LASTEST NEWS

07 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 07 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 07 พ.ค. 2567(( ลิงก์เว็บไซต์ )) รับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ตั้งแต่วันที่ 8-14 พ.ค.2567 07 พ.ค. 2567สอบครูผู้ช่วยปี67รอบทั่วไป เลือกสมัครได้เขตเดียว เข้มสกัดทุจริต 05 พ.ค. 2567‘เพิ่มพูน’ ยันโรงเรียนห้ามกั๊กการออกใบเกรดหากเด็กค้างค่าเทอม 05 พ.ค. 2567ก.ค.ศ.เดินหน้ารื้อระบบ ศน.ใหม่ ยกเครื่อง ปรับบทบาทหน้าที่ เพิ่มคุณสมบัติ ดึงบุคลากรคุณภาพพัฒนาคุณภาพการศึกษา 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 04 พ.ค. 2567สพม.ชัยภูมิ ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567

การประเมินโครงการส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนด้านภาษาไทย

usericon

ชื่อเรื่อง     :     การประเมินโครงการส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนด้านภาษาไทย
โรงเรียนเทศบาลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
ผู้รายงาน    :     วีระเชษฐ์ วรรณรส
ปีการศึกษา    :     2565

บทคัดย่อ

การประเมินโครงการส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนด้านภาษาไทยโรงเรียนเทศบาลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนด้านภาษาไทย โรงเรียนเทศบาลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPPIEST Model กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 8 คน ครูผู้รับผิดชอบโครงการส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนด้านภาษาไทย จำนวน 1 คน ครูผู้สอน จำนวน 18 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 128 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถม ศึกษาปีที่ 4 จำนวน 128 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 10 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินโครงการ พบว่า
การประเมินโครงการส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนด้านภาษาไทย โรงเรียนเทศบาลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPPIEST Model จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลรวมทั้ง 8 ด้าน อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.35, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.64) เมื่อเรียงลำดับจากมากไปน้อย พบว่า การประเมินการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability Evaluation : T) มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ การประเมินประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation : E) การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation : P) การประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation : I) การประเมินบริบท (Context Evaluation : C) การประเมินผลกระทบ (Impact Evaluation : I) การประเมินความยั่งยืน (Sustainability Evaluation : S) ส่วนการประเมินผลผลิต (Product Evaluation : P) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ มีรายละเอียดดังนี้
1. ผลการประเมินบริบท (Context Evaluation : C) พบว่า โดยภาพรวมมีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย= 4.46, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.56) และผ่านเกณฑ์การประเมิน (ค่าเฉลี่ยมากกว่าหรือเท่ากับ 3.51) ทุกข้อ
2. ผลการประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation : I) พบว่า โดยภาพรวมมีความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 4.43, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.61) มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย= 4.52, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.56) และมีความเพียงพออยู่ในระดับมาก (เค่าเฉลี่ย= 4.49,ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 0.56) และผ่านเกณฑ์การประเมิน (ค่าเฉลี่ยมากว่าหรือเท่ากับ 3.51) ทุกข้อ
3. ผลการประเมินกระบวนการ (Process Evaluation : P) พบว่า โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย= 4.50,ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.56) และผ่านเกณฑ์การประเมิน (ค่าเฉลี่ยมากกว่าหรือเท่ากับ 3.51) ทุกข้อ
4. ผลการประเมินผลผลิต (Product Evaluation : P) พบว่า โดยภาพรวม มีการปฏิบัติได้ / พึงพอใจอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย= 4.02, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.98)
5. ผลการประเมินผลกระทบ (Impact Evaluation : I) พบว่า โดยภาพรวมมีการปฏิบัติได้ / พึงพอใจอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย= 4.16, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.91)
6. ผลการประเมินประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation : E) พบว่า โดยภาพรวมมีการปฏิบัติได้ / พึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย= 4.54,ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และผ่านเกณฑ์การประเมิน (ค่าเฉลี่ยมากกว่าหรือเท่ากับ 3.51) ทุกข้อ
7. ผลการประเมินความยั่งยืน (Sustainability Evaluation : S) พบว่า โดยภาพรวมมีการปฏิบัติได้ / พึงพอใจอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย= 4.05,ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.58) และผ่านเกณฑ์การประเมิน (ค่าเฉลี่ยมากกว่าหรือเท่ากับ 3.51) ทุกข้อ
8. ผลการประเมินการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability Evaluation : T) พบว่า โดยภาพรวมมีการปฏิบัติได้ / พึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย= 4.60,ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน= 0.50) และผ่านเกณฑ์การประเมิน (ค่าเฉลี่ยมากว่าหรือเท่ากับ 3.51) ทุกข้อ
thayaya2522 08 ธ.ค. 2566 เวลา 15:23 น. 0 136
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^