LASTEST NEWS

07 ธ.ค. 2567ปฏิทินการย้าย "ข้าราชการครู" สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านระบบ TRS (Teacher Rotation System) ประจำปี พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1 07 ธ.ค. 2567ว24/2567 แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินการย้าย การประมวลผลและการพิจารณาย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านระบบ TRS (Teacher Rotation System) 07 ธ.ค. 2567ศธ. ขอบคุณนายกฯ และ ครม. หลังเริ่มจัดสรรงบอาหารกลางวัน ม.1-3 โรงเรียนขยายโอกาส "พี่อิ่มท้อง น้องอิ่มใจ" 07 ธ.ค. 2567สพฐ. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “โครงการโรงเรียนสุจริต” ระดับประเทศ 07 ธ.ค. 2567โรงเรียนบ้านน้ำเที่ยงนาเรียง รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือนละ 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน) ตั้งแต่วันที่ 9 - 17 ธันวาคม 2567 ไม่เว้นวันหยุดราชการ 07 ธ.ค. 2567ยกเลิกประกาศแล้ว !!! โรงเรียนบ้านกุดแข้ ยกเลิกประกาศรับสมัครครูอัตราจ้าง เนื่องจากมีข้อผิดพลาดเรื่องจำนวนเงินเดือน เพื่อตรวจทานแก้ไขให้เรียบร้อยก่อนประกาศใหม่ 06 ธ.ค. 2567โรงเรียนเอราวัณวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 6 - 18 ธันวาคม 2567 06 ธ.ค. 2567โรงเรียนบ้านกุดแข้ รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 3,000.- บาท/เดือน สมัคร 9-19 ธันวาคม 2567 06 ธ.ค. 2567ศธ. - สพฐ. สรุปผลสอบกรณีครูเบญ พบดำเนินการถูกต้องตามระเบียบ เจ้าตัวยอมรับ-ไม่ติดใจผลคะแนน 06 ธ.ค. 2567วิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 4 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000 บาท ตั้งแต่ 16-20 ธันวาคม 2567

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณ

usericon

ชื่อเรื่อง    : การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
ชื่อผู้วิจัย    : สุภลักษษ์ วิเศษรัตน์
หน่วยงาน : โรงเรียนบ้านโนนยาง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๒
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
ปีที่ทำการวิจัย : ๒๕๖๕-๒๕๖๖

บทคัดย่อ

    การอ่านอย่างมีวิจารณญาณเป็นการอ่านที่มีคุณค่า เป็นการอ่านโดยใช้ความรู้ในระดับสูงประสบการณ์ความคิดพิจารณา วิเคราะห์ด้วยเหตุผล และตัดสินประเมินค่าสิ่งที่อ่านเพื่อสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน การวิจัยครั้งนี้จึงมีความมุ่งหมาย 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียน การสอนภาษาไทย ด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณที่มีคุณภาพ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ประกอบด้วย 2.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ระหว่างก่อนและหลังเรียน และ 2.2) ศึกษาความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโนนยาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต ๒ จำนวน ๒๖ คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ มีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบรูปแบบ จำนวน ๗ แผน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน ๔0 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.35 ถึง 0.83 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.78 และแบบวัดความเชื่อมั่นในตนเอง แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.35 ถึง 0.87 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที t-test (Dependent Samples) ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. รูปแบบการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย ด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ (SAPAT Model) มี 6 องค์ประกอบ คือ 1) แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการสอน 5 ขั้น ได้แก่ (1) ขั้นการกระตุ้นและดึงดูดความสนใจ (2) ขั้นการเรียนรู้เนื้อหาใหม่ (3) ขั้นการลงมือปฏิบัติ (4) ขั้นการเห็นคุณค่าและประยุกต์ใช้ความรู้ (5) ขั้นการประเมินผลและเชื่อมโยงการเรียนรู้ 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนอง และ 6) ระบบสนับสนุน ซึ่งมีคุณภาพเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( "X" ̅ = 4.53)
2. ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย ด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ พบว่า
2.1 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย ด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ มีความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2.2 นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย ด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ มีความเชื่อมั่นในตนเอง โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( "X" ̅ = 4.43)
โดยสรุป รูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทย ด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ สามารถพัฒนาให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ และมีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น


ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^