LASTEST NEWS

08 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 08 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 07 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 07 พ.ค. 2567(( ลิงก์เว็บไซต์ )) รับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ตั้งแต่วันที่ 8-14 พ.ค.2567 07 พ.ค. 2567สอบครูผู้ช่วยปี67รอบทั่วไป เลือกสมัครได้เขตเดียว เข้มสกัดทุจริต 05 พ.ค. 2567‘เพิ่มพูน’ ยันโรงเรียนห้ามกั๊กการออกใบเกรดหากเด็กค้างค่าเทอม 05 พ.ค. 2567ก.ค.ศ.เดินหน้ารื้อระบบ ศน.ใหม่ ยกเครื่อง ปรับบทบาทหน้าที่ เพิ่มคุณสมบัติ ดึงบุคลากรคุณภาพพัฒนาคุณภาพการศึกษา 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 04 พ.ค. 2567สพม.ชัยภูมิ ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567

เผยแพร่ผลงาน นางวัฒนาพร รังคะราช

usericon

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้วิจัย     นางวัฒนาพร รังคะราช ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนเนินยางประชาสามัคคี สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์

ปีการศึกษา    2565

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการที่จำเป็นในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนเนินยางประชาสามัคคี สังกัด องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 คัดเลือกโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จำนวน 33 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง ความคล้าย จำนวน 8 แผน 16 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ความคล้าย เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหา เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความ พึงพอใจต่อการเรียน เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสถิติค่าที แบบ Dependent Samples t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า
     1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย การสัมภาษณ์สภาพปัญหาและความต้องการของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ศึกษาแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) โรงเรียนเนินยางประชาสามัคคี ตลอดจนศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐาน สำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ พบว่า สภาพปัจจุบันในการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในชั้นเรียนส่วนใหญ่เน้นการคิดคำนวณ จำสูตร และทำตามตัวอย่างได้ในบทเรียน มีกระบวนการพัฒนาทักษะการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนไม่เป็นระบบเท่าที่ควร นักเรียนขาดความสามารถในการแก้ปัญหา ขาดกระบวนการแสวงหาความรู้ ขาดความเชื่อมั่นไม่กล้าแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการคิดแก้ปัญหาต่ำกว่าเกณฑ์ ที่กำหนด จากข้อมูลพื้นฐานสภาพปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยจึงสนใจพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน สอดคล้องกับความต้องการ และจุดมุ่งหมายแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ และหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) โรงเรียนเนินยางประชาสามัคคี ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่เน้นพัฒนาความรู้และการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน สำหรับหลักการ แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ในครั้งนี้ ได้แก่ ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาและการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ล้วนแต่มีความสำคัญต่อการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเนินยางประชาสามัคคี
2. การออกแบบและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มี 6 องค์ประกอบ คือ หลักการ แนวคิด และทฤษฎีพื้นฐาน วัตถุประสงค์ของรูปแบบการเรียนการสอน กระบวนการจัดการเรียนการสอน ระบบสังคม หลักการตอบสนอง และระบบสนับสนุน โดยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ออกแบบและพัฒนาขึ้น “EPCEP Model” มีกระบวนการจัดการเรียนรู้ แบ่งเป็น 5 ขั้น คือ 1) ขั้นกระตุ้นเตรียมความพร้อม (Encouragement: E) 2) ขั้นเผชิญสถานการณ์ปัญหาและแก้ปัญหา (Problem solving : P) 3) ขั้นสร้างความรู้ (Construction : C) 4) ขั้นอธิบายสรุปและฝึกทักษะ (Explanation and Practice: E) 5) ขั้นนำเสนอผลงานและประเมินผล (Presentation and Evaluation : P) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ “EPCEP Model” มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.57/81.31 ซึ่งมีค่าประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ (E1/E2) 80/80 ที่ได้กำหนดไว้
3. การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. การประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า 1) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียน โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.60, = 0.03) และ 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้รับการประเมิน และปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์ และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยปรับปรุงแก้ไขหลักการ แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน เพิ่มเติมรายละเอียดของกระบวนการจัดการเรียนการสอน และเพิ่มเติมรายละเอียดของสิ่งสนับสนุน คือ การยืดหยุ่นเวลาในการเรียนให้เหมาะสมกับกิจกรรม และหลักการตอบสนอง คือ ดูแลให้นักเรียนทุกคนมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันทั้งในกลุ่มย่อย และทั้งชั้นเรียนอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ













nidmanida 12 ธ.ค. 2566 เวลา 13:07 น. 0 132
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^