LASTEST NEWS

08 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 08 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 07 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 07 พ.ค. 2567(( ลิงก์เว็บไซต์ )) รับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ตั้งแต่วันที่ 8-14 พ.ค.2567 07 พ.ค. 2567สอบครูผู้ช่วยปี67รอบทั่วไป เลือกสมัครได้เขตเดียว เข้มสกัดทุจริต 05 พ.ค. 2567‘เพิ่มพูน’ ยันโรงเรียนห้ามกั๊กการออกใบเกรดหากเด็กค้างค่าเทอม 05 พ.ค. 2567ก.ค.ศ.เดินหน้ารื้อระบบ ศน.ใหม่ ยกเครื่อง ปรับบทบาทหน้าที่ เพิ่มคุณสมบัติ ดึงบุคลากรคุณภาพพัฒนาคุณภาพการศึกษา 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 04 พ.ค. 2567สพม.ชัยภูมิ ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567

เผยแพร่ผลงานวิชาการ

usericon

ชื่อเรื่อง            การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้
ด้วยตนเอง (Constructivism) ร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย                นางสาววิลาสณีย์ ชูกลิ่น    
ตำแหน่ง            ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
สถานศึกษา            โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
                สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ กระทรวงมหาดไทย
ปีที่ศึกษา            ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563

บทคัดย่อ

    การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism) ร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทฤษฎี การสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้และหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่พัฒนาขึ้น 3.1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3.2) เพื่อศึกษาทักษะการแก้ปัญหาหลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3.3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 4) เพื่อประเมิน และปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5


กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทฤษฎีการ สร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 40 คน โดยได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวทฤษฎีสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทฤษฎีการรสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) แบบประเมินทักษะการแก้ปัญหาหลังเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทฤษฎีสร้างความรู้ ด้วยตนเอง (Constructivism) ร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage), ค่าเฉลี่ย (Mean), ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation), ค่าสถิติทดสอบที (t-test dependent Samples) และค่าประสิทธิภาพ E1 / E2
    ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้บริหาร ครูผู้สอน และผู้ปกครอง เห็นว่า โรงเรียนขุนหาญวิทยาสรรค์ มีความพร้อมด้านบริบทที่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่งในการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทฤษฎี การสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะ การแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 นักเรียนส่วนใหญ่เห็นว่า การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) จะเป็นประโยชน์กับนักเรียน 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.46/82.06 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ 3) ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทฤษฎีสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ ในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
พบว่า 3.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ร่วมกับการ ใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 คะแนน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ 3.2) ทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนที่เกิดจากการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทฤษฎีสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับสูง 3.3) ผลของความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) ร่วมกับการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 พบว่า นักเรียนมีความ พึงพอใจในระดับมากที่สุด ( = 4.73 , S.D. = 0.46)








ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^