LASTEST NEWS

27 ก.ค. 2567โอกาสมาแล้ว!! น้องนิสิต นักศึกษาครู เชิญทางนี้ กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย (โครงการช้อนครู) 322 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 2 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567เมืองพัทยา เปิดสอบผู้ช่วยครูผู้ช่วย จำนวน 17 อัตรา รับสมัคร 1-9 สิงหาคม 2567  26 ก.ค. 2567สพป.นนทบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 15 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 11 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ปทุมธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567“ศธ.-มท.” เตรียมสุ่มตรวจยาเสพติดโรงเรียน 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2566 รอบที่ 7 จำนวน 1 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2567 รอบที่ 2 จำนวน 9 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี 2567 รอบที่ 2 จำนวน 8 อัตรา - รายงานตัว 7 สิงหาคม 2567 24 ก.ค. 2567ยินดีด้วยครับ ! สพป.นครราชสีมา เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 จำนวน 80 อัตรา - รายงานตัว 30 กรกฎาคม 2567

นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดย “เทคนิค 6

usericon


วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)
ผลงานนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑

ชื่อผลงาน    การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยเทคนิค ๖CIRC พัฒนาการอ่านคำควบกล้ำ
ชื่อผู้เสนอ     นางสาวเอมมิกา บุญรักษา
โรงเรียน     บ้านจอก(ประชาสามัคคี)

