LASTEST NEWS

07 ธ.ค. 2567ปฏิทินการย้าย "ข้าราชการครู" สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านระบบ TRS (Teacher Rotation System) ประจำปี พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1 07 ธ.ค. 2567ว24/2567 แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินการย้าย การประมวลผลและการพิจารณาย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านระบบ TRS (Teacher Rotation System) 07 ธ.ค. 2567ศธ. ขอบคุณนายกฯ และ ครม. หลังเริ่มจัดสรรงบอาหารกลางวัน ม.1-3 โรงเรียนขยายโอกาส "พี่อิ่มท้อง น้องอิ่มใจ" 07 ธ.ค. 2567สพฐ. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “โครงการโรงเรียนสุจริต” ระดับประเทศ 07 ธ.ค. 2567โรงเรียนบ้านน้ำเที่ยงนาเรียง รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือนละ 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน) ตั้งแต่วันที่ 9 - 17 ธันวาคม 2567 ไม่เว้นวันหยุดราชการ 07 ธ.ค. 2567ยกเลิกประกาศแล้ว !!! โรงเรียนบ้านกุดแข้ ยกเลิกประกาศรับสมัครครูอัตราจ้าง เนื่องจากมีข้อผิดพลาดเรื่องจำนวนเงินเดือน เพื่อตรวจทานแก้ไขให้เรียบร้อยก่อนประกาศใหม่ 06 ธ.ค. 2567โรงเรียนเอราวัณวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 6 - 18 ธันวาคม 2567 06 ธ.ค. 2567โรงเรียนบ้านกุดแข้ รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 3,000.- บาท/เดือน สมัคร 9-19 ธันวาคม 2567 06 ธ.ค. 2567ศธ. - สพฐ. สรุปผลสอบกรณีครูเบญ พบดำเนินการถูกต้องตามระเบียบ เจ้าตัวยอมรับ-ไม่ติดใจผลคะแนน 06 ธ.ค. 2567วิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 4 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000 บาท ตั้งแต่ 16-20 ธันวาคม 2567

รายงานการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน

usericon

รายงานการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับผู้เรียนปฐมวัย โดยใช้การจัดกิจกรรมเกมการศึกษา
ผู้วิจัย
นางสาวนรินทร์ธร บุบผามะตะนัง
บทนำ
    ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาเด็กเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าในการพัฒนาประเทศดังนั้น จึงควรให้เด็กได้รับการพัฒนาอย่างครบถ้วนทั้งในด้านของการเลี้ยงดูการเอาใจใส่ความรัก ความอบอุ่น โดยเฉพาะในวัยของเด็กปฐมวัยเป็นวัยเริ่มต้นของชีวิตมนุษย์นับว่าเป็นวัยที่สำคัญที่สุดเพราะพัฒนา การทุกด้านเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วต่อเนื่องกันและเป็นพื้นฐานในการวางรากฐานของพัฒนาการทุกๆ ด้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งพัฒนาการด้านสติปัญญาจะสูงสุด นอกจานนี้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 ยังกำหนดไว้ว่าเด็กทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการอบรมเลี้ยงดู และส่งเสริมพัฒนา การตลอดจนการเรียนรู้ที่เหมาะสมเพื่อให้เด็กมีโอกาสพัฒนาตนเองตามลำดับขั้นของพัฒนาการทุก ด้านอย่างสมดุลและเต็มตามศักยภาพ ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยเน้น ความแตกต่างระหว่างบุคคล พัฒนาเด็กโดยองค์รวมผ่านการเล่นที่เหมาะสมกับวัย และจัด ประสบการณ์ให้เด็กสามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างไม่ประสิทธิภาพและมีความสุขจากการที่ได้ ไปสังเกตพฤติกรรมเด็กนั้นเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านทันดู่เหนือ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ซึ่งมีเด็กนักเรียน 14 คน พบว่า เด็กชั้นอนุบาล 2 มีทักษะทางคณิตศาสตร์ที่ยังไม่ดี เช่น ด้านการรู้ค่า และ การสังเกตเปรียบเทียบดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจที่จะส่งเสริมทักษะพื้นฐานทาง คณิตศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยโดยใช้เกมการศึกษาในการส่งเสริมทักษะพื้นฐาน ทางคณิตศาสตร์ ด้านการรู้ค่า และการสังเกตเปรียบเทียบ ที่กล่าวว่า การฝึกทักษะเบื้องต้นในด้าน การคำนวณ โดยสร้างเสริมประสบการณ์แก่เด็กปฐมวัยใน การเปรียบเทียบรูปทรงต่างๆ บอกความแตกต่าง ของขนาด น้ำหนัก ระยะเวลา จำนวนของสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเด็ก สามารถแยกหมวดหมู่ เรียงลำดับใหญ่เล็ก หรือสูง-ต่ำ เป็นต้น ซึ่งเกมการศึกษาเป็นกิจกรรมการสอนชนิดหนึ่งที่สนับ สนุนทฤษฎีการเรียนรู้ของเด็ก คือ จัดให้เด็กได้เรียนรู้จาการ เล่นสิ่งที่เป็นรูปธรรม เกมการศึกษา จึงเป็นกิจกรรมการเล่นที่ ช่วยฝึกทักษะและช่วยให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่ง ที่เรียน นอกจากนี้ยังช่วยฝึกการแก้ปัญหา การคิดหาเหตุผลการสังเกตเปรียบเทียบ การจัดหมวดหมู่ อันเป็นทักษะพื้นฐาน ทางคณิตศาสตร์ด้วย ที่กล่าวว่า กิจกรรมเกมการศึกษาช่วยฝึกการสังเกต และคิดหาเหตุผล ฝึกการแยกประเภทและการจัดหมวดหมู่ ฝึกการจัดลำดับ ฝึกการพร้อม ในการเรียนสัญลักษณ์ทางภาษาและคณิตศาสตร์เป็นการทบทวน เนื้อหาที่เรียน และฝึกความ รับผิดชอบจึงสรุปได้ว่า เกมการศึกษาเป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมให้เด็ก เกิดการเรียนรู้ พัฒนา ได้หลายๆด้านรวมทั้งช่วยพัฒนาและเป็นการ ฝึกทักษะในด้านต่างๆ โดยเฉพาะทักษะพื้นฐาน ทางคณิตศาสตร์ซึ่ง เป็นองค์ประกอบและรากฐานสำคัญของกระบวนการพัฒนาทาง ด้านสติปัญญา วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้เกมการ ศึกษาขอบเขตการวิจัย

