LASTEST NEWS

05 พ.ค. 2567ก.ค.ศ.เดินหน้ารื้อระบบ ศน.ใหม่ ยกเครื่อง ปรับบทบาทหน้าที่ เพิ่มคุณสมบัติ ดึงบุคลากรคุณภาพพัฒนาคุณภาพการศึกษา 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 04 พ.ค. 2567สพม.ชัยภูมิ ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 2 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชลบุรี เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567โรงเรียนหนองไผ่ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกคอมพิวเตอร์ เงินเดือน 10,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 พฤษภาคม พ.ศ.2567 03 พ.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลสกลนคร รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกคณิตศาสตร์ เงินเดือน 9,000.- บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 8 พฤษภาคม พ.ศ.2567 03 พ.ค. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย    นางสุภารัตน์ สิรไชยพัฒน์
สังกัด    โรงเรียนพิบูลมังสาหาร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
    กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ปีที่วิจัย    2565

บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความจำเป็นและความต้องการในการจัดการเรียนรู้ พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ และประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนพิบูลมังสาหาร สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 1 ห้อง จำนวน 37 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยที่มีนักเรียนคละความสามารถทั้งเก่ง ปานกลาง และอ่อน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย โดยใช้แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบทดสอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีในการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์
ผลการวิจัย ปรากฏผล ดังนี้
    1. ผลการสำรวจความจำเป็นและความต้องการในการจัดการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ พบว่า การส่งเสริมกระบวนการคิดจากการอ่านอย่างเป็นระบบ จะช่วยให้นักเรียนรู้ข้อเท็จจริง รู้เหตุผลจากสื่อสิ่งพิมพ์ที่อ่าน ปลูกฝังให้นักเรียนเป็นผู้มีเหตุผลไม่ด่วนสรุปข้อมูล เป็นคนช่างสังเกต แสดงความคิดเห็นอย่างสมเหตุสมผล ฝึกฝนการสร้างองค์ความรู้ โดยมีความต้องการให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติที่เน้นการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม ทำแบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ซ้ำ ๆ บ่อย ๆ เพื่อให้เกิดความชำนาญ และการแยกแยะและวิเคราะห์เรื่องที่อ่านได้ด้วยตนเอง    

    2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีองค์ประกอบ 5 องค์ประกอบ คือ 1) แนวคิดและหลักการของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ ตามขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ GAPES Model 5 ขั้น ประกอบด้วย ขั้นจัดกลุ่มและกำหนดขอบเขตของเนื้อหา (Group and Define Content Boundaries) ขั้นกิจกรรมกลุ่ม (Activities) ขั้นนําเสนอผลงาน (Presentation) ขั้นตรวจสอบ (Examine) และขั้นสรุป (Summary) 4) การนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ไปใช้ และ 5) ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน
    3. ผลการใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า
        3.1 ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 84.26/82.64 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
        3.2 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
        3.3 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์หลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
    4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.39, S.D. = 0.60)
aew.wet 26 ต.ค. 2566 เวลา 15:21 น. 0 197
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^