LASTEST NEWS

07 ธ.ค. 2567ปฏิทินการย้าย "ข้าราชการครู" สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านระบบ TRS (Teacher Rotation System) ประจำปี พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1 07 ธ.ค. 2567ว24/2567 แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินการย้าย การประมวลผลและการพิจารณาย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านระบบ TRS (Teacher Rotation System) 07 ธ.ค. 2567ศธ. ขอบคุณนายกฯ และ ครม. หลังเริ่มจัดสรรงบอาหารกลางวัน ม.1-3 โรงเรียนขยายโอกาส "พี่อิ่มท้อง น้องอิ่มใจ" 07 ธ.ค. 2567สพฐ. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “โครงการโรงเรียนสุจริต” ระดับประเทศ 07 ธ.ค. 2567โรงเรียนบ้านน้ำเที่ยงนาเรียง รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือนละ 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน) ตั้งแต่วันที่ 9 - 17 ธันวาคม 2567 ไม่เว้นวันหยุดราชการ 07 ธ.ค. 2567ยกเลิกประกาศแล้ว !!! โรงเรียนบ้านกุดแข้ ยกเลิกประกาศรับสมัครครูอัตราจ้าง เนื่องจากมีข้อผิดพลาดเรื่องจำนวนเงินเดือน เพื่อตรวจทานแก้ไขให้เรียบร้อยก่อนประกาศใหม่ 06 ธ.ค. 2567โรงเรียนเอราวัณวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 6 - 18 ธันวาคม 2567 06 ธ.ค. 2567โรงเรียนบ้านกุดแข้ รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 3,000.- บาท/เดือน สมัคร 9-19 ธันวาคม 2567 06 ธ.ค. 2567ศธ. - สพฐ. สรุปผลสอบกรณีครูเบญ พบดำเนินการถูกต้องตามระเบียบ เจ้าตัวยอมรับ-ไม่ติดใจผลคะแนน 06 ธ.ค. 2567วิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 4 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000 บาท ตั้งแต่ 16-20 ธันวาคม 2567

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อพัฒนา

usericon

ชื่อเรื่อง     : การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อพัฒนา
ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
ชื่อผู้รายงาน : นางรัตนา เนียมวีระ
พุทธศักราช        : 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพี่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ในด้านต่างๆ ดังนี้ (3.1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณก่อนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ , (3.2)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ และ (3.3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนเทศบาล ๑ นาเริ่งราษฎร์บำรุง สังกัดกองการศึกษาเทศบาลตำบลหนองแค จังหวัดสระบุรี จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ , แผนการจัดการเรียนรู้ , แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ , แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ( X ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D. ) สถิติทีแบบไม่อิสระและการวิเคราะห์เนื้อหา
    ผลการวิจัยพบว่า
    1. รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ มีชื่อว่า PPESA Model มีองค์ประกอบคือ หลักการ,วัตถุประสงค์ , กระบวนการเรียนการสอนและเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้โดยกระบวนการเรียนการสอนมี ๕ ขั้นตอน คือ 1) ขั้นเตรียมความพร้อมสำหรับการเรียนรู้ ( Preparation: P ) 2) ขั้นฝึกปฏิบัติ ( Practice: P ) ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอนย่อย คือ ขั้นที่ 1 คิดวิเคราะห์ปัญหา ขั้นที่ 2 ระบุปัญหา ขั้นที่ 3 ระบุสาเหตุและทางเลือกในการแก้ปัญหา ขั้นที่ 4 ตัดสินใจเลือกวิธีการแก้ปัญหา และขั้นที่ 5 สะท้อนความคิด 3) ขั้นประเมินผล ( Evaluation :E) 4) ขั้นสรุปและประยุกต์ใช้ ( Summarize and Applying: S ) และ ๕) ขั้นรวมพลังประยุกต์และตอบแทนสังคม (Applying and Serving Collaboratively: A) โดยที่รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ( PPESA Model ) ที่พัฒนาขึ้นมานี้มีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.25/88.45 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
    2. หลังการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ ( PPESA Model ) นักเรียนมีทักษะในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
    3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่ต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทีสุด
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^