LASTEST NEWS

29 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 29 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบ ภาค ก ตำแหน่ง ผอ. - รองผอ.สถานศึกษา ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 29 เม.ย. 2567สพป.นครศรีธรรมราช เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 26 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 29 เม.ย. 2567สพป.อุดรธานี เขต 4 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 36 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 29 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 เม.ย. 2567สพม.ศรีสะเกษ ยโสธร ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ศรีสะเกษ ยโสธร 29 เม.ย. 2567สพป.สิงห์บุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.สิงห์บุรี 29 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 29 เม.ย. 2567สพม.กรุงเทพมหานคร เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.กรุงเทพมหานคร เขต 2

รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของ...

usericon

ชื่อเรื่อง    รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
โรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม
ผู้รายงาน    นายชัยมงคล ศรีนวล
สถานศึกษา    โรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา
สังกัด     สำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ปีการศึกษา    2566

บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม มีวัตถุประสงค์ในการประเมิน ดังนี้ 1) เพื่อประเมินบริบท (Context Evaluation) 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า(Input Evaluation) 3) เพื่อประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) และ 4) เพื่อประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ที่เกี่ยวกับคุณลักษณะความพอเพียงตามหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และ 5) เพื่อประเมินความพึงพอใจของโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้จากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน R.V.Krejcie and D.W.Morgan ประกอบด้วย คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน ทั้งหมด 384 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน เป็นแบบสอบถามเพื่อการประเมิน แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scales) ได้แก่ แบบสอบถามเพื่อการประเมิน จำนวน 7 ชุด ได้แก่ ชุดที่ 1 แบบสอบถามเพื่อการประเมินก่อนเริ่มดำเนินงานโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม สำหรับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีทั้งหมด 2 ฉบับ ชุดที่ 2 แบบสอบถามเพื่อการประเมินก่อนเริ่มดำเนินงานโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม สำหรับครูผู้สอน มีทั้งหมด 4 ฉบับ ชุดที่ 3 แบบสอบถามเพื่อการประเมินระหว่างดำเนินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม สำหรับครูผู้สอน ชุดที่ 4 แบบสอบถามเพื่อการประเมินหลังการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม สำหรับคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีทั้งหมด 2 ฉบับ ชุดที่ 5 แบบสอบถามเพื่อการประเมินหลังการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม สำหรับครูผู้สอน มีทั้งหมด 2 ฉบับ ชุดที่ 6 แบบสอบถามเพื่อการประเมินหลังการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม สำหรับนักเรียน มีทั้งหมด 2 ฉบับ ชุดที่ 7 แบบสอบถามเพื่อการประเมินหลังการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม สำหรับผู้ปกครองนักเรียน มีทั้งหมด 2 ฉบับ มีค่าความเชื่อมั่น อยู่ระหว่าง 0.914 - 0.965 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปเพื่อหา ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การประเมินโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียน บ้านใหญ่พิทยาคม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โดยใช้ CIPP Model ปรากฏผล ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการ (Context) พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครูผู้สอน มีระดับความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( "x" ̅ = 4.33, S.D. = 0.43 ) ทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน ได้แก่ ความเป็นไปได้ของการบรรลุเป้าหมายของโครงการ ( "x" ̅ = 4.49, S.D. = 0.37 ) และความสอดคล้องของโครงการกับนโยบายของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ( "x" ̅ = 4.38, S.D. = 0.61)
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ (Input Evaluation) พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครูผู้สอน มีระดับความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( "x" ̅ = 4.45, S.D. = 0.29) ทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน ได้แก่ คณะกรรมการดำเนินงานมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ( "x" ̅ = 4.54, S.D. = 0.52 ) และงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินโครงการมีความเหมาะสมกับโครงการ ( "x" ̅ = 4.54, S.D. = 0.56 )
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการของโครงการ (Process Evaluation) พบว่า ครูผู้สอนมีระดับความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( "x" ̅ = 4.51, S.D. = 0.29 ) ทุกรายการผ่านเกณฑ์การประเมิน ได้แก่ การปฏิบัติงานเป็นไปตามกำหนดของระยะเวลา ( "x" ̅ = 4.71, S.D. = 0.28 ) และการประชุมวางแผนการดำเนินงาน ( "x" ̅ = 4.67, S.D. = 0.42 )
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ (Product Evaluation) ที่เกี่ยวกับคุณลักษณะ ความพอเพียงตามหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน มีระดับความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( "x" ̅ = 4.57, S.D. = 0.34) ได้แก่ กิจกรรมพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (¯("X " )= 4.68, S.D. = 0.48 ) กิจกรรมสวดมนต์ไหว้พระทุกวันศุกร์ ( "x" ̅ = 4.57, S.D. = 0.40 ) กิจกรรมคนดี ศรีบ้านใหญ่ ( "x" ̅ = 4.55, S.D. = 0.40 ) และกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาโซนพื้นที่ ( "x" ̅ = 4.33, S.D. = 0.75 )
5. ผลการประเมินความพึงพอใจของโครงการ พบว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน มีระดับความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( "x" ̅ = 4.61, S.D. = 0.46 )
สรุปได้ว่า โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ เป็นโครงการที่สมควรดำเนินการ อย่างต่อเนื่อง

