LASTEST NEWS

27 ก.ค. 2567ไม่ต้องผ่านภาค ก 65 อัตรา วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 16,830 บาท สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รับสมัครสอบบรรจุเป็นพนักงาน ตั้งแต่บัดนี้ - 9 สิงหาคม 2567 27 ก.ค. 2567โอกาสมาแล้ว!! น้องนิสิต นักศึกษาครู เชิญทางนี้ กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย (โครงการช้อนครู) 322 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 2 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567เมืองพัทยา เปิดสอบผู้ช่วยครูผู้ช่วย จำนวน 17 อัตรา รับสมัคร 1-9 สิงหาคม 2567  26 ก.ค. 2567สพป.นนทบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 15 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 11 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ปทุมธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567“ศธ.-มท.” เตรียมสุ่มตรวจยาเสพติดโรงเรียน 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2566 รอบที่ 7 จำนวน 1 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2567 รอบที่ 2 จำนวน 9 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี 2567 รอบที่ 2 จำนวน 8 อัตรา - รายงานตัว 7 สิงหาคม 2567

การบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ และนวัตกรรม (1S2P3Q MODEL)

usericon

การบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ และนวัตกรรม (1S2P3Q)
การบริหารจัดการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรม มีผลต่อผู้เรียน คณะครู และบุคลากรทางการศึกษาในหลาย ๆ ด้าน เช่น การพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียน การสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรม การสร้างทีมงาน และการเสริมสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่เน้นความสำเร็จและความสุขของผู้เรียน
ทำให้ผู้เรียนมีโอกาสเติบโตและพัฒนาได้อย่างเต็มศักยภาพ และสถานศึกษาเป็นสถานที่ที่มีความเป็นองค์กร
แห่งการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ข้าพเจ้าดำเนินการดังนี้
๑. วิเคราะห์สถานะปัจจุบัน วิเคราะห์และประเมินสถานะปัจจุบัน (SWOT Analysis) ของโรงเรียน
เพื่อรับรู้ประเด็นหลักที่ต้องการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา โดยให้คณะครู บุคลากรในสถานศึกษามีส่วนร่วม
ในการวิเคราะห์ อาจเกี่ยวข้องกับผลการเรียนรู้ของนักเรียน สภาพทรัพยากรที่มีอยู่ หรือปัจจัยภายนอก
ที่ส่งผลต่อการเรียนรู้
๒. กำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมายร่วมกัน กำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมายที่ชัดเจน เพื่อนำทางการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา วิสัยทัศน์ที่กำหนดเน้นให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ และเป้าหมายที่กำหนดควรเป็นเป้าหมายที่ท้าทายและสร้างแรงจูงใจให้กับคณะครูและบุคลากรทางการศึกษาในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา และคุณภาพการศึกษา
๓. วางแผนและดำเนินการ มีการวางแผนและดำเนินการเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา
ตามวิสัยทัศน์ เป้าหมายที่กำหนด การวางแผนมีการกำหนดแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ๔ ปี และมุ่งเน้น
การจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีที่ชัดเจนและมีขั้นตอนการดำเนินงานที่ชัดเจน เพื่อให้ทุกคนที่มีส่วนได้เสียในสถานศึกษา ทั้งคณะกรรมการสถานศึกษา คณะครู ผู้ปกครอง ชุมชน ท้องถิ่น และภาคส่วนอื่น ๆ มีความเข้าใจและสามารถร่วมกันดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกันโดยใช้ นวัตกรรมในการบริหาร (1S2P3Q MODEL ดังนี้

ปัจจัยนำเข้า (Input)
S – Stakeholder หมายถึง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา คือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
มีบทบาท มีความรับผิดชอบในกระบวนการการเรียนรู้และการพัฒนาการศึกษา ประกอบด้วย นักเรียน,
ครู, ผู้อำนวยการโรงเรียน, ผู้ปกครอง, คณะกรรมการสถานศึกษา, ชุมชน และเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ
มีบทบาทและความรับผิดชอบ ดังนี้
นักเรียน นักเรียนต้องมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ มีความรับผิดชอบต่อการเรียน และมีความตั้งใจในการพัฒนาตนเอง
ครู ครูจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ สร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ผู้ปกครอง สนับสนุนและให้กำลังใจในการเรียนรู้ของบุตร-หลาน รวมถึงเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ
ของโรงเรียน และส่งเสริมการเรียนรู้ของบุตร-หลานช่วงที่อยู่บ้าน
คณะกรรมการสถานศึกษา เข้าร่วมการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน และให้ข้อเสนอแนะ การตัดสินใจที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษา
ชุมชนและเครือข่าย สนับสนุนและเข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ของนักเรียน และมีส่วนร่วมในการสร้างและพัฒนาคุณภาพการศึกษา

