LASTEST NEWS

07 ธ.ค. 2567ปฏิทินการย้าย "ข้าราชการครู" สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านระบบ TRS (Teacher Rotation System) ประจำปี พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1 07 ธ.ค. 2567ว24/2567 แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินการย้าย การประมวลผลและการพิจารณาย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านระบบ TRS (Teacher Rotation System) 07 ธ.ค. 2567ศธ. ขอบคุณนายกฯ และ ครม. หลังเริ่มจัดสรรงบอาหารกลางวัน ม.1-3 โรงเรียนขยายโอกาส "พี่อิ่มท้อง น้องอิ่มใจ" 07 ธ.ค. 2567สพฐ. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “โครงการโรงเรียนสุจริต” ระดับประเทศ 07 ธ.ค. 2567โรงเรียนบ้านน้ำเที่ยงนาเรียง รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือนละ 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน) ตั้งแต่วันที่ 9 - 17 ธันวาคม 2567 ไม่เว้นวันหยุดราชการ 07 ธ.ค. 2567ยกเลิกประกาศแล้ว !!! โรงเรียนบ้านกุดแข้ ยกเลิกประกาศรับสมัครครูอัตราจ้าง เนื่องจากมีข้อผิดพลาดเรื่องจำนวนเงินเดือน เพื่อตรวจทานแก้ไขให้เรียบร้อยก่อนประกาศใหม่ 06 ธ.ค. 2567โรงเรียนเอราวัณวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 6 - 18 ธันวาคม 2567 06 ธ.ค. 2567โรงเรียนบ้านกุดแข้ รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 3,000.- บาท/เดือน สมัคร 9-19 ธันวาคม 2567 06 ธ.ค. 2567ศธ. - สพฐ. สรุปผลสอบกรณีครูเบญ พบดำเนินการถูกต้องตามระเบียบ เจ้าตัวยอมรับ-ไม่ติดใจผลคะแนน 06 ธ.ค. 2567วิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 4 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000 บาท ตั้งแต่ 16-20 ธันวาคม 2567

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาเพื่อส่งเสริมความสามารถ

usericon

บทคัดย่อ
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาด้านการจัดการเรียนรู้ชีววิทยา เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัด การเรียนรู้ชีววิทยาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ มีการดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 S: Survey การสำรวจเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลในการสร้างหรือพัฒนานวัตกรรม ขั้นตอนที่ 2 P: Product/ Innovation Development ขั้นตอนการสร้างและพัฒนานวัตกรรม ขั้นตอนที่ 3 I: Implementation การทดลองเพื่อตรวจสอบคุณภาพของนวัตกรรม ขั้นตอนที่ 4 E : Evaluation & Revision การประเมินและปรับปรุง ในขั้นตอนการทดลองเพื่อตรวจสอบรูปแบบ นำไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านโพธิ์กลาง) จำนวน 32 คน ที่กำลังเรียนภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งใช้กระบวนการวิจัยแบบผสมผสานวิธี โดยประยุกต์ใช้แบบแผนการวิจัยเชิงทดลองตามรูปแบบ The One Group Pretest–Posttest Design ด้วยการศึกษาวิธีการเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์สภาพการจัดการเรียนรู้รายวิชาชีววิทยา รูปแบบการจัดการเรียนรู้ซึ่งประกอบด้วย คู่มือการใช้รูปแบบและแผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ เชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบค่าที (Dependent Samples t-test) และ การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
    ผลการวิจัยพบว่า
    1. สภาพการจัดการเรียนรู้วิชาชีววิทยาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิด
เชิงวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากการตอบแบบสอบถามความคิดเห็น
อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.32) โดยมีความคิดเห็นในระดับมากลำดับสูงสุด คือ ข้อ (5)
นักเรียนต้องการปฏิบัติกิจกรรมการทดลองบ่อย ๆ เพื่อพัฒนาความคิดทางวิทยาศาสตร์ของ
ตนเอง ( = 4.13) จากการสัมภาษณ์ครูผู้เชี่ยวชาญการสอนวิทยาศาสตร์และวิชาชีววิทยาพบว่า สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และวิชาชีววิทยาส่วนใหญ่ คือนักเรียนไม่ให้ความสนใจและไม่เห็นความสำคัญของเนื้อหาที่เรียนและมีความเชื่อว่าวิชาชีววิทยาเป็นเรื่องที่ซับซ้อนเข้าใจยาก เนื้อหาเยอะ และสิ่งที่เรียนไม่มีผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน นอกจากนี้นักเรียนขาดความเข้าใจในบทเรียนอย่างต่อเนื่อง ขาดทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขาดความสามารถการคิดเชิงวิทยาศาสตร์
    2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นเป็นการบูรณาการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ หาความรู้ (7E) การจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับทฤษฎีการถ่ายโยงการเรียนรู้ (Transfer of Learning Theory) โดยมีองค์ประกอบของรูปแบบ 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการและแนวคิด 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ 4) บทบาทครู 5) บทบาทนักเรียน 6) บรรยากาศการเรียนรู้ และ 7) การวัดและประเมินผล เรียกว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีกระบวน
การจัดการเรียนรู้ มี 6 ขั้น ประกอบด้วย (1) M: Motivating ขั้นเร้าความสนใจ (2) E: Exploration ขั้นสำรวจค้นหา (3) B: Brainstorming ขั้นระดมสมองคิดค้นคว้า (4) T: Transferring ขั้นถ่ายโอนความรู้ (5) E: Extension ขั้นเผยแพร่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (6) A: Application ขั้นประยุกต์ใช้ความรู้ โดยนักเรียนมีคะแนนจากแบบทดสอบย่อยท้ายแผนการจัดการเรียนรู้ รวมทั้งสิ้น 5 แผน มีค่าคะแนนระหว่างเรียน (E1) ค่าเฉลี่ยร้อยละ 84.88 และมีคะแนนหลังเรียน (E2) ค่าเฉลี่ยร้อยละ 83.33 แสดง ให้เห็นว่าการรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพ 84.88/83.33 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
    3. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความสามารถในการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 14.88 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.13 และหลังเรียน ได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 25.00 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.46 ค่า t เท่ากับ 19.00 อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05
4) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าเฉลี่ยรวม 4.64 อยู่ในระดับมากที่สุด
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^