๑. ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรมที่นำเสนอ
การอ่านมีความสำคัญต่อการพัฒนาชาติ ประเทศที่จะพัฒนาได้ต้องอาศัยประชาชนในชาติที่มีความสามารถในการอ่าน เลือกนำความรู้ และความคิดมาพัฒนาชาติให้เจริญรุ่งเรืองนอกจากนั้น การอ่านยังมีความสำคัญต่อการพัฒนาตนเอง โดยอาศัยความรู้และความคิดจากการอ่านเป็นกรอบในการดำเนินชีวิต เลือกแนวทางในการประกอบอาชีพได้ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาชั้นพื้นฐาน. ๒๕๕๐ : ๖) ส่วนการเขียนซึ่งควบคู่กับการอ่านนั้น ถือเป็นเครื่องมือแสดงออกซึ่งความรู้ ความคิด ความรู้สึกและจินตนาการของมนุษย์ทั้ง เรื่องในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เป็นเครื่องมือสำคัญทางวัฒนธรรมที่ถ่ายทอดมรดกทางสติปัญญาของมนุษย์ อันสะท้อนความเจริญหรืออารยธรรมของมนุษย์แต่ละยุคสมัยได้ทางหนึ่ง เมื่องานเขียนนั้นมีคุณค่าและสามารถ สื่อได้อย่างกว้างขวาง รวดเร็ว ก็จะช่วยสร้างความรู้ความคิดหรือความเพลิดเพลินตามเจตนาของผู้เขียนให้แก่ผู้อ่านได้อย่างกว้างขวาง รวดเร็วด้วย ผู้ที่มีความสามารถในการเขียนและผลงานเป็นที่ยอมรับในสังคม ก็สามารถยึดงานเขียนเป็นอาชีพได้ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ๒๕๕๒: ๓)
ควบกล้ำเป็นลักษณะเฉพาะที่สำคัญอย่างหนึ่งของภาษาไทย เพราะคำที่ใช้คำควบกล้ำมีลักษณะที่ทำให้ เสียงในภาษาไทยมีความไพเราะ และแสดงถึงความประณีตของการออกเสียงคำ เพราะการออกเสียงคำควบกล้ำจะแตกต่างจากการออกเสียงคำที่มีพยัญชนะต้นเดียว หากผู้พูดไม่ระมัดระวังในการออกเสียงจะออกเสียงผิดเป็นสาเหตุหนึ่งในการเขียนผิดและทำให้ความหมายที่ต้องการสื่อสารผิดไปด้วย การไม่ระมัดระวังการออกเสียงอ่านหรือพูดไม่ชัดเจนนอกจากทำให้ความหมายผิดพลาด แล้วยังทำให้เสียบุคลิกภาพของผู้พูดหรือผู้อ่านนั้นด้วยปัจจุบันคนไทยส่วนใหญ่ไม่ค่อยให้ความสำคัญต่อการออกเสียงคำที่ใช้คำควบกล้ำให้ถูกต้องชัดเจน แม้คนที่อยู่ใน วงการศึกษาหรือบุคคลที่มีตำแหน่งหน้าที่สำคัญของประเทศก็จะพูดตามสบายขาดความระมัดระวังใน เรื่องการออกเสียงคำประเภทนี้ โดยส่วนมากจะออกเสียงเฉพาะพยัญชนะต้นหน้าส่วนตัวควบจะไม่ออกเสียงเลยทำให้ภาษาผิดเพี้ยนไป ซึ่งจะเป็นตัวอย่างให้เยาวชนรุ่นหลังไม่ให้ความสำคัญต่อการอ่านและออกเสียงคำภาษาไทยให้ถูกต้องด้วยจึงควรให้ครูผู้สอนจะได้สร้างความตระหนักให้นักเรียนได้เห็นความจำเป็นและความสำคัญใน เรื่องการออกเสียงอ่านและพูดคำที่ใช้คำควบกล้ำให้ถูกต้อง (กระทรวงศึกษาธิการ. ๒๖๔๖ : ๑๖๘)
โรงเรียนบ้านจอก(ประชาสามัคคี) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต ๔ ตั้งอยู่ในพื้นที่พูดภาษาอีสาน และมีภาษาพื้นถิ่น ๔ เผ่า คือ ส่วย เขมร ลาว เยอ ผู้เรียนจึงมีปัญหาในเรื่องการอ่าน การเขียนคำควบกล้ำสาเหตุสำคัญ คือ ผู้เรียนเกิดความเคยชินในการใช้ภาษาอยู่ที่บ้านกับครอบครัวเมื่อมาฝึกเรียน ภาษาไทยจึงทำให้เกิดปัญหาการอ่านและเขียนคำควบกล้ำ ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทยให้ถูกต้องตามเกณฑ์ทางภาษาอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ ผลจากการประเมินทักษะการอ่านออกเสียงและการเขียนตามคำบอกของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ปีการศึกษา ๒๕๖๔ พบว่าผู้เรียนสามารถอ่านภาษาไทยได้ถูกต้องเฉลี่ยร้อยละ ๗๕.๑๕ ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดไว้ร้อยละ ๘๐ ในการอ่านออกเสียงโรงเรียนได้ทำ การฝึกเป็นประจำทุกวันโดยบัญชีคำพื้นฐานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต ๔ พบว่าคำที่ผู้เรียนมีปัญหามากที่สุดคือ การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ นอกจากผู้เรียนมีปัญหาเรื่องการอ่านการเขียนคำควบกล้ำแล้วผู้เรียนยังขาดทักษะในการทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม
จากสภาพดังกล่าวผู้วิจัยได้ศึกษาแนวทางในการเสริมสร้างกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดทักษะการอ่านคำควบกล้ำร่วมกัน ได้มีทักษะกระบวนการกลุ่มมีความรับผิดชอบโดยเลือกใช้วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือแบบ CIRC โดยใช้แบบฝึกทักษะเป็นสื่อในการเรียนการสอน การอ่านและการเขียนคำควบกล้ำนั้นให้นักเรียนสนใจและเรียนรู้อย่างสนุกสนานและได้ฝึกบ่อยๆ เพื่อให้เกิดความแม่นยำ ได้พัฒนาแบบฝึกทักษะประกอบการเรียนซึ่ง มะลิ แต่งพงษ์ (๒๕๕๔ : ๗๓) ได้ศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกลุ่มร่วมมือ แบบ CIRC กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง การอ่านจับใจความ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ พบว่า จัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือแบบ CIRC เป็นรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่นั่นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่งเสริมให้เกิด ความช่วยเหลือกันในกลุ่มของผู้เรียนและกระตุ้นให้ผู้เรียนได้เรียนตามความสามารถของตนสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล คือ นักเรียนที่เรียนช้ามีเวลาฝึกฝนมากขึ้น เด็กที่เรียนเร็วมีโอกาสช่วยเหลือเพื่อนที่อ่อนกว่าในกลุ่ม ช่วยให้เกิดการยอมรับซึ่งกันและกันภายในกลุ่ม นักเรียนที่เรียนอ่อนได้รับการยอมรับและเห็นคุณค่าของนักเรียนเก่ง และกิจกรรมกระบวนการกลุ่มทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ในการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน การให้ความเอาใจใส่ร่วมมือกันเป็นการส่งเสริมทักษะทางสังคม นักเรียนมีความรับผิดชอบมี ความสามัคคี ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุข
กิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIRC เป็นการเรียนรู้แบบผสมผสานการอ่านและการเขียน (Cooperative Integrated Reading and Composition) หรือ CIRC เป็นวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนที่มีพื้นฐานเติมจาก การมุ่งเพื่อใช้ในการเรียนภาษา เพื่อพัฒนาทักษะสัมพันธ์ของการพูด อ่าน เขียน ไปพร้อมกัน ทักษะทางภาษา สามารถพัฒนาให้บรรลุผลสำเร็จได้ ถ้าครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ถูกต้องเหมาะสมในทุกบริบทของการเรียนรู้ เช่นเดียวกับทักษะการอ่านที่ประกอบด้วยสมรรถภาพการอ่านในหลาย ๆ ด้าน เช่น การอ่านเพื่อความเข้าใจ เพื่อจับใจความสำคัญ เพื่อการสื่อสารหรือเพื่อหาประเด็นสำคัญ (วัชรา เล่าเรียนดี. ๒๕๔๘ : ๑๗๘) เป็นกิจกรรม การเรียนที่มีการฝึกกระบวนการกลุ่มและทักษะการทำงานร่วมกันทางสังคมโดยแต่ละกลุ่มจะประกอบด้วยนักเรียนที่เก่ง ปานกลางและอ่อน ร่วมกันทำกิจกรรมร่วมกันโดยสมาชิกทุกคนต้องร่วมกันรับผิดชอบ และช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการทำกิจกรรมต่างๆ ให้ประสบความสำเร็จ
จากข้อมูลข้างต้นสรุปได้ว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ มีความสำคัญและมีประโยชน์อย่างยิ่ง ในการพัฒนาทักษะทางภาษา จึงเห็นว่าทักษะการอ่านและการเขียนควรสอนควบคู่กัน เพื่อเสริมซึ่งกันและกันสอดคล้องกับ สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ (๒๕๔๘ : ๑) การอ่านคือพลังของการเรียนรู้ การได้เรียนรู้อักขรวิธี การเขียนภาษาใดภาษาหนึ่งผ่านการอ่านทำให้ผู้เรียนสามารถสืบค้นข้อมูลได้อย่างไม่รู้จบ
จากความสำคัญและสภาพปัญหาการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำดังกล่าวข้างต้น ทำให้ต้องมีการพัฒนาด้านการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำ โดยเทคนิค ๖CIRC พัฒนาการอ่านคำควบกล้ำ เพื่อให้นักเรียนมีทักษะด้านการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้น

