LASTEST NEWS

07 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 07 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 07 พ.ค. 2567(( ลิงก์เว็บไซต์ )) รับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ตั้งแต่วันที่ 8-14 พ.ค.2567 07 พ.ค. 2567สอบครูผู้ช่วยปี67รอบทั่วไป เลือกสมัครได้เขตเดียว เข้มสกัดทุจริต 05 พ.ค. 2567‘เพิ่มพูน’ ยันโรงเรียนห้ามกั๊กการออกใบเกรดหากเด็กค้างค่าเทอม 05 พ.ค. 2567ก.ค.ศ.เดินหน้ารื้อระบบ ศน.ใหม่ ยกเครื่อง ปรับบทบาทหน้าที่ เพิ่มคุณสมบัติ ดึงบุคลากรคุณภาพพัฒนาคุณภาพการศึกษา 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 04 พ.ค. 2567สพม.ชัยภูมิ ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567

การขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โดยใช้กระบวนการ SOCIETY

usericon

บทคัดย่อ
ชื่องานวิจัย การขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โดยใช้กระบวนการ SOCIETY MORAL ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2
ชื่อผู้วิจัย นางกฤติยา โพธิ์เสนา
หน่วยงาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2
ปี พ.ศ. 2565 – 2566
คำสำคัญ โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ., กระบวนการ SOCIETY MORAL