ขอบเขตด้านประชากร/กลุ่มตัวอย่าง     
            ประชากรในการวิจัย คือนักเรียน อายุ 4-5 ปี จำนวน 14 คน ซึ่งกำลังศึกษา ชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่ 2/2564 โรงเรียนบ้านทันดู่เหนือ ตำบลหนองเหล็ก อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
            กลุ่มตัวอย่าง นักเรียน อายุ 4-5 ปี จำนวน 14 คน ซึ่ง กำลังศึกษาชั้นอนุบาล 2 การได้มาของ ตัวอย่างด้วยวิธีเลือกแบบเจาะจง

ตัวแปรในการวิจัย
            ตัวแปรต้น เกมการศึกษา
            ตัวแปรตาม ความสามารถด้านทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
ด้านเนื้อหาการวิจัยนี้
            ดำเนินการในหน่วยเรียนรู้ปลอดภัยไว้ก่อน สาระการเรียนรู้ เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก หน่วยการเรียนรู้ ตาวิเศษ สาระการ เรียนรู้ เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็กใช้เวลาในการจัดกิจกรรมตาม แผนการเรียนรู้ 2 สัปดาห์

นิยามศัพท์เฉพาะ
1.เด็กปฐมวัย หมายถึง นักเรียนชาย-หญิง ที่มีอายุ ระหว่าง 4-5 ปี จำนวน 14 คน ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านทันดู่เหนือ ตำบลหนองเหล็ก อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
             2.ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ หมายถึง ความสามารถ ของเด็กปฐมวัย ในการ สังเกต เปรียบเทียบ และการรู้ค่าจำนวน โดยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 2 ด้านคือ
การสังเกตเปรียบเทียบ คือ ความสามารถในการสังเกตเปรียบเทียบ ลักษณะรูปร่าง สี ขนาด จำนวน โดยอาศัยการสังเกตจากบัตรภาพ เช่น เกมจับคู่ ภาพเหมือน เกมเรียงขนาดเกมจับคู่ภาพสิ่งที่ สัมพันธ์กัน เกม โดมิโน ว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร การรู้ค่าจำนวน คือ ความสามารถ ในการรู้จํานวนตัวเลขและค่าของจํานวนจากภาพ ที่นับได้ เช่น เกมภาพกับสัญลักษณ์ตัวเลข เกมจับคู่ภาพกับตัวเลข การนับเพิ่มด้วยภาพเกมตารางสัมพันธ์
         3.เกมการศึกษา หมายถึง การจัดประสบการณ์ เด็กได้เล่นเกม โดยเล่นได้เป็นราย บุคคล ซึ่งมีกติกาและวิธีการเล่น เพื่อพัฒนาทักษะการสังเกตเปรียบเทียบ การรู้ค่าจํานวนโดยใช้ เกมการศึกษา 2 เกม คือ เกมจับคู่ภาพเหมือน เกมเรียงขนาด
                -เกมจับคู่ภาพเหมือน คือ      เด็กมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับ การสังเกตเปรียบเทียบลักษณะรูปร่าง สี และขนาด สามารถนำภาพที่เหมือนกันมาจับคู่กัน ได้อย่างถูกต้อง
                -เกมจับคู่ภาพกับตัวเลข คือเด็กมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับการรู้ค่า จำนวน และสามารถเชื่อมโยงจำนวนกับภาพที่เท่ากันได้ กรอบแนวคิดในการวิจัย แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
ในการวิจัยเรื่องการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยโดยใช้เกมการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและได้นำเสนอตามหัวข้อต่อไปนี้     

1. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
         1.1 ความหมายของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
        1.2 ความสำคัญของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
        1.3 จุดมุ่งหมายในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
         1.4 ทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาที่เกี่ยวข้องกับทักษะ พื้นฐานทางคณิตศาสตร์
         1.5 แนวทางในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
         1.6 งานวิจัยที่เกี่ยวกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
2. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเกมการศึกษา
         2.1 ความหมายของเกมการศึกษา
            2.2 ประเภทของเกมการศึกษา
            2.3 จุดประสงค์ของการจัดเกมการศึกษา          
            2.4 หลักในการใช้เกมการศึกษา
         2.5 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเกมการศึกษา

