LASTEST NEWS

03 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 03 พ.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 11 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567สพม.จันทบุรี ตราด ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567สพป.จันทบุรี เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 8 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567สพป.จันทบุรี เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 8 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 02 พ.ค. 2567สพม.ขอนแก่น ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 17 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 02 พ.ค. 2567สพป.กำแพงเพชร เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 29 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 02 พ.ค. 2567สพป.กำแพงเพชร เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 27 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 02 พ.ค. 2567โรงเรียนมัธยมสังคีตวิทยา กรุงเทพมหานคร รับสมัครครูอัตราจ้าง 3 อัตรา เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่ 2 – 9 พฤษภาคม 2567 02 พ.ค. 2567สพฐ. ห่วงใยแนะแนวทางการป้องกัน ดูแล ครูและนักเรียน ในสภาพอากาศร้อนจัด

“โรงเรียนแห่งความสุข : HAPPY Model"

usericon

โรงเรียนวัดรางกำหยาด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2
เปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้นปฐมวัย ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปัจจุบันมีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 178 คน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 13 คน จากการประชุมปรึกษาหารือระหว่าง ผู้บริหาร ครู บุคลากร คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เครือข่ายผู้ปกครอง และคณะกรรมการสภานักเรียนได้ร่วมกันพิจารณาหาแนวทางในการจัดกิจกรรม โดยมุ่งเน้นการแก้ปัญหา 3 ประเด็นหลัก ในด้านข้อจำกัดของการบริหารจัดการศึกษา ดังนี้ 1) ด้านผู้เรียน ต้องการเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 9 ประการ
ให้เกิดกับผู้เรียน 2) ด้านครูและบุคลากรทางการศึกษา มีการย้ายเข้า – ออกอย่างต่อเนื่อง ทำให้ภาระงานขาดความต่อเนื่องและเข้าใจในบริบทของงานอย่างแท้จริง และ 3) ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา บุคลากรขาดความรู้ความเข้าใจหลักการบริหารจัดการสถานศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดกับผู้รับบริการมติที่ประชุมจึงเห็นชอบในการจัดรูปแบบ “โรงเรียนแห่งความสุข : HAPPY Model” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และความพอเพียง เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในการดำเนินชีวิตของนักเรียน และให้นำผลการดำเนินการมาปรับปรุง พัฒนาให้เกิดความสมบูรณ์ และเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในปีต่อไป รวมทั้งสามารถเป็นแบบอย่างให้กับสถานศึกษาที่สนใจได้ใช้เป็นแนวทางบูรณาการกิจกรรมตามบริบทขององค์กรที่สนใจ และสร้างเสริมเยาวชนให้เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และประเทศชาติสืบไป
ในอนาคต โดยนำรูปแบบ “โรงเรียนแห่งความสุข : HAPPY Model” มาปฏิบัติใช้ในการกำหนดเป้าหมายคุณภาพผู้เรียนให้มีความรู้คู่คุณธรรม และมีความสุข การดำเนินงานการบริหารจัดการให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์ของโรงเรียน ขับเคลื่อนนโยบาย สพฐ. สู่การปฏิบัติ โดยใช้เทคนิคกระบวนการวงจรคุณภาพเดมมิ่ง P-D-C-A และทฤษฎีระบบ (System Theory) มาพัฒนารูปแบบนวัตกรรมพร้อมกับการพัฒนาผู้เรียน และบุคลากรในองค์กร การนำรูปแบบ “โรงเรียนแห่งความสุข : HAPPY Model” มาปฏิบัติใช้ในโรงเรียน ส่งผลให้นักเรียนมีคุณธรรม ความรับผิดชอบ เกิดความรัก ความสามัคคี
และมีจิตสาธารณะ ดำเนินชีวิตได้อย่างรู้เท่าทัน ในลักษณะที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ต่อผู้อื่น
และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด ได้แก่ การอยู่ในโรงเรียนอย่างมีความสุข สามารถดำรงชีวิต