ข้อเสนอแนะ
จากผลการประเมิน พบว่า โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน ผลการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมิน หมายถึง การดำเนินงานโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคมประสบความสำเร็จ ซึ่งแสดงว่า การดำเนินการ 5 กิจกรรม ได้แก่ 1) กิจกรรมพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) กิจกรรมสวดมนต์ไหว้พระทุกวันศุกร์ 3) กิจกรรมคนดี ศรีบ้านใหญ่ 4) กิจกรรมจิตอาสา และ 5) กิจกรรมออมทรัพย์ประจำห้องเรียน มีความเหมาะสมที่ผู้บริหารสถานศึกษาควรสนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมทั้ง 5 กิจกรรม เนื่องด้วยเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การปฏิบัติตนให้พอประมาณกับศักยภาพของตนเองและสถานการณ์สภาพแวดล้อม ทำให้ผู้เรียนดำเนินชีวิตด้วยความพอประมาณ มีเหตุผล
มีภูมิคุ้มกันในตัวเอง มีความรู้และมีคุณธรรม
1. จากผลการประเมินด้านบริบท ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครูผู้สอน พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนและผู้นำชุมชนให้การสนับสนุน มีระดับความสอดคล้องเป็นลำดับสุดท้าย ดังนั้น ผู้บริหารโรงเรียนควรแสดงบทบาทผู้นำในชุมชน เพื่อช่วยให้เกิดความร่วมมือ ความเข้าใจ ความสัมพันธ์อันดีระหว่างชุมชนหรือท้องถิ่นในการสนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมของทางโรงเรียนในทุกมิติ
2. จากผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและครูผู้สอน พบว่า สถานที่ในการดำเนินโครงการมีความเหมาะสมปลอดภัย มีระดับความคิดเห็นเป็นลำดับสุดท้าย ดังนั้น ผู้บริหารควรวางแนวนโยบายเพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อม พัฒนาและปรับปรุง ซ่อมแซม อาคารเรียน ห้องเรียน ให้มีความปลอดภัยและพร้อมใช้งานตลอดเวลา รวมทั้งพื้นที่บริเวณในการ ทำกิจกรรมของโครงการ
3. จากผลการประเมินด้านกระบวนการ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน พบว่า การสรุปรายงานผลการปฏิบัติงาน มีระดับความคิดเห็นเป็นลำดับสุดท้าย ดังนั้น ผู้บริหารควรมุ่งเน้นการนิเทศ กำกับติดตามการสรุปรายงานผลการปฏิบัติงาน ก่อนดำเนินงาน ระหว่างดำเนินงาน และหลังการดำเนินงาน ของผู้รับผิดชอบโครงการเพื่อให้การดำเนินงานได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
4. จากผลการประเมินด้านผลผลิต (Product) ที่เกี่ยวกับคุณลักษณะความพอเพียงตามหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ตามความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครูผู้สอน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน แบ่งตามคุณลักษณะความพอเพียงตามหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ทั้ง 5 กิจกรรม ดังนี้