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์     
        ความหมายของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์                                 นักการศึกษาได้กล่าวถึงความหมายของทักษะพื้นฐานทาง คณิตศาสตร์ ไว้ดังนี้ ครอฟต์และเฮสส์ (Croft and Hess.1984 ; อ้างในนิตยาประพฤติกิจ.2541:2) กล่าวพอสรุป ได้ว่าเด็กๆสามารถเรียนรู้ความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์จากกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวันและ ความคิดรวบยอดทั้งคณิตศาสตร์นั้นสามารถจัดสอดแทรกหรือบูรณาการเข้ากับวิชาอื่นๆที่บรรจุอยู่ในหลักสูตรปฐมวัยศึกษาการเรียนเกี่ยวกับตัวเลขรูปทรงขนาดลำดับการจัดหมู่และความสัมพันธ์ต่างๆถือว่าเป็นประสบการณ์ประจำวันของเด็กที่ช่วยสอนเด็กตามธรรมชาติอยู่แล้วดังนั้นการปลูกฝังให้เด็กมี ความเข้าใจเกี่ยวกับความคิดรวบยอดและทักษะทางคณิตศาสตร์เบื้องต้นจึงเป็นการปูพื้นฐานไปสู่ ความเข้าใจด้านคณิตศาสตร์ต่อไป ในอนาคต
        ขวัญนุช บุญยู่ฮง (2546:7) กล่าวว่าทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์คือความรู้พื้นฐานเบื้อง ต้นที่จะนำไปสู่การเรียนคณิตศาสตร์ ซึ่งเด็กควรจะได้รับ ประสบการณ์เกี่ยวกับการสังเกต การ จำแนก การเปรียบเทียบ การเรียงลำดับ การบอกตำแหน่ง การนับ และการวัด เพื่อเป็นพื้นฐานก่อนที่ จะเรียนคณิตศาสตร์ในชั้นประถมศึกษา สรุปได้ว่า ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ หมายถึง ความรู้พื้น ฐานของเด็กที่ได้รับประสบการณ์และกิจกรรมในเรื่องการสังเกตเปรียบเทียบการจำแนกการจัดหมวดหมู่ การรู้ค่าจำนวนเพื่อเป็นการ เตรียมความพร้อมที่จะเรียนคณิตศาสตร์ในระดับต่อไปในอนาคต

ความสำคัญของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์                          ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เป็นพื้นฐานที่ช่วยให้เด็กรู้จักแก้ปัญหามีความสามารถในการคิดคำนวณและอื่นๆ ดังมีผู้กล่าวถึงความสำคัญของทักษะพื้น ฐานทางคณิตศาสตร์ ไว้ดังนี้ ขวัญนุช บุญยู่ฮง (2546:8) ให้ความสำคัญของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ว่าเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้วิชาแขนงต่างๆและเกี่ยวกับ ชีวิตประจำวันทำให้ผู้เรียนเป็นคนมีเหตุผลละเอียดรอบคอบสำหรับเด็กปฐมวัยทักษะทางคณิตศาสตร์ที่ดีจะ ช่วยให้เด็กมีความพร้อมที่จะเรียนคณิตศาสตร์ช่วยขยายประสบการณ์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ช่วยฝึกทักษะเบื้องต้นในการคิดคำนวณฝึกการเปรียบเทียบแยกของเป็นหมวดหมู่เรียงลำดับและทำให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์จงรักอ่วมมีเพียร(2547:19)ได้กล่าวถึงความสำคัญของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ไว้ว่าคณิตศาสตร์มี ความสำคัญต่อการดำรงชีวิตเพราะในการดำรงชีวิตตลอดจนการศึกษาและกาเรียนรู้ต้องอาศัยทักษะการสัง เกตการเปรียบเทียบการจัดหมวดหมู่การเรียงลำดับการแก้ปัญหาการคิดคำนวณการคิดอย่างมีเหตุมีผลเพื่อ ปลูกฝังทัศนคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์เมื่อเติบโตขึ้นจากความสำคัญของทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สรุปได้ ว่าคณิตศาสตร์มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตและการเรียนรู้ต้องอาศัยทักษะการสังเกตเปรียบเทียบการรู้ค่าจำ นวนการจัดหมวดหมู่การแก้ไขปัญหาการคิดอย่างมีเหตุผลเพื่อปลูกฝังทัศนคติที่ดีต่อวิชาคณิตศาสตร์เมื่อเติบโต ขึ้นจุดมุ่งหมายในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ นิตยา ประพฤติกิจ (2541 : 3-4 ) ได้กล่าว จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยควรมีดังนี้คือเพื่อพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยว กับคณิตศาสตร์ เช่น การบวกหรือการเพิ่มการลดหรือการลบเพื่อให้เด็กรู้จักและใช่กระบวนการในการหา คำตอบเช่นการชั่งเพื่อพิสูจน์ความหนักเบาเพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์เช่นรู้จักและ เข้าใจคำศัพท์และสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ขั้นต้นเพื่อให้เด็กฝึกฝนทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐาน เช่น การนับ การวัด การจับคู่ การจัดประเภทการเปรียบเทียบการจัดลำดับเป็นต้น เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบ ด้วยตนเองเพื่อส่งเสริมให้เด็กมีความรู้และอยากค้นคว้าทดลอง วาโร เพ็งสวัสดิ์ (2542: 71-72) ได้กล่าว ถึงจุดมุ่งหมายในการสอนคณิตศาสตร์ สำหรับเด็กไว้ดังนี้
    1.ให้โอกาสได้จัดการกระทำและสำรวจวัสดุในขณะมีประสบการณ์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์    2.ให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เกี่ยวกับโลกทางด้านกายภาพก่อนเข้าไปสู่โลกของการคิดด้านนามธรรม ให้มีการพัฒนาทักษะด้านคณิตศาสตร์เบื้องต้นอันได้แก่ การจัดหมวดหมู่ การเปรียบเทียบ การเรียงลำดับ การจัดการทำกราฟการนับการจัดการด้านจำนวนการสังเกตและการเพิ่มขึ้นการลดลงการขยายประสบการณ์เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ให้สอดคล้องจากง่ายไปหายากฝึกทักษะเบื้องต้นในการคิดคำนวณจากจุดมุ่งหมายในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ข้างต้นสรุปได้ว่าการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เป็นการเตรียมเด็กให้พร้อมที่จะเรียนรู้และทำกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ที่เหมาะสมกับวัยเช่นการเล่นเกมทางคณิตศาสตร์ด้วยความสามารถและสนุกสนานมีทักษะพื้นฐานในการสังเกตเปรียบเทียบการจัดหมวดหมู่การเรียงลำดับการรู้ค่าจำนวนและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ทฤษฎีและแนวคิดพัฒนาการด้านสติปัญญาที่เกี่ยวข้องกับทักษะพื้น ฐานทางคณิตศาสตร์

ทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาที่เกี่ยวข้องกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ มีดังนี้
        ทฤษฎีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเพียเจท์ (Piaget) ทฤษฎีของเพียเจท์ (Piaget.1969:9296;อ้างในวรรณีวัจนสวัสดิ์.2552:11) เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยการพัฒนาทางด้านสติปัญญาของ เด็กตั้งแต่แรกเกิด จนกระทั่งถึงวัยที่มีพัฒนาการทางสติปัญญาอย่างสมบูรณ์ เพียเจท์สนใจเกี่ยวกับวิธีการคิด และกระบวน การคิดของเด็กมากกว่าผลของการตอบสนองจากความคิดเด็กจะเรียนรู้ สิ่งต่างๆ รอบตัวโดยอาศัยกระบวน การทำงานที่สำคัญของโครงสร้าง (Assismilation) คือ กระบวนการที่นำเอาข้อความที่ได้รับจาก สิ่งแวด ล้อมมาปรับให้เข้ากับความรู้เดิมที่มียุตามระดับสติปัญญา ของบุคคลที่สามารถรับรู้ต่อสิ่งนั้นๆ ได้และ กระบวนการปรับขยาย โครงสร้าง (Acommodation) คือกระบวนการที่บุคคลรับข้อมูล เข้าไปกระบวนการ ทั้งสองนี้จะทำงานร่วมกันตลอดเวลา เพื่อช่วย รักษาความสมดุล (Equilibrium) ตามทฤษฎีของเพียเจท์ แบ่ง พัฒนาการทางสติปัญญาเป็น 4 ขั้น ดังนี้
        ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensorimotor Stage) อายุระหว่างตั้งแต่แรกเกิด จนถึง 2 ปี เด็กจะเรียนรู้สิ่งต่างๆที่เป็นลักษณะธรรมชาติ เช่น วัตถุสิ่งของเป็นต้นเด็กในวัยนี้จะมีปฏิกิริยา สะท้อนต่อ สภาพแวดล้อมรอบๆ ตัวเช่นการพูดการกลืนการร้องไห้เป็นต้นภาษาที่ใช้เป็นการพูดคำและ พูดประโยคสั้นๆ เด็กในขั้นนี้รับรู้เฉพาะสิ่งที่เป็นรูปธรรมเท่านั้นและเป็นขั้นที่เด็กเรียนรู้จากการใช้ประสาท สัมผัสต่างๆ เช่น การชิม การฟัง การ มอง การดม และการสัมผัส
        ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Pre-Operrational Stage) อยู่ ระหว่างอายุ 2-7 ปี จะเกิดพัฒนาการ ทางภาษา และพัฒนาการทางความคิด เป็นขั้นที่เด็กเรียนรู้ภาษาพูดเข้าใจท่าทางที่ใช้สื่อสารความหมายการ เรียนรู้สิ่งต่างๆได้ดีขึ้น แต่ต้องอาศัยการรับรู้เป็น ส่วนใหญ่ในขั้นนี้เด็กจะเริ่มใช้สัญลักษณ์แทนสิ่งของ     
        ขั้นปฏิบัติการคิดแบบรูปธรรม (Concrete Operation Stage) อยู่ในช่วงอายุ 7-11 ปี พัฒนาการ ด้านความ คิดจะมีเหตุ ผลกับสิ่งที่แลเห็นในลักษณะที่เป็นปัญหาแบบรูปธรรม เช่น การ แบ่งกลุ่ม แบ่งพวก ภาษา ที่ใช้จะเป็นไปตามสังคม มีการโต้ตอบ และสามารถแก้ไขปัญหาต่างได้
        ขั้นปฏิบัติการคิดแบบนามธรรม (Formal Operations) อายุระหว่าง 11–16 ปี เป็นช่วง ที่เด็กรู้ จักคิดหาเหตุผลและเรียนรู้เกี่ยวกับนามธรรมได้ดีขึ้นสามารถตั้งสมมติฐานและแก้ปัญหาได้เป็นระยะ ที่โครงสร้างทางสติปัญญาของเด็กมีวุฒิภาวะสูงสุด เด็กวัย นี้มีความสามารถเท่าผู้ใหญ่แต่จะแตกต่างในด้าน คุณภาพ เนื่องจากประสบการณ์ที่แตกต่างกัน

        ทฤษฎีปพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของบรูเนอร์
        (Bruner) บรูเนอร์ (Bruner. 1966: 46-48 ; อ้างในวรรณี วัจนสวัสดิ์. 2552 : 12) กล่าวถึงทฤษฎี พัฒนาการของคนทางความรู้ความคิด ซึ่งมีส่วนคล้ายกันกับทฤษฎีของเพียเจท์อยู่มากเขา เชื่อว่าการเรียนรู้ ของเด็ก เกิดจากกระบวนการทำงานภายในอิทรีย์ (Organism) บรูเนอร์เน้นความสำคัญ ของสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมว่าส่งผลต่อความงอกงามทางสติปัญญาของเด็กบรูเนอร์แบ่งพัฒนาการทาง สติปัญญา และการคิดออกเป็น 3 ขั้น ดังนี้

        2.1 ขั้นประสบการณ์ตรงกับสัมผัส (Enactive Stage) เปรียบได้ กับขั้น Sensorimotor Stage ของเพียเจท์เป็นขั้นที่เด็กเรียนรู้ด้วยการกระทำมากที่สุด และเข้าใจสิ่งแวดล้อมจากการกระทำใน ขั้นนี้ยัง ไม่มีการวาดภาพในสมอง (Imegery) มีลักษณะพัฒนาการด้านทักษะ
        2.2 ขั้นการใช้ภาพเป็นสื่อในการมองเห็น (Iconic Stage) เปรียบเทียบได้กับขั้น Pre - Operational Stage ของเพียเจท์ ในวัยนี้เด็กจะเกี่ยวข้องกับความจริง มากขึ้นและเกิดความคิดจาการ รับรู้เป็นส่วนใหญ่ อาจมีจิตนาการ บ้างแต่ก็ไม่สามารถคิดได้ลึกซึ้ง
        2.3ขั้นการสร้างความสัมพันธ์และสัญลักษณ์ (Symbolic Stejge) เป็นขั้นพัฒนาการสูงสุด ของ บรูเนอร์ เปรียบได้กับขั้น Concrete Operational Stage และ Formal Operational Stage ของเพียเจท์ ขั้นนี้เด็กสามารถคิดได้อย่างอิสระ โดยแสดงออกทางภาษาและการใช้ภาษาเป็นเครื่องมือ ที่ใช้ในการคิดก่อนทำ มีการเรียนรู้และใช้ภาษามีเหตุผลและเรียนคณิตศาสตร์ได้มีความเข้าใจสัญลักษณ์ทำ ให้เข้าใจสิ่งต่างๆได้กว้างขวางขึ้น
        จากการศึกษาทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์ (Piaget) และบรูเนอร์ (Bruner) สรุปได้ว่า เด็กปฐมวัยสามารถเข้า ใจคณิตศาสตร์ได้ ถ้าหากกิจกกรมที่ครูจัดมีความเหมาะสมกับ ระดับความสามรถของเด็ก เด็กในขั้นก่อนปฏิบัติการซึ่งเป็นช่วงวัย ของเด็กปฐมวัย จะมีลักษณะเด่นคือ ยึดตนเองเป็นสำคัญ เด็กในวัน นี้โดยทั่วไปไม่สามารถเข้าใจสถานการณ์หรือภาพที่มากกว่าหนึ่ง มิติได้ เช่นจะเข้าใจในเรื่องความกว้างหรือความยาว แต่ถ้ามีความ ลึกด้วยเด็กจะไม่ค่อยเข้าใจ แต่อย่างไรก็ตามเด็กสามารถแยกสีได้ หลังจากจำแนกรูปทรงได้แล้วต่อจากนั้นจะมีความเข้าใจได้อย่าง รวดเร็ว

แนวทางในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
        ได้มีนักการศึกษากล่าวถึงแนวทางในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับ เด็กปฐมวัย ไว้ดังนี้ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2527 : 244) เสนอแนวทางในการส่งเสริมการจัด ประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย ว่าควรมีขั้นตอน ดังนี้ เด็กจะเรียนรู้จากประสบการณ์ ตรงจากของจริง จะต้องใช้ สื่อการสอนที่เป็นของจริงมากที่สุด และเริ่มสอนจากรูปธรรมไปหานามธรรม การจัดกิจกรรมและอุปกรณ์ในการสอนคณิตศาสตร์ควร แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ การใช้อุปกรณ์ ประสบการณ์จากของจริง (Real Experiences) การใช้วัสดุ ที่ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติ (Manipulative Materials) การใช้กึ่งรูปภาพ (Pictorials Materials) การใช้สัญลักษณ์ (Symbolic Materials) เริ่มจากสิ่งที่ง่ายๆใกล้ตัวเด็กจากง่ายไปหายาก สร้างความเข้าใจและรู้ความหมายมากว่าความจำ โดยให้ เด็กค้นคว้าด้วยตนเองฝึกหัดการตัดสินใจด้วยตนเองโดยการถามคำถามให้เด็กคิดหาเหตุผลมาตัดสินใจ ในการตอบ ฝึกให้คิดจากปัญหาในชีวิตประจำวันของเด็ก เพื่อขยายประสบการณ์ให้สัมพันธ์กับประสบ การเดิม