อยู่ในสังคมได้อย่างรู้เท่าทัน ก่อเกิดให้นักเรียนเป็นสุข ครูเป็นสุข สภาพแวดล้อมเป็นสุข ผู้ปกครองเป็นสุข และชุมชนเป็นสุขทำให้นวัตกรรมรูปแบบ“โรงเรียนแห่งความสุข : HAPPY Model” เป็นแบบอย่าง
ในการจัดกิจกรรมต้นแบบให้กับโรงเรียนขนาดเล็กที่มีบริบทของสถานศึกษาใกล้เคียงกับ
โรงเรียนวัดรางกำหยาดสามารถนำไปประยุกต์ใช้ และเป็นต้นแบบแนวทางการบริหารจัดการให้เกิดคุณภาพกับผู้เรียนได้เป็นอย่างดี จากการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกโรงเรียน เพื่อหาแนวทาง
ในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนบนพื้นฐานความรู้คู่คุณธรรม และมีความสุข ซึ่งเป็นรูปแบบที่ถูกพัฒนาต่อยอดมาจากรูปแบบกิจกรรม 5 รัก 5 ดี (D) วิถีพอเพียงขึ้น โดยจัดกิจกรรมประจำวัน 5 รัก ได้แก่
1) วันจันทร์ : กิจกรรมรักโรงเรียน (ร่วมแรงร่วมใจ คนรุ่นใหม่ใส่ใจ สิ่งแวดล้อม) 2) วันอังคาร
: กิจกรรมรักศาสนา (ศีล สมาธิ ปัญญา นำพาชีวีให้มีสุข) 3) วันพุธ : กิจกรรมรักการออม ซ้อมการอ่าน
(เกิดศรัทธา ปัญญา และสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเอง) 4) วันพฤหัสบดี : กิจกรรมรักสุขภาพ
(เด็กไทยยุคใหม่ ใจใส ต้านภัยอบายมุข) และ 5) วันศุกร์ : กิจกรรมรักตนเอง (รู้รักสามัคคี มีวินัย ใส่ใจสุขภาพ) เกิดคุณธรรมความพอเพียงด้วยกิจกรรม 5 ดี (D) คือ 1) สถานที่ดี : D1 = Democracy หมายถึง
ความเป็นประชาธิปไตย การทำงานร่วมกันโดยยึดหลักการรับฟังความคิดเห็นซึ่งกัน ยอมรับในความแตกต่างระหว่างบุคคล ให้เกียรติ เคารพกติกาการอยู่ร่วมกัน และร่วมมือกันประสานประโยชน์ให้เกิดกับโรงเรียน
มีความตระหนักเห็นความสำคัญ ศรัทธาและเชื่อมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รังเกียจการทุจริต และต่อต้านการซื้อสิทธิ์ขายเสียง 2) บุคลากรดี : D2 = Decency หมายถึง การมีคุณธรรม จริยธรรม ความดีงาม รู้ผิดชอบชั่วดี มีจิตสำนึก ภาคภูมิใจ และยึดถือปฏิบัติอยู่ในวิถีชีวิตแห่งความเป็นไทย น้อมนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข 3) กิจกรรมดี : D3 = Development หมายถึง การพัฒนาตนเอง
ไปในทิศทางที่เกิดความเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่าง ๆ อย่างรอบด้าน ค่อยเป็นค่อยไป มีการวางแผนการใช้ชีวิตอย่างรู้เท่าทัน และสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้ทันท่วงทีการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ ใช้ความเพียร ใช้ปัญญา แนวคิด วิธีการต่าง ๆ มาปรับใช้
ในชีวิตประจำวัน เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน และความภาคภูมิใจในตนเอง 4) ชุมชนดี : D4 = Drug-Free หมายถึง ห่างไกลยาเสพติด รู้จักหลีกเลี่ยง ป้องกันตนเองให้ ห่างไกลจากยาเสพติด หันมาดูแลใส่ใจสุขภาพอนามัย
ของตนเอง และสร้างภูมิต้านทานที่ดีให้กับตนเองทั้งกายและใจใช้สติในการแก้ปัญหาอย่างชาญฉลาด
และ 5) เวลาดี : D5 = Daily routine หมายถึง กิจวัตรประจำวันที่นักเรียนปฏิบัติเพื่อให้เกิดความรัก
ความผูกพันต่อโรงเรียน
    รูปแบบ“โรงเรียนแห่งความสุข : HAPPY Model” ขับเคลื่อนโดยใช้กระบวนการ P-D-C-A
เพื่อให้ผู้เรียนเกิดคุณธรรมตามลักษณะอันพึงประสงค์ของโรงเรียน และสถานศึกษาสามารถบริหาร
จัดการศึกษาด้วย มีการบริหารจัดการโดยใช้ทฤษฎีระบบ ในการเข้าไปสนับสนุน และส่งเสริมกิจกรรมให้ประสบความสำเร็จ ตั้งแต่ปัจจัยนำเข้า นโยบายยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาการศึกษาชาติ
นโยบายหน่วยบังคับบัญชา แผนพัฒนาการศึกษาโรงเรียน และการศึกษาปัจจัยนำเข้าบริบทสภาพแวดล้อมและบริบทของโรงเรียน ปัจจัยการบริหารจัดการ 4 M ได้แก่ บุคลากร งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์
และบริหารจัดการสู่กระบวนการปฏิบัติ (Process) ซึ่งมีการบริหารจัดการแบบองค์รวม
( Holistic Management : H ) การปฏิบัติกิจกรรม ( Activities : A ) การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน (Participation : P) การเผยแพร่และพัฒนาต่อยอด ( Publication : P ) ผลงานเชิงประจักษ์ (Yield : Y ) ไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน (Output/outcome) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนักเรียนเป็นสุข ครูเป็นสุข สภาพแวดล้อมเป็นสุข ผู้ปกครองเป็นสุข ชุมชนเป็นสุข
pangpassawan 08 ก.พ. 2567 เวลา 12:23 น. 0 231
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^