LASTEST NEWS

09 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคบางแสน รับสมัครพนักงานราชการครู 2 อัตรา เงินเดือน 18,000.-บาท ตั้งแต่ 12-19 พ.ย.2567 09 พ.ย. 2567วิทยาลัยการอาชีพปราสาท รับสมัครพนักงานราชการครู เงินเดือน 18,000.-บาท ตั้งแต่ 18-26 พ.ย.2567 09 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือนครศรีธรรม รับสมัครพนักงานราชการครู เงินเดือน 18,000.-บาท ตั้งแต่ 14-20 พ.ย.2567 09 พ.ย. 2567วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสตูล รับสมัครพนักงานราชการครู เงินเดือน 18,000.-บาท ตั้งแต่ 18-29 พ.ย.2567 09 พ.ย. 2567วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชัยภูมิ รับสมัครพนักงานราชการครู เงินเดือน 18,000.-บาท ตั้งแต่ 14-20 พ.ย.2567 09 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (ชลบุรี) รับสมัครพนักงานราชการครู เงินเดือน 18,000.-บาท ตั้งแต่ 18-22 พ.ย.2567 09 พ.ย. 2567วิทยาลัยอาชีวศึกษานครสวรรค์ รับสมัครพนักงานราชการครู เงินเดือน 18,000.-บาท ตั้งแต่ 18-22 พ.ย.2567 09 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ รับสมัครพนักงานราชการครู วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000.-บาท ตั้งแต่ 25-29 พ.ย.2567 08 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่ 8 - 14 พฤศจิกายน 2567 08 พ.ย. 2567“สพฐ. ประชุม ผอ.เขตพื้นที่ พร้อมเปิดตัว “OBEC Zero Dropout” เพื่อเด็กทุกคนเข้าถึงการศึกษาอย่างถ้วนหน้า”

รายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

usericon

ชื่อเรื่อง : การประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคม
     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย
ชื่อผู้ประเมิน : นางธิดาสวรรค์ แก่นแก้ว
หน่วยงานสังกัด : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย
ปีที่ดำเนินการประเมิน : ปีการศึกษา 2565

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

    การประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินบริบท (Context Evaluation) 2) ประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) 3) ประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) 4) ประเมินผลผลิต (Product Evaluation) และ 5) ประเมินความพึงพอใจ (Satisfaction Evaluation) ต่อโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน รวมจำนวนทั้งสิ้น 594 คน ได้มาจากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) โดยการคัดเลือกแบบเจาะจงและการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน คือ แบบประเมินแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model ของ แดเนียล แอล สตัฟเฟิลบีมและคณะ (Danial L. Stufflebeam and et.) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
    ผลการประเมินโครงการ สรุปได้ ดังนี้
1. ด้านบริบทของโครงการ โดยรวมมีระดับความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนด โดยโครงการมีความสอดคล้องกับแนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานและเขตพื้นที่การศึกษา หลักการ เหตุผล และวัตถุประสงค์ของโครงการมีความสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด ตามลำดับ
2. ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนด หากพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านบุคลากรมีความเหมาะสมมากที่สุด ส่วนด้านการบริหารจัดการ ด้านภาคีเครือข่าย ด้านงบประมาณ และ ด้านวัสดุและอุปกรณ์ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ
3. ด้านกระบวนการของโครงการ ผลการประเมินโดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนด ได้แก่ กิจกรรมการส่งต่อนักเรียน กิจกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านการเรียนรู้ กิจกรรมการคัดกรองนักเรียน กิจกรรมส่งเสริมพัฒนานักเรียนและกิจกรรมการรู้จักนักเรียน เป็นรายบุคคล ตามลำดับ
4. ด้านผลผลิตของโครงการ ผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่กำหนด ได้แก่ ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านการเรียนรู้ ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน และด้านความสามารถในการเรียนรู้ ตามลำดับ
5. ด้านความพึงพอใจต่อโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนเวียงแก่นวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย โดยรวมความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์ การประเมินตามที่กำหนด โดยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความพึงพอใจมากที่สุดต่อกิจกรรม เยี่ยมบ้านนักเรียนและการติดต่อสื่อสารกับผู้ปกครอง กิจกรรมประชุมผู้ปกครองชั้นเรียน (Classroom Meeting) กิจกรรมส่งเสริมพัฒนานักเรียน และ กิจกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านการเรียนรู้ช่วยใน การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ตามลำดับ ส่วนผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจมากที่สุดต่อกิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียนและการติดต่อสื่อสารกับผู้ปกครองช่วยในการพัฒนาผู้เรียน และนักเรียนมีความพึงพอใจมากที่สุด ต่อการสามารถปรับตัว อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและประสบผลสำเร็จด้านการเรียน
    
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^