จัดกิจกรรมให้เกิดความสนุกสนานและได้รับความรู้ไปด้วย ดังนี้
            การเล่นเกมต่อภาพ จับคู่ภาพ ต่อตัวเลข การเล่นต่อบล็อก ซึ่งมีรูปร่างและขนาดต่างกัน การเล่นในมุมบ้าน เล่นขายของการแบ่งสิ่งของเครื่องใช้ แลกเปลี่ยนสิ่งของกันการท่องคำ คล้องจองเกี่ยวกับจำนวน การร้องเพลงเกี่ยวกับการนับการเล่นทายปัญหาและตอบ ปัญหาเชาว์ เด็กปฐมวัยควรเรียนรู้ว่าสิ่งต่างๆย่อมมีความเหมือนและ แตกต่างกันในเรื่อง สี ขนาด รูปร่างและ จำนวน เด็กปฐมวัยควรจะเข้าใจว่าสิ่งที่มีขนาดใหญ่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่มีขนาดเล็กเด็กปฐมวัยควร จะได้ทราบเกี่ยวกับเรื่องความแตกต่างระ หว่างยาวกับสั้น สูงกับเตี้ย ใกล้กับ ไกล
             บุญเยี่ยม จิตรดอน (2532 : 243 – 244 ; อ้างใน วรรณี วัจนส วัสดิ์.2552 : 15) ได้กล่าวถึงแนวทางการจัดกิจกรรม เพื่อส่งเสริม ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยดังนี้
เล่นเกมต่อภาพ จับคู่ภาพ ต่อตัวเลข
เล่นต่อบล็อก ซึ่งมีรูปร่างและขนาดต่างกัน
การเล่นในมุมบ้าน เล่นขายของ
แบ่งสิ่งของเครื่องใช้ แลกเปลี่ยนสิ่งของกัน
ท่องคำคล้องจองเกี่ยวกับจำนวน
ร้องเพลงเกี่ยวกับการนับ
เล่นทายปัญหาและตอบปัญหาเชาว์
การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ จากแนวทางในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สรุปว่า แนวทางในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ต้อง ให้เด็กได้เรียนจากประสบการณ์ตรง ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ที่เป็นของ จริงให้มากที่สุด สอนจากรูปธรรมไปหานามธรรม ให้เด็กเรียนรู้จาก สิ่งที่ง่ายไปยาก ซึ่งในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สามารถสอดแทรกอยู่ในหลายๆ กิจกรรม ได้แก่ การเล่นบล็อก การเล่นน้ำเล่นทราย การเล่นมุมต่างๆ กิจกรรมเคลื่อนไหวและ จังหวะ การท่องคำคล้องจอง การร้องเพลง การเล่นทายปัญหา การ เล่นเกมคอมพิวเตอร์ กิจกรรมศิลปะ และเกมฝึกทักษะต่างๆ ซึ่งผู้ วิจัยสนใจที่จะนำเกมฝึกทักษะโดยเฉพาะเกมการศึกษา มาใช้ใน การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ซึ่งประ กอบด้วย เกมภาพตัดต่อ เกมโดมิโนจำนวนเกมจับคู่ภาพเหมือนเกมจัดหมวดหมู่เกมเรียงขนาดเกมจัดหมวดหมู่ภาพที่มีจำนวน เท่ากัน เกมจัดหมวดหมู่ภาพกับสัญลักษณ์ และเกมเรียงลำดับเหตุการณ์

งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ งานวิจัยในประเทศ
        ปณิชา มโนสิทธยากร (2553 : บทคัดย่อ) ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังการจัด กิจกรรมการเล่นเกมการศึกษา เน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต มีสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ ระดับ .01 และมีการเปลี่ยนแปลงความสามารถดังกล่าวจากระดับปานกลางเป็นระดับดีทั้งโดย รวมและรายด้าน
        สายพิณ ใจยวน (2549 : บทคัดย่อ) ได้ศึกษาการพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้วิธีการสอนแบบเล่นเรียน-สรุป-ฝึกทักษะ ผลการศึกษาพบว่านักเรียนมี ความพร้อมทาง คณิตศาสตร์เรื่อง การรู้ค่าและตัวเลข 1-10 ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ร้อยละ 70.00 โดยมีคะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 88.64 พฤติกรรมของนัก เรียนพบว่านักเรียนมี ความสนใจ และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม การเรียนการสอนสามารถใช้การสังเกต และแก้ปัญหาที่ เกิดขึ้นได้ มีการแบ่งปันช่วยเหลือผู้อื่น มีความสนุกสนาน เพลิด เพลิน สามารถเก็บวัสดุอุปกรณ์หลังเลิกเล่นส่งครูได้อย่างถูกต้องและเป็น ระเบียบเรียบร้อย