กระบวนการ (Process)
    P- PDCA กระบวนการ PDCA เป็นกระบวนการของการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพการจัดการศึกษา
อย่างต่อเนื่อง การบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์และนวัตกรรมได้โดยการ
การวางแผน (Plan) กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน, กำหนดกลยุทธ์ และแผนการดำเนินงาน
เพื่อปรับปรุงคุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียน
การดำเนินการ (Do) การดำเนินกิจกรรมตามแผนที่กำหนดไว้ เช่น การสนับสนุนการฝึกอบรมครู
การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ หรือการปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอน
การตรวจสอบ (Check) การตรวจสอบผลการดำเนินงานว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดหรือไม่
โดยใช้ข้อมูลและตัวชี้วัดที่เหมาะสม เพื่อประเมินผลและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
การปรับปรุง (Act) การปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา ตามผลการตรวจสอบ
โดยการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะที่ได้รับ และดำเนินการตามแผนการที่ปรับปรุงเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง
ที่ต่อเนื่องและยั่งยืน
P- Participation หมายถึง การมีส่วนร่วม โดยทั้งนักเรียน คณะครู ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา ชุมชนและเครือข่ายสามารถทำงานร่วมกันเพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้ ดังนี้
กิจกรรมพัฒนาทักษะสำหรับนักเรียน เช่น การส่งเสริมทักษะการสื่อสาร ทักษะการแก้ปัญหา
ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการคิดอย่างมีเหตุผล ทักษะการทำงานกลุ่ม ทักษะอาชีพ เป็นต้น
จัดกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียน เช่น การศึกษานอกสถานที่ กิจกรรมทัศนศึกษา การเยี่ยมชม
สถานประกอบการ กิจกรรมกลุ่มวิสหกิจชุมชน การศึกษาวิถีประมงพื้นบ้าน ฯลฯ เพื่อให้นักเรียนได้
รับประสบการณ์จริงและเรียนรู้ได้ในบริบททางวิชาชีพจริง
การส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เช่น การจัดกิจกรรมส่งเสริมความรับผิดชอบ ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ความเสียสละ กิจกรรมสาธารณะประโยชน์ เป็นต้น
การสร้างความเข้าใจและสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกัน

ปัจจัยนำออก (Output)
Q – Quality Student หมายถึง ผู้เรียนมีคุณภาพ คือผู้เรียนที่มีสมรรถนะและคุณลักษณะ
ที่พึงประสงค์ ดังนี้ ผู้เรียนมีความรู้และทักษะเป็นไปตามที่หลักสูตรกำหนด สามารถใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้
มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถทำงานเป็นทีมได้ มีความรับผิดชอบ มีความสามารถในการแก้ไขปัญหา
และการจัดการความรู้สึกอย่างเหมาะสมในสถานการณ์ต่าง ๆ มีคุณลักษณะและค่านิยมที่พึงประสงค์
มีคุณธรรม จริยธรรม และมีบุคลิกภาพที่ดี
Q – Quality Teacher หมายถึง ครูมีคุณภาพ คือครูที่มีความสามารถและความพร้อมในการสอน
สามารถนำทางผู้เรียนในการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีลักษณะดังนี้ ๑) มีความรู้ทางวิชาการที่เหมาะสม และสามารถถ่ายทอดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๒) มีความเป็นกันเองและสร้างสรรค์ ๓) มีการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างเป็นระบบ ๔) ส่งเสริมการพัฒนาทักษะชีวิตให้กับผู้เรียน ๕) มีสัมพันธภาพที่ดี
๖) มีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
Q – Quality School หมายถึง โรงเรียนมีคุณภาพ คือโรงเรียนที่มุ่งเน้นในการพัฒนาผู้เรียน
ทั้งด้านการเรียนรู้และการพัฒนาคุณลักษณะ โดยมีการดำเนินงานดังนี้ ต่อไปนี้ ๑) มีบรรยากาศการเรียนรู้
ที่สร้างสรรค์และกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียน ๒) ส่งเสริมพัฒนาสมรรถนะทั้งทางด้านอารมณ์และสติปัญญา
๓) มีการตรวจสอบและปรับปรุงคุณภาพการจัดการเรียนรู้ ๔) มีการสร้างความร่วมมือระหว่างโรงเรียน
ผู้ปกครองและชุมชน ๕) มีการบริหารจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ
๔. สนับสนุนและสร้างแรงจูงใจ สนับสนุนและสร้างแรงจูงใจให้แก่ คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา
ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา ให้คำแนะนำทางวิชาการ การเตรียมพร้อมด้านทรัพยากรที่จำเป็น
การให้การฝึกอบรม และการสนับสนุนในการพัฒนาทักษะและความรู้ของคณะครู
๕. ติดตามและประเมินผล ติดตามและประเมินผลการบริหารจัดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา
โดยพิจารณาที่ตัวชี้วัดและข้อมูลที่เหมาะสม เพื่อปรับปรุงและปรับแผนการดำเนินงานต่อไป
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^