LASTEST NEWS

27 ก.ค. 2567ไม่ต้องผ่านภาค ก 65 อัตรา วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 16,830 บาท สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รับสมัครสอบบรรจุเป็นพนักงาน ตั้งแต่บัดนี้ - 9 สิงหาคม 2567 27 ก.ค. 2567โอกาสมาแล้ว!! น้องนิสิต นักศึกษาครู เชิญทางนี้ กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย (โครงการช้อนครู) 322 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 2 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567เมืองพัทยา เปิดสอบผู้ช่วยครูผู้ช่วย จำนวน 17 อัตรา รับสมัคร 1-9 สิงหาคม 2567  26 ก.ค. 2567สพป.นนทบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 15 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 11 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ปทุมธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567“ศธ.-มท.” เตรียมสุ่มตรวจยาเสพติดโรงเรียน 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2566 รอบที่ 7 จำนวน 1 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2567 รอบที่ 2 จำนวน 9 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี 2567 รอบที่ 2 จำนวน 8 อัตรา - รายงานตัว 7 สิงหาคม 2567

รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ ม.3

usericon

ชื่องานวิจัย :     รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียน
        ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้วิจัย :    นางอมรรัตน์ อุดมวงษ์
ปีที่วิจัย     :     ปีการศึกษา 2562

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) ศึกษาความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษ และ 3) ศึกษาผลการใช้การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ 1) การศึกษาแนวคิดและบริบทพื้นฐาน โดยการวิจัยเอกสารและการทำกรณีศึกษา 2) การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน โดยการวิจัยปฏิบัติการ 3) การประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ครูที่มีประสบการณ์ในการสอนเขียนภาษาอังกฤษระดับชั้นมัธยมศึกษา จำนวน 5 คน และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 จานวน 36 คน โรงเรียนเนินยางประชาสามัคคี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจความคิดเห็น แบบสัมภาษณ์สภาพการจัดการเรียนการสอนเขียนและการใช้พัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ Think aloud protocol แบบทดสอบความสามารถในการเขียน แบบบันทึกเหตุการณ์การสอน แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียน แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการเรียนการสอน แบบบันทึกการเรียน และแบบสะท้อนผลการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบนัยสำคัญทางสถิติโดยใช้ t-test ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยขั้นตอนการเรียนการสอน 5 ขั้น ได้แก่ 1) สร้างแรงจูงใจและกำหนดเป้าหมาย (Motivating and setting goals) 2) กระตุ้นความรู้ (Activating knowledge) 3) รับรู้การพัฒนาทักษะการเขียน (Accessing writing strategies) 4) ฝึกปฏิบัติพัฒนาทักษะการเขียน (Practicing) และ 5) ใช้พัฒนาทักษะสร้างงานเขียน (Implementing) และเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพเหมาะสำหรับนำไปใช้ในการพัฒนาความสามารถในการเขียนและการใช้พัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนได้ เมื่อนำรูปแบบการเรียนการสอนนี้ไปใช้ พบว่า นักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนนี้มีความสามารถในการเขียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักเรียนมีการใช้การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษตามที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนนี้
ในการสร้างงานเขียน



Title     :    An Instructional Model for Developing Writing Skills of the Mathayom 3 students.
Author    :     Mrs. Amornrat Udomwong
Year of Research :    Academic Year 2019.

ABSTRACT

The purposes of this research were to 1) develop an instructional model for developing
writing skills of the ninth-graders, 2) study students’ abilities in writing, and 3) study the Mathayom 3 students use of writing strategies. The research procedure comprised three phases as 1) a documentary analysis and a case study for the contextual study 2) the development of the instructional model using an action research 3) the evaluation of the use of the instructional model posttest design. The target groups consisted of 5 teachers experienced in teaching English writing and the 36 ninth – graders of class 3/1 in Nernyangprachasamakkee school. The research instruments employed at the phases were an opinion survey form, an interview form, think aloud protocol, an efficient writing test, a teaching record form, a behavioral observation form, a learning and instructional interview form, a learning record form, and a reflection form. The data were then analyzed and presented in percentages, means, and standard deviation. The t-test was used to prove statistical significance. The findings revealed that the five-stage model include 1) motivating and setting goals 2) activating knowledge 3) accessing writing strategies 4) practicing and 5) implementing stages was effective in developing the students’ writing abilities and writing strategy uses. Students’ scores in the posttest were significantly higher than those in the pretest at the level of .01. Moreover, the students used writing strategies learned in class when creating a text.
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^