๒. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
๒.๑ วัตถุประสงค์
๒.๑.๑ เพื่อให้นักเรียนสามารถบอกหลักการอ่านคำควบกล้ำ และอ่านออกเสียงคำควบกล้ำได้
ชัดเจน ถูกต้องตามอักขรวิธี
๒.๑.๒ นักเรียนเห็นความสำคัญของการออกเสียงคำควบกล้ำ
๒.๑.๓ นักเรียนมีความรับผิดชอบต่องานที่สั่งและส่งงานได้ทันตามที่กำหนด และมีส่วนร่วมในการ
เรียนและกิจกรรมต่างๆ
๒.๒ กลุ่มเป้าหมาย
        ๒.๒.๑ เป้าหมายเชิงปริมาณ
            ๑) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ จำนวน ๒๔ คน นักเรียนร้อยละ ๗๐ สามารถอ่านและเขียนคำควบกล้ำได้ชัดเจน ถูกต้องตามอักขรวิธี
        ๒.๒.๑ เป้าหมายเชิงคุณภาพ
        ๑) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ สามารถอ่านออกเสียงคำที่มีพยัญชนะควบกล้ำ ได้ชัดเจน ถูกต้องตามอักขรวิธี และสามารถนำทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
            ๒) นักเรียนเห็นความสำคัญของการออกเสียงคำควบกล้ำ
๓) นักเรียนมีความรับผิดชอบต่องานที่สั่งและส่งงานได้ทันตามที่กำหนด และมีส่วนร่วม
ในการเรียนและกิจกรรมต่างๆ
การดำเนินการตามกิจกรรม
๑.    ขั้นเตรียมการ (Plan)
๑)    วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ (ฉบับปรับปรุงพ.ศ.
๒๕๖๑) และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนบ้านจอก(ประชาสามัคคี) ในเรื่องของมาตราฐานใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิด เพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัย รักการอ่าน และตัวชี้วัด อ่านออกเสียงบท ร้อยแก้วและบทร้อยกรองได้ถูกต้อง และมีมารยาทในการอ่าน
๒)    ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งในแผนการจัดการเรียนรู้นอกจากจะกำหนด
มาตรฐานการเรียบรู้และตัวชี้วัดแล้ว จะกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ครอบคลุมทั้ง ๓ ด้าน คือ ด้านความรู้(K) ด้านทักษะ กระบวนการ(P) และด้านเจตคติหรือคุณลักษณะอันพึ่งประสงค์(A)
๓)    ใช้เทคนิควิธี“๖ CIRC” พัฒนาการอ่านคำควบกล้ำ
๒.    ขั้นดำเนินการ (Do)
การพัฒนาผลงานและนวัตกรรมของนักเรียนจากการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้
เทคนิค “๖ CIRC” พัฒนาการอ่าน เขียน คำควบกล้ำ มีรูปแบบดังนี้    