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเกมการศึกษา     
        ความหมายของเกมการศึกษา
        เกมการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยนับเป็นกิจกรรมการเล่นตาม แนวทฤษฎีการเล่นเชิงรู้คิด
(The Cognition Theory of Play) ตามหลักของเพียเจต์ (Piaget) การเล่นเป็น ส่วนสำคัญ ของพัฒนาการทางสติปัญญา เพราะการเล่นเป็นการกระทำที่ถือว่าเป็นการแสดงของผลรวม ในพฤติกรรม ทั้งหมดที่เด็กกระทำและแสดงออกมา ซึ่งตัวเด็กได้คิดแล้วกระทำ ด้วยความพึงพอใจ
        โคลัมบัส (Kolumbus. 1979: 141–149 ; อ้างใน เยาวพา เดชะ คุปต์. 2542: 51) ได้ให้ความ หมายของเกมการศึกษา (Didactic Game) คือเกมที่พัฒนาการคิด ของเด็กซึ่งจะต้องคิดและหาเหตุผล ครูสามารถบอกได้ว่าเด็กมีความเข้าใจในความคิดรวบยอดเรื่อง นั้นๆอย่างไร สำนักงาน คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2541: 145) ได้กล่าว ถึงเกมการศึกษา
            (Didactic Game) ว่า เป็นของเล่นที่ช่วยผู้เล่นให้เป็นผู้ที่มีการสังเก ตดี ช่วยให้มองเห็น ได้ฟังหรือคิด อย่างรวดเร็ว ซึ่งเกมการศึกษาจะต่างจากเกมเล่นอย่างอื่น แต่ละชุด จะมีวิธีเล่นโดยเฉพาะ อาจเล่นคนเดียวหรือเล่นเป็นกลุ่ม ผู้เล่นสามารถตรวจสอบการเล่นว่าถูก ต้องหรือไม่
         จากความหมายข้างต้นสรุปได้ว่า เกมการศึกษา คือ เกมหรือ กิจกรรมที่จัดให้กับเด็กวัย 3-4 ปี ซึ่งช่วยส่งเสริมสติปัญญาในกา รสังเกต คิดหาเหตุผล การแก้ปัญหาและพัฒนาความคิดรวบยอด เกี่ยวกับสิ่งที่เรียน เกมแต่ละเกมสามารถเล่นได้ทั้งคนเดียวหรือเล่น เป็นกลุ่มโดยมีวิธีการเล่น และการตรวจสอบความถูกต้องได้ ประเภทของเกมการศึกษาได้มีนักการศึกษาหลายท่าน ได้แบ่งเกมการศึกษาออกเป็น ชนิดต่างๆดังนี้
             โคลัมบัส (Kolumbus. 1979: 141–149 ; อ้างใน เยาวพา เดชะ คุปต์. 2542: 51–56) ได้แบ่งเกมการศึกษาออกเป็น เกมการแยกประเภท (Classification) เกมฝึกแยกประเภท หมายถึง การแยกกลุ่ม จัดกลุ่ม จับคู่ ซึ่งสามารถฝึกทักษะได้หลา ยอย่าง โดยแยกเป็นของที่เหมือนกัน และต่างกัน ของที่มีลักษณะ กลม สี่เหลี่ยม หรือแยกตามสี รูปทรง ขนาด ซึ่งแบ่งออกเป็น
                เกมลอตโต (Lotto) เป็นเกมที่เล่นง่ายๆ โดยเด็กจะมี รูปภาพเล็กๆ อยู่ชุดหนึ่งซึ่งจะนำมาจับคู่กับรูปในกระดาษโดยรูปที่ เด็กเลือกออกมาเขาจะต้องหารูปที่ เหมือนกันวางลงให้ได้ ถ้ารูปนั้นไม่มีคู่เขาก็จะวางบัตรนั้นลงแล้วหาภาพใหม่
                เกมโดมิโน (Domino) เป็นเกมที่ในแต่ละด้านจะมีภาพ จำนวน ตัวเลข จุด ให้เด็กเลือกภาพที่มีสี รูป หรือขนาดต่อในแต่ ละด้านไปเรื่อยๆ
                เกมตารางสัมพันธ์ (Matrix) เกมนี้จะประกอบด้วยตาราง ซึ่งแบ่งเป็น ช่องมีขนาดเท่ากัน 16 ช่อง และมีบัตรเล็กๆ ขนาดเท่ากับ ตารางแต่ละช่อง เพื่อเล่นเข้าชุดกัน โดยจะมีบัตรที่กำหนดไว้เป็นตัว นำวางไว้ข้างบนของแต่ละช่อง และด้านข้างของแต่ละช่อง โดยการเล่นอาจจะจับคู่ภาพที่อยู่ข้างบนกับภาพที่เด็กวางลงให้ตรงกัน หรืออาจจะจับคู่ภาพที่มีส่วน ประกอบของภาพที่อยู่ข้างบนกับภาพที่ อยู่ด้านข้างก็ได้ เช่น ครูอาจจะวางบัตรสามเหลี่ยมไว้ข้างบน วาง บัตร สีแดงไว้ด้านข้าง แล้วให้เด็กหาบัตรภาพที่มีสีแดงและเป็นรูป สามเหลี่ยมมาวางให้ตรง
                เกมฝึกทำตามแบบ (Patterning) ในเกมชนิดนี้ เด็กจะต้อง สร้างหรือ วาดหรือลากตามแบบตามลำดับ ซึ่งเด็กจะใช้ลูกปัดหรือ บล็อกที่มีสีหรือขนาดต่างๆ กัน มาวางไว้ตามลำดับตัวอย่างเช่น ถ้าตัวอย่างมี 3 สี เช่น ดำ ขาว แดงเด็กก็จะจัดสิ่งของตามลำดับ เรื่อยไป ซึ่งเด็กจะต้องตัดสินใจว่าจะเลือกอะไรก่อน หลังเพื่อทำตามแบบ
                เกมฝึกลำดับหรืออนุกรม (Sequence. Seriation) ในเกมดัง กล่าวจะฝึกความจำของเด็กโดยครูจะเล่าเหตุการณ์หรือลำดับของ เรื่องราวหรือนิทานแล้วให้ เด็กวางสิ่งต่างๆ หรือภาพตามลำดับใน เรื่อง
            จันทรวรรณ เทวรักษ์ (2546: 36) ได้แบ่งเกมการศึกษาออกเป็นชนิดต่างๆ ดังนี้
                เกมจับคู่ภาพเหมือน เด็กฝึกสังเกตภาพที่เหมือนกัน นำภาพ ที่เหมือน กันมาเรียงเข้าคู่กัน
