ) อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส พบว่า มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar= 4.54, S.D. = 0.51) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar= 4.52, S.D. = 0.51) และการนำไปใช้ได้จริงอยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar= 4.54, S.D. = 0.51) และมีข้อปรับปรุงเพียงเล็กน้อย
thayaya2522 13 มี.ค. 2567 เวลา 14:34 น. 0 65
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^