๑. ขั้นเตรียมความพร้อม (preparatory stage)
เป็นขั้นการนำเข้าสู่บทเรียน โดยครูและนักเรียนเคารพซึ่งกันและกัน เพื่อเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้ การรับสิ่งใหม่ๆ และดำเนินการตามข้อตกลงของชั้นเรียน โดยให้นักเรียนท่องบทอาขยานก่อนเริ่มเรียนทุกครั้ง แล้วทำเบรนยิมท่าต่างๆ เพื่อฝึกสมาธิ จิตใจจดจ่อ อยู่กับตัวเอง เหตุการณ์การเรียนการสอนในขั้นนี้ประกอบด้วย
๒. ขั้นนำเสนอความรู้ใหม่ (offer new knowledge)
เป็นขั้นที่ครูผู้สอน เปิดโอกาสให้เด็กทุกคนได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยนำเสนอความรู้ ใหม่ ผ่านสื่อการเรียนรู้ที่น่าสนใจ เช่น สื่อของจริง บัตรภาพ บัตรคำ บทกลอน บทเพลง กระดานเคลื่อนที่ เป็นต้น เนื่องจากนักเรียนทุกคนมีความต่างกัน มีประสบการณ์ มีพื้นฐานเฉพาะตัว เหตุการณ์การเรียนการสอนในขั้นนี้ประกอบด้วย
- ครูแจกบัตรคำให้นักเรียนคนละ ๑ คำ แล้วให้นักเรียนเขียนคำที่ได้ใส่ในกระดานส่วนตัว จากนั้นอ่านคำที่ได้ให้เพื่อนๆ และครูฟัง ตามลำดับ โดยครูอ่านออกเสียงซ้ำทวนคำให้นักเรียนฟัง ครูชื่นชมและขอบคุณนักเรียนทุกคน

