LASTEST NEWS

06 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 05 พ.ค. 2567‘เพิ่มพูน’ ยันโรงเรียนห้ามกั๊กการออกใบเกรดหากเด็กค้างค่าเทอม 05 พ.ค. 2567ก.ค.ศ.เดินหน้ารื้อระบบ ศน.ใหม่ ยกเครื่อง ปรับบทบาทหน้าที่ เพิ่มคุณสมบัติ ดึงบุคลากรคุณภาพพัฒนาคุณภาพการศึกษา 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 04 พ.ค. 2567สพม.ชัยภูมิ ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 2 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชลบุรี เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567โรงเรียนหนองไผ่ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกคอมพิวเตอร์ เงินเดือน 10,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 พฤษภาคม พ.ศ.2567

รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงรุก (Active Learning)

usericon

ชื่อเรื่อง        รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริม
ความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๑ (กบินทร์ราษฎรอำรุง)
ผู้วิจัย         นางปวีร์ คำแหง
ชื่อสถานศึกษา     โรงเรียนเทศบาล ๑ (กบินทร์ราษฎรอำรุง)
ปีที่พิมพ์      2565

บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและประเมินหาคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๑ (กบินทร์ราษฎรอำรุง) และ 2) เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๑ (กบินทร์ราษฎรอำรุง) ดำเนินการวิจัยเป็นแบบวิจัยและพัฒนา มี 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๑ (กบินทร์ราษฎรอำรุง) ขั้นตอนที่ 2 การทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๑ (กบินทร์ราษฎรอำรุง) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๑ (กบินทร์ราษฎรอำรุง) อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 2 ห้องเรียน รวมนักเรียน 60 คน ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีการสุ่ม ทำการทดลองใช้รูปแบบการสอนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แบบแผนการวิจัยเป็นแบบสุ่มเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (Randomized control group pretest-posttest design) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (OneWay ANOVA) การทดสอบค่าทีสำหรับกลุ่มตัวอย่างที่อิสระต่อกัน (t-testindependent)การทดสอบค่าทีสำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่อิสระต่อกัน (t-test dependent) และวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมทางเดียว (One Way ANOVA)


ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๑ (กบินทร์ราษฎรอำรุง) มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่แนวคิดของรูปแบบ วัตถุประสงค์ ผลลัพธ์ที่คาดหวัง กระบวนการจัดการเรียนการสอนและการวัดและประเมินผล โดยกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ทำความเข้าใจ ขั้นที่ 2 คิดวิธีหาคำตอบเพื่อวางแผน ขั้นที่ 3 แสดงวิธีการหาคำตอบอย่างสร้างสรรค์ ขั้นที่ 4 ตรวจคำตอบและสรุปผล 2) การศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงรุก (Active Learning) เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๑ (กบินทร์ราษฎรอำรุง) พบว่า นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงรุก (Active Learning) ที่มีพื้นฐานทางการเรียนต่างกัน มีความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ หลังเรียนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงรุก (Active Learning) มีความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์และสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ สูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยการสอนแบบปกติและมีความสามารถในด้านการคิดวิเคราะห์และสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เชิงรุก (Active Learning) และนักเรียนที่เรียนด้วยการสอนแบบปกติมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^