LASTEST NEWS

18 พ.ค. 2567‘สิริพงศ์’ แจงชัดประกาศยกเว้น/ผ่อนผันแต่งเครื่องแบบนักเรียน เพื่อลดความเดือดร้อนผู้ปกครอง ไม่ได้สั่งยกเลิกชุดนักเรียน 18 พ.ค. 2567สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รับสมัครพนักงานราชการ 12 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป 17 พ.ค. 2567เปิดเทอมใหม่ “ครู-นร.” เฮ! สพฐ.กำชับทุกโรงเรียน “ลดการบ้าน” 17 พ.ค. 2567เปิดเทอมใหม่ สพฐ.กำชับโรงเรียน “ลดการบ้าน-ลดประเมิน” สร้างความสุขนักเรียน-ครู 17 พ.ค. 2567ด่วนที่สุด !! รมว.ศธ. แจ้งหัวหน้าส่วนราชการ ผ่อนผันการแต่งเครื่องแบบนักเรียน 16 พ.ค. 2567กรมราชทัณฑ์ เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ 102 อัตรา สมัครได้ทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2567 - 18 มิถุนายน 2567 16 พ.ค. 2567โรงเรียนวัดสํานักบก รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาภาษาอังกฤษ เงินเดือน 15,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 22 พฤษภาคม 2567 16 พ.ค. 2567“บิ๊กอุ้ม” จี้อ.ก.ค.ศเขตพื้นที่ ทำงานโปร่งใส ไร้ทุจริต ยึดประโยชน์ราชการ 16 พ.ค. 2567เสมา 1 มุ่งมั่นขับเคลื่อนนโยบาย รวมพลัง ศธ. จับมือเดินหน้าผลักดัน “ธนาคารหน่วยกิต เพิ่มโอกาสทางการศึกษาสำหรับทุกคน” 16 พ.ค. 2567“สิริพงศ์” แจงวิชาลูกเสือมีความทันสมัย แต่ขาดการสร้างความรับรู้

การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน สนับสนุนการเป็นชุมชนแห่งการเรียนร

usericon

https://drive.google.com/file/d/1vc1yIUXbnuSnCVlvtAX6zs_quQL9GX6i/view?usp=sharing

เรื่อง     การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM) สนับสนุนการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)
เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูรูปแบบ GUNTPONG’s MODEL สู่มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านผู้เรียน
    โรงเรียนดอนไพลพิทยาคม ปีการศึกษา 2564
ผู้ศึกษา     นายกันต์พงษ์ อิ่มจิตรจรัส
ปีการศึกษา 2564