- จากกิจกรรมครูเชื่อมโยงถึงจุดประสงค์ของการเรียนรู้ในวันนี้คือ เรื่อง การอ่านคำควบกล้ำ ให้นักเรียนทราบหลักการอ่าน โดยครูพานักเรียนฝึกออกเสียง ร ล ว
- ครูเปิดวิดีโอ https://www.youtube.com/watch?v=๒nJ๙๓rNWfWM เรื่อง คำควบกล้ำ ร ล ว ให้นักเรียนดู

๓. ขั้นวิเคราะห์ และสรุปเนื้อหาสร้างความคิดใหม่ (Analyze and summarize content to generate new ideas) เป็นขั้นที่ครูผู้สอนให้นักเรียนได้ฝึกคิดเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมที่มีอยู่ ฝึกคิดแยกแยะ เหตุการณ์การเรียนการสอนในขั้นนี้ประกอบด้วย
- ครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักการอ่านคำควบกล้ำ
- ครูแจกใบความรู้ที่ ๑ เรื่อง การอ่านคำควบกล้ำ
- ครูสุ่มนักเรียน โดยใช้ไม้สุ่มเรียกชื่อ ให้บอกความหมายของคำควบกล้ำตามความเข้าใจของ
ตนเอง โดยเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมที่มี จากนั้นครูให้นักเรียนทุกคนอ่านออกเสียงความหมายของคำควบกล้ำจากใบความรู้ที่ ๑ พร้อมๆ กัน พร้อมอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับความหมายของคำควบกล้ำ
๔. ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ (exchange knowledge/practice)
เป็นขั้นที่ครูผู้สอนเปิดโอกาสให้นักเรียนฝึกทำ โดยลงมือทดลองใช้ความรู้ ด้วยกิจกรรมต่างๆ เช่น ฝึกทำ
โดยใช้สื่อจากมุมสื่อ พานักเรียนไปดูของจริง สำรวจและบันทึกจากสิ่งที่พบเห็น ทำกิจกรรมจากใบงาน เช่น เล่นเกมบิงโก ทำให้เด็กได้เคลื่อนไหว ลุกขึ้นจากโต๊ะเพื่อไปทำกิจกรรม และควรมีใบงานที่ให้นักเรียนได้ประยุกต์ใช้ความรู้ และคิดสร้างสรรค์ด้วยตัวเอง เหตุการณ์การเรียนการสอนในขั้นนี้ประกอบด้วย
-ให้นักเรียนฝึกสังเกตคำจากบัตรคำที่ได้ ว่ามีพยัญชนะต้นสองตัว เช่น กว ขร ปล และให้
นักเรียนฝึกออกเสียงตามครู เช่น คำว่า เปลี่ยนแปลง กล้วย พร้อมอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ
-ครูให้นักเรียนอ่านออกเสียงความหมายคำควบกล้ำไม่แท้ จากใบความรู้ที่ ๑ เรื่อง การอ่าน
ออกเสียงคำควบกล้ำ
-ครูอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักการสังเกตคำควบกล้ำไม่แท้ และให้นักเรียนฝึกสังเกตคำจาก
บัตรคำของตัวเองว่ามีใครได้คำควบกล้ำไม่แท้ แล้วให้นักเรียนได้ Share&Learn ซึ่งกันแล้วกัน
        -ครูให้ตัวแทนนักเรียนแต่ละแถวนำบัตรคำที่ได้ มาติดบนตะแกรงที่เตรียมไว้ โดยแยกเป็นคำควบกล้ำแท้ และควบกล้ำไม่แท้ และครูเตรียมความพร้อมนักเรียนด้วยเพลงความเกรงใจ
-นักเรียนทุกคนฝึกอ่านออกเสียง คำควบกล้ำจากบัตรคำที่ติดไว้บนตะแกรง ครูและนักเรียน
ร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง

        - ครูและนักเรียนฝึกอ่านออกเสียงคำควบกล้ำจากบทประพันธ์ นั่งเกวียนชมกวาง พร้อมกัน
๕. ขั้นประยุกต์ใช้/ขยายความรู้ (apply/expand knowledge)
เป็นขั้นที่ครูผู้สอนให้นักเรียนประยุกต์ใช้ความรู้ในสถานการณ์ใหม่ๆ ในขั้นนี้ โดยมากนักเรียนจะเริ่มนำความรู้ไปสร้าง (make) หรือ ผลิต (produce) ชิ้นงานใหม่ๆ เช่น แต่งนิทาน ทำหนังสือเล่มเล็ก แสดงละคร โต้วาที จัดบอร์ดผลงาน นิทรรศการ เป็นต้น แต่งานขั้นนี้ เป็นไปได้ยากที่จะทำทุกชั่วโมง แต่ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับความรู้ ความสามารถ และความชำนาญของผู้สอนเอง เหตุการณ์การเรียนการสอนในขั้นนี้ประกอบด้วย
- แจกใบงานที่ ๑ เรื่อง การอ่านคำควบกล้ำ ให้นักเรียนลงมือทำ
- นักเรียนแต่ละคนนำความรู้ที่ได้รับ มาลงมือทำใบงานที่ ๑


๖. ขั้นประเมินผล (Evaluate)
เป็นขั้นที่ครูผู้สอนกับผู้เรียนร่วมสรุป และทบทวนความรู้ที่ได้รับ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องกับเนื้อหาที่เรียน ทั้งจะนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างไร เหตุการณ์การเรียนการสอนในขั้นนี้ประกอบด้วย
    - ครูให้นักเรียน Share คำควบกล้ำที่ได้จากใบงานที่ ๑ ให้เพื่อนๆ ฟัง
- ครูสุ่มนักเรียนจากไม้สุ่มเรียกชื่อ ให้นักเรียนได้สรุปหลักการอ่านคำควบกล้ำให้เพื่อนๆ ฟัง
ครูชมเชยนักเรียน พร้อมทั้งอธิบายเพิ่มเติมเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง
- ครู Empower นักเรียนทุกคน พร้อมทั้งขอบคุณที่ตั้งใจเรียน ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน

๓. ขั้นตรวจสอบและประเมินผลการพัฒนางาน (Check)

๑)    ผู้เรียนมีความตื่นตัวในการเข้าร่วมกิจกรรม
๒)    เมื่อผู้เรียนแบ่งประเภทของคำควบกล้ำ และทำใบงานแล้ว ครูผู้สอนทำหน้าที่ตรวจสอบ และ
เสนอแนะ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันกับผู้เรียน

๓.    ขั้นสรุปและรายงาน (Action)
Reflection หรือ ถอดบทเรียน เป็นขั้นตอนการนำเสนอผลงานของนักเรียนแต่ละกลุ่มที่ได้
ออกมาแบ่งประเภทคำควบกล้ำ เขียนคำควบกล้ำในใบงาน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน นอกจากนี้กระบวนการถอดบทเรียนจากการแบ่งประเภทคำควบกล้ำ เขียนคำควบกล้ำในใบงาน จะสามารถตรวจสอบได้ว่าผู้เรียนได้เรียนรู้อะไรในครั้งนี้แล้ว ยังเป็นการทบทวนกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นตลอดทั้งชั่วโมงที่ผ่านมา หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นการตกผลึกความคิดในเรื่องนั้นๆ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงองค์ความรู้ที่ได้รับกับการนำไปใช้จริงในชีวิตประจำวัน โดยมีครูผู้สอนดูแลอย่างใกล้ชิด



