LASTEST NEWS

27 ก.ค. 2567โอกาสมาแล้ว!! น้องนิสิต นักศึกษาครู เชิญทางนี้ กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย (โครงการช้อนครู) 322 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 2 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567เมืองพัทยา เปิดสอบผู้ช่วยครูผู้ช่วย จำนวน 17 อัตรา รับสมัคร 1-9 สิงหาคม 2567  26 ก.ค. 2567สพป.นนทบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 15 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 11 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ปทุมธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567“ศธ.-มท.” เตรียมสุ่มตรวจยาเสพติดโรงเรียน 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2566 รอบที่ 7 จำนวน 1 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2567 รอบที่ 2 จำนวน 9 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี 2567 รอบที่ 2 จำนวน 8 อัตรา - รายงานตัว 7 สิงหาคม 2567 24 ก.ค. 2567ยินดีด้วยครับ ! สพป.นครราชสีมา เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 จำนวน 80 อัตรา - รายงานตัว 30 กรกฎาคม 2567

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์

usericon

บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการ เรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะ การคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิด คอนสตรัคติวิสต์และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ วิธีดำเนินการวิจัยใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (R&D) มี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล พื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ และการเรียนรู้แบบร่วมมือ ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอน วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์และการเรียนรู้แบบร่วมมือ ขั้นตอนที่ 3 การนำรูปแบบ การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์และการเรียนรู้แบบร่วมมือ และ ขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ และการเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มตัวอย่างในครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียน บ้านปูโป๊ะ อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 27 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถาม 2) คู่มือการใช้รูปแบบ 3) แผนการจัดการเรียนรู้ 4) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ และ5) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t - test แบบ Dependent Samples) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตาม แนวคิดคอนสตรัคติวิสต์และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ข้อที่มีการปฏิบัติในระดับมากที่สุด คือ มีการส่งเสริม ทักษะการคิดวิเคราะห์ไปพร้อมกับเนื้อหาที่เรียน และมีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ส่วนข้อที่มีการปฏิบัติในระดับน้อยสุด คือ ฝึกให้ผู้เรียนคิดตัดสินใจลงความเห็น สรุปข้อมูลความรู้โดยอ้างอิงเหตุผลที่น่าเชื่อถือสนับสนุน 2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่สร้างขึ้นประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการเรียนการสอน 4) เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ และ 5) การประเมินผล โดยมีกระบวนการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย 5 ขั้น โดยใช้ชื่อว่า 3PEP Model คือ ขั้นที่ 1 การเตรียมความพร้อม (Prepare) ขั้นที่ 2 การสอนกระตุ้นให้คิด (Provoke) ขั้นที่ 3 กิจกรรมกลุ่ม ฝึกทักษะ (Practice) ขั้นที่ 4 การประเมินผล (Evaluate) และขั้นที่ 5 การนำเสนอผลงานและสรุปผล (Present and conclusion) ผลการประเมินคุณภาพความเหมาะสมพบว่า มีความเหมาะสมระดับมากที่สุด และมีความสอดคล้องกันทุกขั้นตอน
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติ วิสต์และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พบว่า
3.1 ประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เท่ากับ 85.56/84.81 ถือว่ามีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
3.2 นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ และการเรียนรู้แบบร่วมมือ มีทักษะการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนในระดับพึงพอใจมากที่สุด
(X= 4.53, S.D. = 0.51)
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^