4.1 กิจกรรมพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า มีภูมิคุ้มกันในตัวเอง มีระดับความสอดคล้องเป็นลำดับสุดท้าย ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ควรเพิ่มและออกแบบกิจกรรมให้มีความหลายหลายซึ่งกิจกรรมที่ดำเนินเนินการในศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านใหญ่พิทยาคม ทั้ง 7 กิจกรรม ได้แก่ 1) กิจกรรมการเลี้ยงปลาในบ่อดิน 2) กิจกรรมการเลี้ยงปลาในบ่อซีเมนต์ 3) กิจกรรมเลี้ยงกบ 4) กิจกรรมทำนาในบ่อซีเมนต์ 5) กิจกรรมปลูกพืชผักสวนครัว 6) กิจกรรมปลูกกล้วยน้ำว้า 7) กิจกรรมปลูกมะนาวในท่อซีเมนต์ อาจเป็นกิจกรรมที่ยังไม่ครอบคลุมตามความถนันและความสนใจของผู้เรียน ควรขยายผลกิจกรรมให้ลงสู่ชุมชน ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้การผลิตและการจำหน่ายเพิ่มขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนได้มีทักษะเพิ่มขึ้นและมีภูมิคุ้มกันในการดำรงชีวิตที่หลากหลาย
4.2 กิจกรรมสวดมนต์ไหว้พระทุกวันศุกร์ พบว่า ด้านความรู้ มีระดับความสอดคล้องเป็นลำดับสุดท้าย ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ควรออกแบบวางแผนการทำกิจกรรม โดยอาจจัดทำเป็นปฏิทิน ตารางกิจกรรมตลอดภาคเรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าใจวัตถุประสงค์ของการทำกิจกรรม และมีความรู้ในกิจกรรมสวดมนต์ไหว้พระทุกวันศุกร์ เช่น ความรู้ในเรื่องการกราบพระ ความรู้ในเรื่องบทสวดมนต์ ความรู้ในการยประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เป็นต้น
4.3 กิจกรรมคนดี ศรีบ้านใหญ่ พบว่า ด้านความรู้ มีระดับความสอดคล้องเป็นลำดับสุดท้าย ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ควรมีการประชุมวางแผนงานเพิ่มเติมในการออกแบบกิจกรรมคนดี ศรีบ้านใหญ่ เพื่อให้ผู้เรียนได้มีความรู้ให้มากขึ้น เช่น คุณธรรมสร้างสรรค์คนดี วิถีพอเพียงหรือหลักธรรมยึดเหนี่ยวจิตใจในการกระทำตน เพื่อให้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมคนดี ศรีบ้านใหญ่
4.4 กิจกรรมจิตอาสาพัฒนาโซนพื้นที่ พบว่า ด้านความรู้ มีระดับความสอดคล้องเป็นลำดับสุดท้าย ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ควรมีการประชุมวางแผนงานเพิ่มเติมในการออกแบบกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาโซนพื้นที่ เพื่อเพิ่มเติมความรู้ในการทำกิจกรรม เช่น ความรู้หรือทักษะการใช้อุปกรณ์ทำความสะอาด ความรู้ในเรื่องเทคนิควิธีการทำความสะอาด เป็นต้น
4.5 กิจกรรมออมทรัพย์ประจำห้องเรียน พบว่า ด้านความรู้ มีระดับความสอดคล้องเป็นลำดับสุดท้าย ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ควรมีการประชุมวางแผนงานเพิ่มเติมในการออกแบบกิจกรรมออมทรัพย์ประจำห้องเรียนเพื่อเพิ่มเติมความรู้ในเรื่องของการออมทรัพย์ เช่น การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย การขยายผลให้ผู้เรียนในเรื่องการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย สู่ครอบครัว เป็นต้น


ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^