                โดมิโน เป็นเกมที่มีขนาดเล็กเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า แบ่งครึ่งออกเป็นส่วน ในแต่ละด้านจะมีภาพ จำนวน ตัวเลข จุด ให้เด็กเลือกภาพที่มีสี รูป หรือขนาดต่อกัน ในแต่ละด้านไปเรื่อยๆ
                ภาพตัดต่อ เป็นการแยกชิ้นส่วนของภาพออกเป็นชิ้นๆ แล้วให้เด็กนำต่อ กันให้เป็นภาพที่สมบูรณ์ ภาพตัดต่อควรมีจำนวนชิ้นที่ จะให้เหมาะสมกับวัยเด็กเล็กควรมี จำนวนชิ้นไม่กี่ชิ้นประมาณ 5–6 ชิ้น เมื่อเด็กโตขึ้นก็มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
                ภาพสัมพันธ์ เป็นการนำภาพที่เป็นประเภทเดียวกันหรือมีความสัมพันธ์กัน มาจับคู่กัน จะช่วยฝึกให้เด็กรู้จักคิดหาเหตุผล และจัดประเภทได้ถูกต้อง
                ลอตโต เป็นเกมที่มี 2 ส่วน ให้เด็กศึกษารายละเอียดของภาพ ภาพใหญ่จะ ต้องเป็นสิ่ง ที่ให้เด็กรู้จักรายละเอียดต่างๆ ส่วน ภาพเล็กเป็นภาพปลีกย่อยของ ภาพใหญ่ที่ ต้องการให้เด็กเรียนรู้ โดยให้เด็กศึกษาภาพใหญ่ว่าเป็นเรื่องอะไร มีคุณสมบัติอย่างไร ให้เด็กหยิบ ภาพเล็กที่เตรียมมาวางให้สมบูรณ์ ภาพต่อเนื่องหรือการเรียงลำดับภาพ เป็นการเรียงลำดับ ภาพตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์แรกไปจนถึงเหตุการณ์ สุดท้ายพื้นฐานการบวก เป็นเกมที่ผู้เล่นได้มีโอกาสฝึกการบวกโดย ยึดแผ่นหลักเป็นเกณฑ์ผู้เล่นต้องหาชิ้นส่วนเล็ก 2 ชิ้น เมื่อรวมกัน แล้วได้ผลลัพธ์เท่ากับจำนวนภาพในแผ่นหลัก
                ตารางสัมพันธ์ ประกอบด้วยช่องขนาดเท่ากัน 16 ช่อง และมีบัตรเล็กๆ ขนาดเท่ากับช่องตาราง เพื่อเล่นเข้าชุดกันโดยมี บัตรที่กำหนดไว้เป็นตัวนำไว้ข้างบนแต่ละช่อง โดยการเล่นอาจจับคู่ ภาพที่มีส่วนประกอบของภาพที่อยู่ข้างบนกับภาพที่อยู่ด้านข้างก็ได้                 สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (2541: 145–153) ได้จำแนกประเภท ของเกมเป็นชนิดต่างๆ ดังนี้
                เกมจับคู่ เกมชนิดนี้เป็นเกมฝึกการสังเกต การเปรียบเทียบ การคิดหาเหตุผล เกมจับคู่เป็นการจัดของเป็นคู่ๆชุดละตั้งแต่ 5 คู่ขึ้น ไป อาจจะเป็นการจับคู่ภาพหรือวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ก็ได้เกมประเภท นี้สามารถจัดได้หลายชนิดได้แก่
                    การจับคู่สิ่งที่เหมือนกัน
                    จับคู่ภาพหรือสิ่งของที่เหมือนกันทุกประการ
                    จับคู่ภาพกับเงาของสิ่งเดียวกัน
                    จับคู่ภาพกับโครงร่างของสิ่งเดียวกัน
                    จับคู่ภาพที่ซ่อนอยู่ในบัตรหลัก
                    การจับคู่สิ่งที่เป็นประเภทเดียวกัน เช่น ไม้ขีด–ไฟแช็ค, เทียน–ไฟฟ้า
                    การจับคู่สิ่งที่มีความสัมพันธ์กัน เช่น สิ่งที่ใช้คู่กัน สัตว์แม่– ลูก สัตว์กับอาหาร
                    การจับคู่สิ่งที่มีความสำคัญแบบตรงกันข้าม คนอ้วน– คนผอม
                    การจับคู่ภาพส่วนเต็มกับส่วนย่อย
                    การจับคู่ภาพเต็มกับภาพชิ้นส่วนที่หายไป
                    การจับคู่ภาพที่ซ้อนกัน
                    การจับคู่ภาพที่เป็นส่วนตัดกับภาพใหญ่
                    การจับคู่สิ่งที่เหมือนกันแต่สีต่างกัน
                    การจับคู่ภาพที่มีเสียงสระเหมือนกัน เช่น กา–นา, งู–ปู
                    การจับคู่ภาพที่มีเสียงพยัญชนะต้นเหมือนกัน เช่น นก–หนู, กุ้ง–ไก่
                    การจับคู่แบบอุปมาอุปไมย
                    การจับคู่แบบอนุกรม
                เกมภาพตัดต่อ เป็นเกมฝึกการสังเกตรายละเอียดของภาพ รอยตัดต่อของภาพ ที่เหมือนกันหรือต่างกันในเรื่องของสี รูปร่าง ขนาด ลวดลาย เกมประเภทนี้มีจำนวนชิ้นของภาพ ตัดต่อตั้งแต่ 5 ชิ้นขึ้นไป ซึ่งขึ้นอยู่กับความยากง่ายของภาพชุดนั้น เช่น หากสีของภาพไม่มี ความแตกต่างกัน จะทำให้ยากแก่เด็กยิ่งขึ้น
                เกมวางภาพต่อปลาย (โดมิโน) เพื่อฝึกการสังเกต การคิด คำนวณ คิดเป็น เหตุเป็นผลเกมป
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^