LASTEST NEWS

08 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 08 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 07 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 07 พ.ค. 2567(( ลิงก์เว็บไซต์ )) รับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ตั้งแต่วันที่ 8-14 พ.ค.2567 07 พ.ค. 2567สอบครูผู้ช่วยปี67รอบทั่วไป เลือกสมัครได้เขตเดียว เข้มสกัดทุจริต 05 พ.ค. 2567‘เพิ่มพูน’ ยันโรงเรียนห้ามกั๊กการออกใบเกรดหากเด็กค้างค่าเทอม 05 พ.ค. 2567ก.ค.ศ.เดินหน้ารื้อระบบ ศน.ใหม่ ยกเครื่อง ปรับบทบาทหน้าที่ เพิ่มคุณสมบัติ ดึงบุคลากรคุณภาพพัฒนาคุณภาพการศึกษา 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 04 พ.ค. 2567สพม.ชัยภูมิ ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบสร้าง

usericon

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบสร้างความรู้ด้วยตนเองและทักษะปฏิบัติ สาระภูมิศาสตร์ ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ตื่นรู้ สู้ภัยพิบัติทางธรรมชาติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบสร้างความรู้ด้วยตนเองและทักษะปฏิบัติ สาระภูมิศาสตร์ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องตื่นรู้ สู้ภัยพิบัติทางธรรมชาติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบสร้างความรู้ด้วยตนเองและทักษะปฏิบัติ สาระภูมิศาสตร์ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องตื่นรู้สู้ภัยพิบัติทางธรรมชาติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการสร้างความรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบสร้างความรู้ด้วยตนเองและทักษะปฏิบัติ สาระภูมิศาสตร์ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องตื่นรู้สู้ภัยพิบัติทางธรรมชาติ (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี) ที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบสร้างความรู้ด้วยตนเองและทักษะปฏิบัติ สาระภูมิศาสตร์ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องตื่นรู้ สู้ภัยพิบัติทางธรรมชาติ
กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี) สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) 1 ห้องเรียน จำนวน 38 คน โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม (Sampling Unit)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบสร้างความรู้ด้วยตนเองและทักษะปฏิบัติ สาระภูมิศาสตร์ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องตื่นรู้ สู้ภัยพิบัติทางธรรมชาติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องตื่นรู้ สู้ภัยพิบัติทางธรรมชาติ จำนวน 8 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ 8 แผน ซึ่งประกอบด้วย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถในการสร้างความรู้แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจกิจกรรมท้ายบทเรียน แบบประเมินทักษะในการปฏิบัติงาน และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบสร้างความรู้ด้วยตนเองและทักษะปฏิบัติ สาระภูมิศาสตร์ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องตื่นรู้ สู้ภัยพิบัติทางธรรมชาติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง จำนวน 8 สัปดาห์ ๆ ละ 2 ชั่วโมง รวมเป็น 16 ชั่วโมง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) ค่าร้อยละและค่าที (t-test Dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
    ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบสร้างความรู้ด้วยตนเองและทักษะปฏิบัติ สาระภูมิศาสตร์ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องตื่นรู้ สู้ภัยพิบัติทางธรรมชาติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า ครูผู้สอนและผู้เชี่ยวชาญต้องการให้มีพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบสร้างความรู้ด้วยตนเองและทักษะปฏิบัติ สาระภูมิศาสตร์ที่มีเนื้อหาที่เรียงจากง่ายไปหายาก ส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงานจากเรื่องตื่นรู้ สู้ภัยพิบัติทางธรรมชาติ มีภาพประกอบ มีการจัดการเรียนการสอนเป็นรายบุคคลโดยให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง
2. ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบสร้างความรู้ด้วยตนเองและทักษะปฏิบัติ สาระภูมิศาสตร์ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องตื่นรู้ สู้ภัยพิบัติทางธรรมชาติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า SPARE Model มีองค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์กระบวนการเรียนการสอน การสรุปสาระความรู้ หลักการตอบสนอง และสิ่งสนับสนุนซึ่งมีกระบวนการเรียนการสอน 5 ขั้นตอน (SPARE MODEL) 1) ขั้นกระตุ้นเร้าความสนใจในการเรียนรู้ (Stimulation : S) 2) ขั้นการนำเสนอเนื้อหาจัดประสบการณ์การเรียนรู้ (Presentation: P) 3) ขั้นเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ (Action Learning : A) 4) ขั้นสะท้อนความรู้ (Reflection of Knowledge: R) และ5) ขั้นการประเมินผล (Evaluation : E) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.80/85.00 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 ปรากฏว่าสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
    3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบสร้างความรู้ด้วยตนเองและทักษะปฏิบัติ สาระภูมิศาสตร์ ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ตื่นรู้ สู้ภัยพิบัติทางธรรมชาติ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีผลการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ .05 ซึ่งผลการเปรียบเทียบจากคะแนนแบบทดสอบวัดความสามารถในการสร้างความรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนทุกตอน และผลการเปรียบเทียบคะแนนแบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจกิจกรรมท้ายบทเรียน สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด นอกจากนั้น ผลคะแนนเฉลี่ยแบบประเมินการสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานกับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างทั้ง 8 สัปดาห์แสดงให้เห็นถึงการมีพัฒนาในการเรียนรายวิชาภูมิศาสตร์สูงขึ้นในแต่ละสัปดาห์ที่เรียน
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนด้วย รูปแบบการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบสร้างความรู้ด้วยตนเองและทักษะปฏิบัติ สาระภูมิศาสตร์ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ตื่นรู้ สู้ภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยภาพรวม พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน (x¯ = 4.72, S.D.= 0.55) โดยเรียงค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ได้แก่ด้านเนื้อหาและรูปแบบของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ มีความเห็นในระดับมากที่สุด (x¯ =4.77, S.D.= 0.47) รองลงมาคือด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (x¯ = 4.71, S.D.= 0.57) และด้านบรรยากาศ ในการจัดการเรียนรู้ ที่ใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ตื่นรู้ สู้ภัยพิบัติทางธรรมชาติ มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด (x¯ = 4.67, S.D.= 0.61) ตามลำดับ ที่มีความสนุกสนาน ที่นักเรียนสามารถหาความรู้ได้ต่อเนื่องตลอดเวลาและนักเรียนสามารถพัฒนาวิธีการการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง

Oilnajabuu 27 ส.ค. 2566 เวลา 16:23 น. 0 154
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^