LASTEST NEWS

07 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 07 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 07 พ.ค. 2567(( ลิงก์เว็บไซต์ )) รับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ตั้งแต่วันที่ 8-14 พ.ค.2567 07 พ.ค. 2567สอบครูผู้ช่วยปี67รอบทั่วไป เลือกสมัครได้เขตเดียว เข้มสกัดทุจริต 05 พ.ค. 2567‘เพิ่มพูน’ ยันโรงเรียนห้ามกั๊กการออกใบเกรดหากเด็กค้างค่าเทอม 05 พ.ค. 2567ก.ค.ศ.เดินหน้ารื้อระบบ ศน.ใหม่ ยกเครื่อง ปรับบทบาทหน้าที่ เพิ่มคุณสมบัติ ดึงบุคลากรคุณภาพพัฒนาคุณภาพการศึกษา 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 04 พ.ค. 2567สพม.ชัยภูมิ ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐา...

usericon

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐานผสานกับแนวคิดการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ชื่อผู้วิจัย กาญกันตา เหมือนเพ็ชร
ตำแหน่ง ครูวิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียน ขุนหาญวิทยาสรรค์สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
ปีที่พิมพ์ 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไป สภาพปัญหา และแนวทางการพัฒนารูปแบบจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐานผสานกับแนวคิดการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐานผสานกับแนวคิดการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตาม
แนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐานผสานกับแนวคิดการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4) ประเมินการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐานผสานกับแนวคิดการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยระยะที่ 1 เป็นการศึกษาเอกสาร แนวคิดทฤษฎีและเก็บข้อมูลจากการสอบถามประชากรเป้าหมายคือ ครูผู้สอนภาษาไทย จากกลุ่มโรงเรียนขุนหาญสหวิพัฒน์จำนวน 26 คน และตรวจสอบข้อมูลโดยใช้วิธีการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญด้านภาษาไทยจำนวน 5 คน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐาน
ผสานกับแนวคิดการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
2.1) รูปแบบชั่วคราว 2.2) แบบประเมินความสอดคล้องของร่างรูปแบบ 2.3) พัฒนาหรือสร้าง
เครื่องมือประกอบรูปแบบ ระยะที่ 3 ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐานผสานกับแนวคิดการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 11 ห้อง กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/8 โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ จำนวน 31คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เป็น
ฐานผสานกับแนวคิดการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 25 แผน แบบทดสอบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 40 ข้อ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 30 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 4 คือ ประเมินผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพทั่วไปเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐานผสานกับแนวคิดการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
1.1 ผลการศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัค ติวิสต์เป็นฐานผสานกับแนวคิดการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในภาพรวม ครูภาษาไทยมีความคิดเห็นต่อพฤติกรรมของนักเรียนที่ไม่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณอยู่ในระดับมาก และความคิดเห็นต่อพฤติกรรมของนักเรียนที่ส่งเสริม การคิดอย่างมีวิจารณญาณในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง
1.2 แนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐานผสานกับแนวคิดการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1พบว่า รูปแบบประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กิจกรรม และการประเมินผล
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐานผสานกับแนวคิดการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กิจกรรม และการประเมินผล โดยได้นำแนวคิดทฤษฎีสนับสนุนคือทฤษฎีสร้างสรรค์ความรู้(Constructivism) และทฤษฎีการรู้คิด (Metacognition) ทั้งนี้ผู้วิจัยได้สังเคราะห์ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้5 ขั้น ประกอบด้วย 1) ขั้นสร้างสถานการณ์ปัญหา(Problem Determination) เป็นขั้นที่ครูผู้สอนกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความกระหายอยากรู้อยากเห็นเกิดข้อสงสัย โดยการกระตุ้นด้วยภาพ วิดีโอ บทอ่านสั้นๆ หรือเกม ชวนสนทนาด้วยคำถามกระตุ้นคิดให้นักเรียนบอกเล่าตามประสบการณ์ความรู้เดิม แล้วชวนให้ต้องการค้นคว้าหาคำตอบ 2) ขั้นสำรวจและวิจารณ์(Research) เป็นขั้นสำรวจแสวงหาข้อมูลความรู้ใหม่ของนักเรียนจากแหล่งข้อมูล สื่อ ใบความรู้ที่ครูจัดเตรียม หรือจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ผ่านกิจกรรมที่น่าสนใจ ให้ผู้เรียนตั้งคำถามและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ร่วมกันวิเคราะห์ วิจารณ์ข้อมูลกับเพื่อนและครูผู้สอนในประเด็นที่ศึกษา 3) ขั้นตกผลึกความคิด (Synthesis) เป็นขั้นฝึกกระบวนการคิดไตร่ตรองหรือใคร่ครวญอย่างลึกซึ้ง
เพื่อให้ได้ความคิดรวบยอดที่สมบูรณ์ด้วยการปฏิบัติกิจกรรมส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การระบุประเด็นปัญหา ขั้นที่ 2 การยอมรับข้อตกลงเบื้องต้น ขั้นที่ 3 การนิรนัยขั้นที่ 4 การอุปนัย และขั้นที่ 5 ข้อสรุป 4) ขั้นสร้างผลงาน (Production) เป็นขั้นที่ให้นักเรียนสร้างสรรค์ผลงาน สร้างสรรค์วิธีนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การอภิปราย การเขียน และแสดง ผลงานที่เป็นความรู้ของตนให้ผู้อื่นรับรู้ เพื่อช่วยให้นักเรียนได้ตรวจสอบความเข้าใจของตน และ 5) ขั้นประเมินและสรุป (Summarize and Evaluate) เป็นขั้นให้นักเรียนสรุปองค์ความรู้เดิมและความรู้ใหม่ของตน ด้วยการเรียบเรียงข้อมูลองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ ระเบียบ สาระสำคัญครบถ้วนเพื่อให้จดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ง่าย โดยครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเป็นความคิดรวบยอด ให้นักเรียนเชื่อมโยงความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน และประเมินความรู้ที่ได้รับด้วยใบงาน ใบกิจกรรมหรือแบบทดสอบ 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐานผสานกับแนวคิดการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็น
ดังนี้ 3.1 ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.2 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ผลการประเมินการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐานผสานกับแนวคิดการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
มีดังนี้ 4.1 ผลการประเมินความเป็นไปได้ของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด คอนสตรัคติวิสต์เป็นฐานผสานกับแนวคิดการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 4.2 ผลการประเมินความเป็นประโยชน์ของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐานผสานกับแนวคิดการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 4.3 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เป็นฐานผสานกับแนวคิดการรู้คิด เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับมาก
mlmavie42 30 ส.ค. 2566 เวลา 22:31 น. 0 212
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^