๔. ผลการดำเนินการ/ผลสัมฤทธิ์/ประโยชน์ที่ได้รับ
    ๔.๑ ผลการดำเนินการ
ด้านความรู้ (Knowledge)
    นักเรียนบอกหลักการอ่านคำควบกล้ำได้ โดยดูผลลัพธ์จากการทำใบงาน ที่นักเรียนสามารถบอกคำควบกล้ำและเข้าใจหลักการอ่านคำควบกล้ำได้ จากใบงานที่ ๑ เรื่อง การอ่านคำควบกล้ำ การมีส่วนร่วมในการตอบสนองต่อการเรียนและมีผลคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ ๗๐ ขึ้นไป
ทักษะ (P)
นักเรียนอ่านออกเสียงคำควบกล้ำได้ถูกต้องตามอักขระ โดยดูผลลัพธ์จากกิจกรรม การแจกบัตรคำให้ คนละ ๑ บัตรคำ นักเรียนสามารถอ่านออกเสียงคำควบกล้ำได้ และมีการเว้นวรรคตอนในการอ่าน สามารถอ่านได้อย่างคล่องแคล่ว จากกิจกรรมฝึกอ่านคำควบกล้ำจากการอ่านบัตรคำที่เพื่อนำมาติดตะแกรง ฝึกอ่านบทนั่งเกวียนชมกวาง จากหนังสือเรียนภาษาไทย ชุดพื้นฐาน ฝึกอ่านบทร้อยกรองสำหรับคำควบกล้ำ ที่มีตัว ร ล ว จากใบงานที่ ๑ และกิจกรรมการทำใบงานที่ ๑ เรื่อง การอ่านคำควบกล้ำ นักเรียนสามารถบอกคำควบกล้ำได้ถูกต้อง และการมีส่วนร่วมในการตอบสนองต่อการเรียนและมีผลคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ ๗๐ ขึ้นไป
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (A)
นักเรียนมีความรับผิดชอบต่องานที่สั่งและส่งงานได้ทันตามที่กำหนด ใฝ่เรียนรู้และมีส่วนร่วมใน
การ เรียนและกิจกรรมต่าง ๆ
๔.๒ ผลสัมฤทธิ์
ผลการดำเนินงานการจัดการเรียนการสอน Active learning โดยใช้ใช้เทคนิค ๖ CIRC พัฒนาการอ่าน เขียน คำควบกล้ำ พบว่า ผู้เรียนได้เห็นค่าในตัวเอง ทั้งนักเรียนกลุ่มอ่อน ปานกลาง และเก่ง ทั้งเห็นความสำคัญของการออกเสียงคำควบกล้ำ จึงทำให้สามารถอ่านออกเสียงคำที่มีพยัญชนะควบกล้ำได้ชัดเจน ถูกต้องตามอักขรวิธี นำทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีความรับผิดชอบต่องานที่สั่ง ส่งงานได้ทันตามที่กำหนด มีส่วนร่วมในการเรียน และกิจกรรมต่างๆ อันจะส่งผลต่อผู้เรียนในการพัฒนาตัวเองเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับวิชาอื่นๆ ต่อไป
๔.๓ ประโยชน์ที่จะได้รับ
๔.๓.๑ นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรม เป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทำให้เกิดความมั่นใจในตนเอง กล้าแสดงออกมีการสร้างสรรค์ผลงาน
๔.๓.๒ ได้รับความรู้ในเนื้อหาสาระของวิชา ฝึกกระบวนการทำงานเป็นกลุ่มการนำเสนอ
๔.๓.๓ นักเรียนเกิดปฏิสัมพันธ์ทีดีกับเพื่อนในห้องที่มีความหลากหลายในกลุ่ม เก่ง ปานกลาง และอ่อน โดยมีส่วนร่วมทั้งทางร่างกาย สังคมอารมณ์และสติปัญญา

