LASTEST NEWS

04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 04 พ.ค. 2567สพม.ชัยภูมิ ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 2 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชลบุรี เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567โรงเรียนหนองไผ่ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกคอมพิวเตอร์ เงินเดือน 10,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 พฤษภาคม พ.ศ.2567 03 พ.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลสกลนคร รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกคณิตศาสตร์ เงินเดือน 9,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 8 พฤษภาคม พ.ศ.2567 03 พ.ค. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567สพม.ชลบุรี ระยอง ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567

การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพตามแนวคิดจิตตปัญญา

usericon

บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา
ผู้วิจัย : นางสาวธัญพร เทพสิงห์ ผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนหนองแสงวิทยา
ปีการศึกษา : 2565
    การวิจัยการพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) แบบผสมผสาน (Mixed-Methods) ของการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Approach) และเชิงคุณภาพ (Qualitative Approach) โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณเป็นการวิจัยหลัก มีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อ (1) ศึกษาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 (2) สร้างรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา (3) ทดลองใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา (4) ประเมินรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา และ(5) ขยายผลการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา ซึ่งการวิจัยครั้งนี้มีการดำเนินการ 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 จำนวน 165 โรงเรียน ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา     กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีความรู้ ความสามารถด้านจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา และชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ จำนวน 10 คน โดยการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูของโรงเรียนหนองแสงวิทยา และโรงเรียนนาสีนวลอุดมเวศม์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 ขั้นตอนที่ 4 ประเมินรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูของโรงเรียนหนองแสงวิทยา และโรงเรียนนาสีนวลอุดมเวศม์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 และขั้นตอนที่ 5 ขยายผลการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ครูของโรงเรียนบ้านกุดท่าลือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) แบบบันทึกการประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

สรุปผลการวิจัย     
    การวิจัยการพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา ผู้วิจัยได้นำประเด็นที่ค้นพบจากการสรุปผล 5 ประเด็น ดังนี้
    1. ผลการศึกษาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2
         1.1 ผลการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและความต้องการการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 พบว่า สภาพปัจจุบันการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 ภาพรวม อยู่ในระดับมาก และความต้องการการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 ภาพรวม อยู่ในระดับมาก
         1.2 ผลการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและความต้องการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 พบว่า สภาพปัจจุบันชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 ภาพรวม อยู่ในระดับมาก และความต้องการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 ภาพรวม อยู่ในระดับมาก
    2. ผลการสร้างการพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา
         2.1 ผลการสร้างรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา ได้แก่ หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ เนื้อหาของรูปแบบ วิธีดำเนินงานของรูปแบบ และการวัดและประเมินผล ผลการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการตรวจสอบความเหมาะของรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ความเหมาะสม (Suitability) ภาพรวมอยู่ในระดับมาก
    2.2 ผลการสร้างคู่มือการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา ผลการสร้างคู่มือการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา ได้แก่ บทนำ หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ กรอบเนื้อหา การประเมินผล และการนำไปใช้ ผลการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการตรวจสอบความเหมาะของคู่มือการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ความเหมาะสม (Suitability) ภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อจำแนกรายข้อลำดับสูงสุด ได้แก่ บทนำ หลักการและเหตุผล และวัตถุประสงค์ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ กรอบเนื้อหา อยู่ในระดับมาก และต่ำสุดได้แก่ การประเมินผล และการนำไปใช้ อยู่ในระดับมาก
    3. ผลการทดลองใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา
         3.1 ผลการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา พบว่า ก่อนใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา ภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง และหลังใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา ภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด
         3.2 ผลการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยาพบว่า ก่อนใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา ภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง และหลังใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา ภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด
    4. ผลการประเมินรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา
         4.1 ผู้วิจัยสังเกตพฤติกรรมครูของโรงเรียนหนองแสงวิทยา และโรงเรียนนาสีนวลอุดมเวศม์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 ที่ใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยาและจดบันทึกไว้ พบว่า ครูมีความสนใจ และกระตือรือร้นที่จะศึกษาและจัดกิจกรรมคู่มือการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา ให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนักเรียนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในกลุ่ม และระหว่างกลุ่ม และครูยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล ความเชื่อที่ว่าการเรียนรู้ที่แท้จริงเกิดขึ้นภายในผู้เรียน
         4.2 ผู้วิจัยสัมภาษณ์ครูของโรงเรียนหนองแสงวิทยา และโรงเรียนนาสีนวลอุดมเวศม์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 ที่ใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา สรุปผลการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา พบว่า      ครูมีความรู้ ความเข้าใจก่อนประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับจิตตปัญญาศึกษานั้นมีค่อนข้างเล็กน้อย โดยหลังจากเข้ารับการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับจิตตปัญญาศึกษาแล้วนั้น ได้รับความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับจิตตปัญญาศึกษาเพิ่มมากขึ้น และการเปลี่ยนแปลงภายในที่ได้จากกิจกรรมตามแนวทางจิตตปัญญาศึกษา พบว่า กิจกรรมตามแนวทางขึ้นกับแต่ละบุคคล ส่วนใหญ่พบว่า มีการคิดใคร่ครวญมากขึ้น
             4.3 ครูของโรงเรียนหนองแสงวิทยา และโรงเรียนนาสีนวลอุดมเวศม์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 ผลการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินเชิงยืนยันรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา พบว่า ความเป็นประโยชน์ (Profitability) ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผลการสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินเชิงยืนยันคู่มือการใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา พบว่า ความเป็นประโยชน์ (Profitability) ภาพรวม อยู่ในระดับมาก
    5. ผลการขยายผลการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยา
     ผลการสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาของครูโรงเรียนหนองแสงวิทยาพบว่า ภาพรวม อยู่ในระดับมาก
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^