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพที่เป็นจริง สภาพที่คาดหวัง และความต้องการ จำเป็นในการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 2) ศึกษาการใช้และประสิทธิผลของกระบวนการ SOCIETY MORAL ที่ใช้ในการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 3) ศึกษาผลการดำเนินการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โดยใช้กระบวนการ SOCIETY MORAL ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 โดยผู้วิจัยได้กำหนดขั้นตอนการดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพที่เป็นจริง สภาพที่คาดหวัง และความต้องการจำเป็นในการขับเคลื่อน โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษสมุทรปราการ เขต 2 โดยมีกลุ่มเป้าหมาย (1) ระดมความคิดเห็นโดยใช้วิธีการจัดสนทนากลุ่ม จำนวน 7 คน (2) สัมภาษณ์ผู้แทนผู้บริหาสถานศึกษา ครู จำนวน 10 คน (3) สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านการส่งเสริมคุธรรม จริยธรรม ในระดับสถานศึกษา/ระดับเขตพื้นที่ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาการใช้และประสิทธิผลของกระบวนการ SOCIETY MORAL ที่ใช้ในการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 โดยมีกลุ่มเป้าหมาย (1) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 3 แห่ง จำนวน 30 คน (2) โรงเรียนในสังกัด จำนวน 71 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ คู่มือ การขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โดยใช้กระบวนการ SOCIETY MORAL แบบสอบถามความคิดเห็น และแบบสรุป กระบวนการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โดยใช้กระบวนการ SOCIETY MORAL ขั้นตอนที่ 3 ศึกษาผลการดำเนินการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โดยใช้กระบวนการ SOCIETY MORAL ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรปราการ เขต 2 โดยมีกลุ่มเป้าหมาย โรงเรียนในสังกัด จำนวน 71 โรงเรียน ประกอบด้วย (1) ผู้บริหารสถานศึกษา (2) ครู ผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. รวมทั้งสิ้น 142 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ของโรงเรียนในสังกัด แบบรายงานความสำเร็จต่อเป้าหมายความสำเร็จของการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โดยใช้กระบวนการ SOCIETY MORAL ในการยกระดับคุณภาพโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. แบบประเมินความสอดคล้องและแบบสอบถามความพึงพอใจ
ผลการศึกษา พบว่า                                 
1. สภาพที่เป็นจริง สภาพที่คาดหวัง และความต้องการจำเป็นในการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 มีรายละเอียด ดังนี้
    1.1 ระดับสถานศึกษา
โรงเรียนมีแผนพัฒนาโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. แต่มิได้ดำเนินการปรับแผนให้เป็นปัจจุบันตรงกับสภาพปัญหาปัจจุบันที่ต้องการแก้ไข เนื่องจาก มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารสถานศึกษาครูผู้รับผิดชอบโครงการ ทำให้นโยบายการปฏิบัติงานเป็นไปอย่างไม่ต่อเนื่อง อีกทั้งโรงเรียนยังไม่มีเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมพัฒนาทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างล่าช้า ดังนั้น โรงเรียนควรมีการประชุมจัดให้มีแผนงานการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในสถานศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม โดยดำเนินการแบบมีส่วนร่วม ร่วมกันทั้งโรงเรียน เพิ่มเติมหลักธรรม และแนวทางในการปฏิบัติตามคุณอัตลักษณ์ของโรงเรียน และปฏิบัติร่วมกันทั้งโรงเรียนทั้งผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียน รวมถึงการการส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่าง วัด ชุมชนในการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.เป็นการผลักดันกระบวนการร่วมกันดำเนินการหาทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับการส่งเสริมความประพฤติปฏิบัติที่ดีของนักเรียนและบุคลากรในสถานศึกษา ให้มีส่วนช่วยให้นักเรียนมีพฤติกรรมเชิงลบลดลง พฤติกรรมเชิงบวกเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ โรงเรียนมีความต้องการเครือข่ายทั้งในพื้นที่ และต่างพื้นที่ในการดำเนินงานร่วมกัน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์นำไปพัฒนาผลการดำเนินงานของโรงเรียน มีความต้องการที่เข้ารับการอบรมพัฒนาเพื่อนำไปวางแผนจัดทำกระบวนการบริหารงาน สามารถจัดทำแผนพัฒนาคุณธรรมที่เป็นระบบ และนำมาสื่อสารชี้แจง แนวปฏิบัติให้กับครูในโรงเรียนในการปฏิบัติได้ชัดเจน อีกทั้งต้องการให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดเวทีส่งเสริมสนับสนุนยกย่องเชิดชูเกียรติให้แก่ผู้ประพฤติดีเป็นแบบอย่างที่ดี เพื่อเป็นขวัญกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติต่อไป
1.2 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 ขาดงบประมาณในการจัดกิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กิจกรรมยกย่องเชิดชูเกียรติแก่ผู้ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ขาดบุคลากรในการลงพื้นที่นิเทศติดตาม เนื่องจากศึกษานิเทศก์ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีจำนวนน้อย และมีภาระงานจำนวนมากกว่าอัตรา ส่งผลให้การลงพื้นที่นิเทศ ติดตามในลักษณะเชิงประจักษ์ในแต่ละโรงเรียนมีข้อจำกัด ดังนั้น ควรมีแนวทางนโยบายส่งเสริมสนับสนุนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.ในสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนดำเนินงานร่วมกันทั้งระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กับโรงเรียนในสังกัด มีเอกสารแนวทางในการให้ความรู้กับครูผู้รับผิดชอบที่ขาดประสบการณ์ และจัดกิจกรรมทบทวนความรู้แนวปฏิบัติแก่ครูผู้รับผิดชอบเดิมให้มีความชัดเจนมากขึ้น มีการสร้างเครือข่าย และข้อตกลงในการขับเคลื่อนการดำเนินการร่วมกัน มีการนิเทศ ติดตามร่วมกันกับโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความยั่งยืน นอกจากนี้ ต้องมีแนวทางนโยบายส่งเสริมสนับสนุนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.ในสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง มีการสำรวจข้อมูลครูที่รับผิดชอบโครงการ และความต้องการของครูผู้รับผิดชอบจัดกิจกรรมให้ความรู้ ทบทวนการดำเนินการโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการให้ความรู้กับครูผู้รับผิดชอบที่ขาดประสบการณ์ และทบทวนความรู้แนวปฏิบัติแก่ครูผู้รับผิดชอบให้มีความชัดเจนมากขึ้นในการวางแผนพัฒนาขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ในระดับสถานศึกษา และในระดับเขตพื้นที่ มีการสร้างข้อตกลง และจัดตั้งเครือข่ายระหว่างโรงเรียน เพื่อให้โรงเรียนมีเครือข่ายในการดำเนินการ และมีเพื่อนร่วมพัฒนาในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.ร่วมกัน มีการจัดกิจกรรมเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างเครือข่ายในการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.ร่วมกันเพื่อนำข้อมูลที่ได้รับพัฒนาการดำเนินงานต่อไป มีการนิเทศ ติดตามร่วมกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความยั่งยืนมีประสิทธิภาพให้ประสบความสำเร็จ
