LASTEST NEWS

27 ก.ค. 2567ไม่ต้องผ่านภาค ก 65 อัตรา วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 16,830 บาท สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รับสมัครสอบบรรจุเป็นพนักงาน ตั้งแต่บัดนี้ - 9 สิงหาคม 2567 27 ก.ค. 2567โอกาสมาแล้ว!! น้องนิสิต นักศึกษาครู เชิญทางนี้ กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย (โครงการช้อนครู) 322 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 2 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567เมืองพัทยา เปิดสอบผู้ช่วยครูผู้ช่วย จำนวน 17 อัตรา รับสมัคร 1-9 สิงหาคม 2567  26 ก.ค. 2567สพป.นนทบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 15 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 11 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ปทุมธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567“ศธ.-มท.” เตรียมสุ่มตรวจยาเสพติดโรงเรียน 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2566 รอบที่ 7 จำนวน 1 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2567 รอบที่ 2 จำนวน 9 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี 2567 รอบที่ 2 จำนวน 8 อัตรา - รายงานตัว 7 สิงหาคม 2567

การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาการคำนวณ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับ STAD

usericon

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาการคำนวณ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียน
แบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ชื่อผู้วิจัย นายพงศธร สวัสดิ์วงษ์
ปีที่ทำการวิจัย 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาการคำนวณโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับ การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนวิทยาการคำนวณโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนวิทยาการคำนวณโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนวิทยาการคำนวณโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลวัดท้ายตลาด จำนวน 30 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ซึ่งได้จากการสุ่มกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เกณฑ์ประสิทธิภาพ และการทดสอบค่าที (t-test for dependent)
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการสอนวิทยาการคำนวณ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีขั้นตอนการสอน 6 ขั้น ได้แก่ 1) ขั้นเตรียม (Preparation and Grouping: P1) 2) ขั้นกำหนดปัญหา (Problem definition: P2) 3) ขั้นดำเนินการศึกษาค้นคว้า (Proceed with research: P3) 4) ขั้นนำเสนอ (Presentation: P4) 5) ขั้นทดสอบ (Personal testing: P5) และ 6) ขั้นให้รางวัลกลุ่ม (Prize giving: P6)
2. รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ 82.13/83.11 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80/80 ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยีของนักเรียน หลังใช้รูปแบบการสอนมีคะแนนสูง กว่าก่อนใช้รูปแบบการสอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอนวิทยาการคำนวณ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในระดับมากที่สุด
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^