LASTEST NEWS

08 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 08 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 07 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 07 พ.ค. 2567(( ลิงก์เว็บไซต์ )) รับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ตั้งแต่วันที่ 8-14 พ.ค.2567 07 พ.ค. 2567สอบครูผู้ช่วยปี67รอบทั่วไป เลือกสมัครได้เขตเดียว เข้มสกัดทุจริต 05 พ.ค. 2567‘เพิ่มพูน’ ยันโรงเรียนห้ามกั๊กการออกใบเกรดหากเด็กค้างค่าเทอม 05 พ.ค. 2567ก.ค.ศ.เดินหน้ารื้อระบบ ศน.ใหม่ ยกเครื่อง ปรับบทบาทหน้าที่ เพิ่มคุณสมบัติ ดึงบุคลากรคุณภาพพัฒนาคุณภาพการศึกษา 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 04 พ.ค. 2567สพม.ชัยภูมิ ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567

บทคัดย่อ

usericon

ชื่อเรื่อง        การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะตีมศึกษา (STEAM Education) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานเป็นทีม และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย        นางสาวพิมพ์ใจ แสงสอน
ปี        2565
บทคัดย่อ
        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะตีมศึกษา (STEAM Education) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อใช้และศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะตีมศึกษา (STEAM Education) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 คือ 2.1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ก่อนและหลัง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะตีมศึกษา (STEAM Education) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2.2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาก่อนและหลัง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะตีมศึกษา (STEAM Education) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2.3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการทำงานเป็นทีม ก่อนเรียนและหลังของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะตีมศึกษา (STEAM Education) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3.) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะตีมศึกษา (STEAM Education) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนเทศบาลพิบูลสวัสดี อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครภูเก็ต ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 นักเรียนจำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะตีมศึกษา (STEAM Education) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ จำนวน 3 ชุด แบบประเมินความเหมาะสมของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา แบบประเมินทักษะการทำงานเป็นทีม แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนในการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะตีมศึกษา (STEAM Education) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานเป็นทีม และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย หาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) และการทดสอบค่าที (t-test) วิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1. การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะตีมศึกษา (STEAM Education) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานเป็นทีม และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 80/80 2. การทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะตีมศึกษา (STEAM Education) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานเป็นทีม และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3. การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนในการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะตีมศึกษา (STEAM Education) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา ทักษะการทำงานเป็นทีม และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
        ผลการวิจัยพบว่า
            1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะตีมศึกษา (STEAM Education) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความเหมาะสมในภาพรวมของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.41 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.01 และมีประสิทธิภาพ 81.49/81.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
            2) ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะตีมศึกษา (STEAM Education) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีดังนี้
                2.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
                2.2) ความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
                2.3) ทักษะการทำงานเป็นทีม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
            3.) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะตีมศึกษา (STEAM Education) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของสาร ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก คือ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.90 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.77

sangsorn8239 28 ส.ค. 2566 เวลา 17:53 น. 0 162
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^