2. การใช้และประสิทธิผลของกระบวนการ SOCIETY MORAL ที่ใช้ในการขับเคลื่อน โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2    
2.1 ผลการจัดทำคู่มือ การขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โดยใช้กระบวนการ SOCIETY MORAL ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 โดยใช้แนวทางการดำเนินงาน โรงเรียนคุณธรรมการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ กรอบแนวคิดโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.ยุทธศาสตร์การดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรม ด้วยรหัส 3-5-7
2.2 ผลการตรวจสอบคุณภาพคู่มือ การขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โดยใช้กระบวนการ SOCIETY MORAL โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เพื่อตรวจสอบคุณภาพของคู่มือด้านความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (content validity) ในภาพรวมอยู่ระดับ มากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านเอกสารคู่มือ และด้านประโยชน์ของคู่มือ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด และด้านเนื้อหาของคู่มือ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ตามลำดับ                                
2.3 ผลการทดลองใช้ (Try out) คู่มือ การขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โดยใช้กระบวนการ SOCIETY MORAL ซึ่งนำไปทดลองใช้ (try out) กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจำนวน 3 แห่ง เพื่อนำมาตรวจสอบด้านความเชื่อมั่น (reliability) โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (alpha coefficient) ของ Cronbach ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของ คู่มือ การขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โดยใช้กระบวนการ SOCIETY MORAL ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรปราการ เขต 2 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.94                
2.4 ผลการนํากระบวน SOCIETY MORAL มาใช้ในการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ของโรงเรียนในสังกัด ปีการศึกษา 2565-2566 ดังนี้ 1) โรงเรียนได้รับการพัฒนาส่งเสริมงานคุณธรรมในโรงเรียน สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล 2) ผู้บริหารสถานศึกษามีความตระหนัก มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถบริหารจัดการพัฒนาส่งเสริมงานคุณธรรมในโรงเรียนได้อย่างเป็นระบบ และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ครูบุคลากรและนักเรียน 3) ครูมีความตระหนักรู้ มีความเข้าใจ สามารถจัดการเรียนรู้ กิจกรรมการพัฒนาส่งเสริมงานคุณธรรมในโรงเรียนได้อย่างเป็นระบบ และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียน 4) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 ได้ข้อมูลจากการศึก ษาสภาพที่เป็นจริง สภาพที่คาดหวัง และความต้องการจำเป็น ซึ่งเป็นข้อมูลในการวางแผนในการขับเคลื่อนโครงการโรง เรียนคุณธรรม สพฐ. ระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียนในการดำเนินการร่วมกันให้เกิดประสิทธิภาพต่อไป    
3. ผลการดำเนินการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โดยใช้กระบวนการ SOCIETY MORAL ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2            
3.1 ผลการประเมินการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โดยใช้กระบวนการ SOCIETY MORAL ของโรงเรียนในสังกัด จำนวน 71 โรงเรียน อยู่ในระดับ ดีเยี่ยม ทั้ง 4 องค์ประกอบ เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า องค์ประกอบที่ 4 ด้านนักเรียน มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา องค์ประกอบที่ 3 ด้านครู องค์ประกอบที่ 1 ด้านโรงเรียน ตามลำดับ และองค์ประกอบที่ 2 ด้านผู้บริหาร มีค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อ 4.2 โครงงานคุณธรรม มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา ข้อ 4.6 พฤติกรรมที่พึงประสงค์ในโรงเรียนเพิ่มขึ้น และข้อ 3.3 ความสามารถในการเป็นวิทยากรคุณธรรม มีค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด
3.2 ผลสำเร็จตามเป้าหมายในการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ด้านโรงเรียนด้านผู้บริหาร ด้านครู
ด้านนักเรียน และด้านชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ.2565-2566 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2
มีโรงเรียนในสังกัดผ่านการประเมินโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระดับ 4 ดาว (จำนวน 2 โรงเรียน) และโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระดับ 3 ดาว (จำนวน 71 โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ 100) และมีครูและบุคลากรทางการศึกษา มีผลงาน/รางวัล
คุรุชนคนคุณธรรมและนวัตกรรมสร้างสรรค์ ระดับประเทศ รวมทั้งผลงานที่เกิดขึ้นนักเรียนในสังกัด
และชุมชน
3.3 ผลประเมินความพึงพอใจในการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โดยใช้ กระบวนการ SOCIETY MORAL ของโรงเรียนในสังกัด
1) ผลการประเมินความสอดคล้องของแบบสอบถามความพึงพอใจในการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โดยใช้กระบวนการ SOCIETY MORAL โดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item-Objective Congruence: IOC) เท่ากับ 1.00
     2) ผลการวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โดยใช้กระบวนการ SOCIETY MORAL โดยการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของครอนบาค (Cronbach’s reliability coefficient alpha) เท่ากับ 0.84
     3) ผลการประเมินความพึงพอใจในการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โดยใช้กระบวนการ SOCIETY MORAL ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. มีความพึงพอใจในการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โดยใช้กระบวนการ SOCIETY MORAL ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นกระบวนการ พบว่า I (Informing) นำพาการยกระดับ มีความพึงพอใจ สูงสุด รองลงมา E (Encourage) พร้อมรับดำเนินงาน T (Teaching & Mentoring) สอนงานเป็นพี่เลี้ยง
Y (Yardstick) พร้อมเพรียงประเมิน 3 ดาว M (Move) ให้ก้าวผ่านระดับเขตตรวจราชการ O (Occasion) ประสานต่อยอดคุณธรรม 4 ดาว C (Coordinating) ร่วมสร้างพัฒนา O (Objective) กำหนดแนวทาง S (Study) ศึกษาบริบท A (Action) ติดตามพาสะท้อนผล R (Review) โน้มน้าวพัฒนา ตามลำดับ และน้อยที่สุด L (Legitimate) มากล้นแนวปฏิบัติที่ดี เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่ 7 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีการอบรมชี้แจง ให้ความรู้ ด้านแผนพัฒนาคุณธรรม และด้านโครงงานคุณธรรมชัดเจนอย่างเป็นระบบ ทั่วถึงทุกโรงเรียน มีความพึงพอใจสูงสุด รองลงมา ข้อที่ 8 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีการอบรม/ประชุมชี้แจง ให้ความรู้ ลำดับขั้นตอน มีปฏิทินการปฏิบัติงาน วิธีการประเมินด้านคุณธรรม จริยธรรม ชัดเจน และน้อยที่สุด ข้อที่ 24 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มีการเผยแพร่ผลงานที่เป็นแบบอย่างด้านคุณธรรม จริยธรรม และนำเสนอผลงาน ที่สามารถเป็นแบบอย่างได้แก่สถานศึกษาอื่น ๆ
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^