บทคัดย่อ
    การบริหารโดยใช้โรงเรียน (SBM) สนับสนุนการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูรูปแบบ GUNTPONG’s MODEL สู่มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านผู้เรียน โรงเรียนดอนไพลพิทยาคม ปีการศึกษา2564 มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการบริหารโดยใช้โรงเรียน เป็นฐาน (SBM) สนับสนุนการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูรูปแบบ GUNTPONG’s MODEL สู่มาตรถฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านผู้เรียน โรงเรียนดอนไพลพิทยาคม ปีการศึกษา 2564 เพื่อศึกษาการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูรูปแบบ GUNTPONG’s MODEL สู่มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านผู้เรียน เพื่อศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบสมรรถนะครูรูปแบบ GUNTPONG’s MODEL ในการปฏิบัติงานของครูสู่มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านผู้เรียน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครอง ต่อคุณภาพผู้เรียน ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านผู้เรียน ประชากรที่ใช้ในการศึกษา อยู่ในบริบทพื้นที่บริการโรงเรียนดอนไพลพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ปีการศึกษา 2564 โดยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยแยกเป็นกลุ่มเป้าหมาย 1) คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน 2) ครู จำนวน 12 คน 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 จำนวน 79 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 79 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM) สนับสนุนการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูรูปแบบ GUNTPONG’s MODEL สู่มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านผู้เรียน โรงเรียนดอนไพลพิทยาคม ปีการศึกษา 2564 แบบสอบถามเกี่ยวกับการปฏิบัติงานการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูรูปแบบ GUNTPONG’s MODEL สู่มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของผู้เรียน แบบสอบถามเกี่ยวกับสมรรถนะครูรูปแบบ GUNTPONG’s MODEL สู่มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านผู้เรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของผุ้เรียน ครู คณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน ต่อคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานของการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านผู้เรียน
สรุปผลการศึกษาค้นคว้า
    1. การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM) สนับสนุนการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้
ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูรูปแบบ GUNTPONG’s MODEL สู่มาตรฐานการศึกษา
ขั้นพื้นฐานด้านผู้เรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.66 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.47 เมื่อพิจารณา เป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย คือ 1) ด้านหลักการกระจายอำนาจ มีค่าเฉลี่ย ( ) สูงสุด เท่ากับ 4.73 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.46 รองลงมา คือ 2) ด้านหลักการตรวจสอบและถ่วงดุล มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.72 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.41 และ3) ด้านหลักการคืนอำนาจการจัดการศึกษมีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.67 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.45 ซึ่งลำดับที่ 4) ด้านหลักการมีส่วนร่วมมีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.63 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.50 และลำดับสุดท้าย 5) ด้านหลักการบริหารตนเอง มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.53 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.51 ตามลำดับ นั่นแสดงว่า รูปแบบการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานในทุกด้าน เป็นเหตุผลที่ผู้บริหารสถานศึกษา สามารถนำมาขับเคลื่อนสนับสนุนส่งเสริมการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ได้จริง เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1
    2. การปฏิบัติงานการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูรูปแบบ GUNTPONG’s MODEL สู่มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านผู้เรียน พบว่า องค์ประกอบ ทั้ง 6 ด้าน ทำให้เกิดการพัฒนาสมรรถนะครูรูปแบบ GUNTPONG’s MODELสู่มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านผู้เรียนและมีผลต่อการปฏิบัติงานของครู ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.53 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.49 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ 1) ด้านการเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ มีค่าเฉลี่ย ( ) สูงสุด เท่ากับ 4.68 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.41 รองลงมา คือ 2) ด้านภาวะผู้นำ มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.58 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.47 และ3) ด้านโครงสร้างชุมชน มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.56 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.51 ซึ่งลำดับที่ 4) ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วม มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.49 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.51 ลำดับที่ 5) ด้านชุมชนกัลยาณมิตร มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.44 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.50 และลำดับสุดท้าย 6) ด้านการทำงานเป็นทีม มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.42 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.51 ตามลำดับ
    ซึ่งจะเห็นได้ว่าการปฏิบัติงานการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูรูปแบบ GUNTPONG’s MODEL สู่มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านผู้เรียน ของผู้บริหาร ที่มีการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ทำให้ครูสามารถปฏิบัติงานพัฒนาสมรรถนะครูรูปแบบ GUNTPONG’s MODEL สู่มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านผู้เรียนได้จริงเป็นไปตาม สมติฐานข้อที่ 2
    3. การเปรียบเทียบสมรรถนะครูรูปแบบ GUNTPONG’s MODEL ในการปฏิบัติงานของครูสู่มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านผู้เรียน พบว่า สมรรถนะครูรูปแบบ GUNTPONG’s MODEL ในการปฏิบัติงานของครู สู่มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านผู้เรียน โดยภาพรวมก่อนการศึกษา มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 2.66 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.43 และหลังการศึกษาเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.59 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.48 เมื่อพิจารณาเป็นด้านของสมรรถนะครูรูปแบบ GUNTPONG’s MODEL ในการปฏิบัติงานสู่มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านผู้เรียน ก่อนและหลังการศึกษา พบว่า หลังการศึกษาสูงกว่าก่อนการศึกษา และทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด โดยด้านที่มีผลการพัฒนาหลังการศึกษาอยู่ในระดับเพิ่มขึ้นเรียงจากมากไปหาน้อย ได้แก่ 1) ด้านสมรรถนะการมุ่งผลสัมฤทธิ์ 2) ด้านสมรรถนะการบริการที่ดี 3) ด้านสมรรถนะการบริหารหลักสูตร 4) ด้านสมรรถนะการพัฒนาผู้เรียน และลำดับ ที่มีผลการพัฒนาเท่ากัน คือ 5) ด้านสมรรถนะการบริหารจัดการชั้นเรียน และ ด้านสมรรถนะการสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชนเพื่อการจัดการเรียนรู้ 6) สมรรถนะการวิเคราะห์สังเคราะห์และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน และลำดับสุดท้าย 7) สมรรถนะภาวะครูผู้นำ ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบมรรถนะครูรูปแบบ GUNTPONG’s MODEL ในการปฏิบัติงานสู่มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านผู้เรียน โดยใช้ t – test พบว่า หลังการศึกษาสูงกว่าก่อนการศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เป็นไปตามสมมติฐานข้อ 3
    นั่นแสดงว่า การพัฒนาสมรรถนะครูรูปแบบ GUNTPONG’s MODEL สู่มาตรฐานการศึกษา ขั้นพื้นฐานด้านผู้เรียน เกิดภาพความสำเร็จสะท้อนการนำสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผลต่อการพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติงาน ตามสมรรถนะหลัก ที่ส่งผลต่อมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านผู้เรียน คือ สมรรถนะการมุ่งผลสัมฤทธิ์ และสมรรถนะการบริการที่ดี รวมถึงสะท้อนการพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติงาน ตามสมรรถนะประจำสายงาน ส่งผลต่อมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านผู้เรียน คือ สมรรถนะการบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ สมรรถนะการพัฒนาผู้เรียน สมรรถนะการบริหารจัดการชั้นเรียน สมรรถนะการวิเคราะห์สังเคราะห์และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน สมรรถนะภาวะครูผู้นำ และสมรรถนะการสร้างความสัมพันธ์ และความร่วมมือกับชุมชนเพื่อการจัดการเรียนรู้ ซึ่งสมรรถนะทั้ง 8 สมรรถนะ ย่อมส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้
    4. การศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียน ครู คณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครอง ต่อคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานของการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านผู้เรียน พบว่า ระดับความพึงพอใจของผู้เรียน ครู คณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้ปกครอง ต่อคุณภาพผู้เรียนตามมาตรฐานของการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านผู้เรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.70 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 0.43 เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 4
    นั่นแสดงว่า การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM) สนับสนุนการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูรูปแบบ GUNTPONG’s MODEL สู่มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านผู้เรียน โรงเรียนดอนไพลพิทยาคม ปีการศึกษา 2564 เกิดผลสะท้อนเชิงคุณภาพต่อคุณภาพผู้เรียนอย่างเชิงประจักษ์ คือ นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของครู ซึ่งพบว่า ตนเองมีความก้าวหน้าในด้านความรู้ทักษะอย่างรอบด้าน ได้รับการส่งเสริมให้เป็นผู้รู้ สามารถนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวันได้อย่างสร้างสรรค์ อีกทั้งครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ปกครองมีความพึงพอใจในด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน และด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์บรรลุเป้าหมายตามมาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียนที่กำหนดไว้ ดังกล่าว
guntpong 19 ม.ค. 2567 เวลา 15:04 น. 0 101
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^