๕. ปัจจัยความสำเร็จ
๕.๑ การจัดการเรียนการสอน Active learning โดยใช้ใช้เทคนิค ๖ CIRC พัฒนาการอ่าน เขียน คำควบกล้ำ มีการวางแผนในการจัดกิจกรรมการเรียบรู้อย่างเป็นระบบ รัดกุม ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน
๕.๒ ครูและนักเรียนกล้าที่จะก้าวข้ามดจำกัดของตนเอง กล้าคิด กล้าลงมือทำ หวังผลเพื่อพัฒนาตนเองไห้เต็มศักยภาพ
๕.๓ ผู้เรียนสามารถคิดเรื่องอย่างเป็นระบบมีขั้นตอนในการคิด อันจะส่งผลต่อผู้เรียนในการพัฒนาตัวเองเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับวิชาอื่นๆ
๕.๔ การกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ที่เน้นการฝึกกระบวนการเรียนมีความชัดเจนทำให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้
๕.๕ ผู้บริหารและคณะครูให้ความเห็นชอบและให้การสนับสนุนการดำเนินกิจกรรม มีวัสดุอุปกรณ์ ที่ใช้ในการจัดก็จกรรมอย่างเพียงพอ

๖. บทเรียนที่ได้รับ
๖.๑ การระบุข้อมูลที่ใด้รับจากการผลิตและการนำผลงานไปใช้
๖.๑.๑ ผู้เรียนสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
๖.๑.๒ ผู้เรียนมีความภาคภูมิใจในตนเอง ที่สามารถพูดนำเสนอ ออกเสียงคำควบกล้ำ ได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน
๖.๑.๓ ผู้เรียนเกิดการรับรู้ความรู้นั้นอย่างมีความหมาย เพราะผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง จึงทำให้สามารถเก็บเป็นข้อมูลไว้ในสมองได้อย่างยาวนาน และนำมาใช้ได้เมื่อมีสถานการณ์ใด ๆ มาเผชิญหน้า
๖.๒ ข้อเสนอแนะ ข้อควรระวัง
๖.๒.๑ ผู้เขียนขาดประสบการณ์และทักษะในการนำเสนอต่อหน้าสาธารณะ ทำให้การออกเสียงคำควบกล้ำ ไม่ชัดเจน ถูกต้อง การจัดทำผลงานหรือนวัตกรรมครั้งนี้ ผู้สอนจำเป็นต้องดูแล ให้คำแนะนำในลักษณะของ ผู้อำนวยความสะดวก(Facilitator) และผู้ให้คำแนะนำ (Coach) อย่างใกล้ชิด พร้อมช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหา ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น
๖.๒.๒ ผู้สอนต้องวางแผนการจัดทำผลงานหรือนวัดกรรมของนักเรียนให้มีความชัดเจน รัดกุม เพื่อให้
การดำเนินงานเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้
๖.๓ แนวทางการพัฒนานวัตกรรมเพิ่มเติม
การพัฒนาผลงานหรือนวัตกรรมของนักเรียนด้วยการจัดการเรียนการสอน Active leaming โดยใช้เทคนิค ๖ CIRC พัฒนาการอ่าน เขียน คำควบกล้ำ ควรจัดทำในรูปแบบของสื่อออนไลน์ เช่น e-book เพื่อให้สามารถมีผู้เข้าถึงองค์ความรู้ที่นักเรียนได้ศึกษา คันคว้าและเรียบเรียงอย่างเป็นระบบได้จำนวนมากและวงกว้างยิ่งขึ้น หรือเข้าถึงโดยการสแกน OR code

ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^