LASTEST NEWS

27 ก.ค. 2567ไม่ต้องผ่านภาค ก 65 อัตรา วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 16,830 บาท สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รับสมัครสอบบรรจุเป็นพนักงาน ตั้งแต่บัดนี้ - 9 สิงหาคม 2567 27 ก.ค. 2567โอกาสมาแล้ว!! น้องนิสิต นักศึกษาครู เชิญทางนี้ กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย (โครงการช้อนครู) 322 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 2 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567เมืองพัทยา เปิดสอบผู้ช่วยครูผู้ช่วย จำนวน 17 อัตรา รับสมัคร 1-9 สิงหาคม 2567  26 ก.ค. 2567สพป.นนทบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 15 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 11 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ปทุมธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567“ศธ.-มท.” เตรียมสุ่มตรวจยาเสพติดโรงเรียน 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2566 รอบที่ 7 จำนวน 1 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2567 รอบที่ 2 จำนวน 9 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี 2567 รอบที่ 2 จำนวน 8 อัตรา - รายงานตัว 7 สิงหาคม 2567

การเรียนรู้ภาษาจีน เรื่อง “ผังความคิด พิชิตกำแพงจีน”

usericon

เรื่อง         รายงานผลการใช้ชุดฝึกทักษะพัฒนาการเรียนรู้ภาษาจีน เรื่อง “ผังความคิด พิชิตกำแพงจีน” สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนเทศบาล 5 เด่นห้า เทศบาลนครเชียงราย จังหวัดเชียงราย
ผู้ศึกษา         พรเพิ่ม เลิศวิทยาวิวัฒน์
สังกัด         โรงเรียนเทศบาล 5 เด่นห้า สังกัดเทศบาลนครเชียงราย
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่พิมพ์                 2567

บทคัดย่อ

    การศึกษาผลการใช้ชุดฝึกทักษะพัฒนาการเรียนรู้ภาษาจีน เรื่อง “ผังความคิด พิชิตกำแพงจีน” ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะพัฒนาการเรียนรู้ภาษาจีน เรื่อง “ผังความคิด พิชิตกำแพงจีน” ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80 / 80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยชุดฝึกทักษะพัฒนาการเรียนรู้ภาษาจีน เรื่อง “ผังความคิด พิชิตกำแพงจีน” และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะพัฒนา การเรียนรู้ภาษาจีน เรื่อง “ผังความคิด พิชิตกำแพงจีน” ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 5 เด่นห้า ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนเทศบาล 5 เด่นห้า เทศบาลนครเชียงราย จังหวัดเชียงราย จำนวน 18 คน กลุ่มตัวอย่างใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4.1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนเทศบาล 5 เด่นห้า เทศบาลนครเชียงราย จังหวัดเชียงราย จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย ชุดฝึกทักษะพัฒนาการเรียนรู้ภาษาจีน เรื่อง “ผังความคิด พิชิตกำแพงจีน” จำนวน 6 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 6 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะพัฒนาการเรียนรู้ภาษาจีน เรื่อง “ผังความคิด พิชิต กำแพงจีน” จำนวน 10 ข้อ ผู้ศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูลนำมาวิเคราะห์ผล โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ โดยการหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้สถิติ t–test (Dependent - Samples) ผลการศึกษา พบว่า
    1. ประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะพัฒนาการเรียนรู้ภาษาจีน เรื่อง “ผังความคิด พิชิตกำแพงจีน” ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 5 เด่นห้า เทศบาลนครเชียงราย จังหวัดเชียงราย พบว่า มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 83.55/85.00 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80
     2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดฝึกทักษะพัฒนา การเรียนรู้ภาษาจีน เรื่อง “ผังความคิด พิชิตกำแพงจีน” ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 14.11 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 25.50 และแสดงว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
     3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะพัฒนาการเรียนรู้ภาษาจีน เรื่อง “ผังความคิด พิชิตกำแพงจีน” ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.71, S.D. = 0.46)
    โดยสรุปชุดฝึกทักษะพัฒนาการเรียนรู้ภาษาจีน เรื่อง “ผังความคิด พิชิตกำแพงจีน” ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามเกณฑ์ที่เชื่อถือและยอมรับได้ สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนศิลปะเพื่อให้นักเรียนบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ตามที่ตั้งไว้
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^