LASTEST NEWS

27 ก.ค. 2567โอกาสมาแล้ว!! น้องนิสิต นักศึกษาครู เชิญทางนี้ กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย (โครงการช้อนครู) 322 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 2 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567เมืองพัทยา เปิดสอบผู้ช่วยครูผู้ช่วย จำนวน 17 อัตรา รับสมัคร 1-9 สิงหาคม 2567  26 ก.ค. 2567สพป.นนทบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 15 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 11 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ปทุมธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567“ศธ.-มท.” เตรียมสุ่มตรวจยาเสพติดโรงเรียน 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2566 รอบที่ 7 จำนวน 1 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2567 รอบที่ 2 จำนวน 9 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี 2567 รอบที่ 2 จำนวน 8 อัตรา - รายงานตัว 7 สิงหาคม 2567 24 ก.ค. 2567ยินดีด้วยครับ ! สพป.นครราชสีมา เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 จำนวน 80 อัตรา - รายงานตัว 30 กรกฎาคม 2567

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกั

usericon

ชื่อวิจัย    การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนรู้
    ตามขั้นตอนการแก้ปัญหา เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
    ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้วิจัย    ประวัติ บุญประเสริฐ
ปีที่วิจัย        2564 - 2565
    
บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนรู้ตามขั้นตอนการแก้ปัญหา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนรู้ตามขั้นตอนการแก้ปัญหา 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนรู้ตามขั้นตอน การแก้ปัญหา และ 4) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนรู้ตามขั้นตอนการแก้ปัญหา การวิจัยครั้งนี้ ใช้รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ขั้นที่ 2 การสร้างและพัฒนารูปแบบ ขั้นที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบ และขั้นที่ 4 การศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดตันติการาม มิตรภาพที่ 109 อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 21 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์ 3) คู่มือการใช้รูปแบบ 4) แผนการจัดการเรียนรู้ 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้สถิติที (t - test แบบ Dependent Samples) และวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
    ผลการวิจัยพบว่า
    1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนรู้ตามขั้นตอนการแก้ปัญหา พบว่า ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ( = 3.97, S.D. = 0.58) ข้อที่มีการปฏิบัติ ในระดับมากที่สุด คือ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้มี การเชื่อมโยงเนื้อหากับชีวิตประจำวัน รองลงมาคือ จัดกิจกรรมให้อิสระในการเรียนรู้ นักเรียนกล้าคิด กล้าแสดงออก จากการสรุปผลข้อเสนอแนะแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน พบว่า ครูผู้สอนมีการตั้งคำถาม โดยใช้คำถามที่ง่ายต่อการเข้าใจ
มีการกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นของนักเรียน เน้นกิจกรรมให้นักเรียนลงมือปฏิบัติด้วยตนเองมากกว่าการบรรยาย มีการเตรียมและใช้สื่อ อุปกรณ์ที่หลากหลาย เช่น แบบจำลอง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ฯลฯ เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนในระดับประถมศึกษาได้
    2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนรู้ตามขั้นตอนการแก้ปัญหา เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้องค์ประกอบสำคัญ คือ 1) หลักการและแนวคิด 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดการเรียนรู้ และ 4) การประเมินผล ในองค์ประกอบที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนรู้ มีขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน 5 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 การเผชิญปัญหา ขั้นที่ 2 การพิจารณาปัญหา ขั้นที่ 3 ดำเนินการแก้ปัญหา ขั้นที่ 4 การประเมินผล และขั้นที่ 5 การสรุปผล ผลการประเมินคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้ มีความเหมาะสมในระดับมาก ( = 4.46, S.D. = 0.61)
        3. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนรู้ตามขั้นตอนการแก้ปัญหา เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พบว่า
            3.1 ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนรู้ตามขั้นตอนการแก้ปัญหา เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เท่ากับ 84.74/83.17 ถือว่ามีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
            3.2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนรู้ตามขั้นตอนการแก้ปัญหา มีคะแนนการประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อยู่ในระดับดี คิดเป็นร้อยละ 82.97 ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ร้อยละ 80
    4. ผลการศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนรู้ตามขั้นตอนการแก้ปัญหา เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พบว่า
        4.1 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนรู้ตามขั้นตอนการแก้ปัญหา เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
        4.2 นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับการเรียนรู้ตามขั้นตอนการแก้ปัญหา เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในระดับพึงพอใจมากที่สุด ( = 4.54, S.D. = 0.51)
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^