LASTEST NEWS

06 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการสอบคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 05 พ.ค. 2567‘เพิ่มพูน’ ยันโรงเรียนห้ามกั๊กการออกใบเกรดหากเด็กค้างค่าเทอม 05 พ.ค. 2567ก.ค.ศ.เดินหน้ารื้อระบบ ศน.ใหม่ ยกเครื่อง ปรับบทบาทหน้าที่ เพิ่มคุณสมบัติ ดึงบุคลากรคุณภาพพัฒนาคุณภาพการศึกษา 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 04 พ.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบแข่งขันฯ ครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 04 พ.ค. 2567สพม.ชัยภูมิ ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 3 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 5 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชัยภูมิ เขต 2 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 2 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 04 พ.ค. 2567สพป.ชลบุรี เขต 1 ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย รอบทั่วไป ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่ 8-14 พ.ค.2567 03 พ.ค. 2567โรงเรียนหนองไผ่ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกคอมพิวเตอร์ เงินเดือน 10,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 10 พฤษภาคม พ.ศ.2567

รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครู

usericon

รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โรงเรียนเทศบาล 4 วัดโพธิวราราม

นายเอกตระการณ์ ซื่อไกรกุลธวัช

ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา

วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ

โรงเรียนเทศบาล 5 สีหรักษ์วิทยา

สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย


บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจุบัน สภาพพึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นเพื่อสร้าง เพื่อทดลองใช้ และเพื่อประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโรงเรียนเทศบาล 4 วัดโพธิวราราม โดยวิธีวิจัยและพัฒนา 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโรงเรียนเทศบาล 4 วัดโพธิวราราม โดยสำรวจสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสำรวจโดยใช้แบบสอบถามครูและบุคลากร จำนวน 25 คน และคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 13 คนและผู้ปกครองจำนวน 59 คน รวมจำนวน 97 คน และการศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องจำเป็นพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คน ระยะที่ 2 สร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยยกร่างรูปแบบและจัดทำคู่มือการใช้รูปแบบ จากนั้นประเมินความเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน ระยะที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยนำไปปฏิบัติจริงใน ปีการศึกษา 2564 กับครูโรงเรียนเทศบาล 4 วัดโพธิวราราม จำนวน 25 คน ได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง เพื่อประเมินแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก การจัดการเรียนรู้เชิงรุกและผลงาน/ชิ้นงานของนักเรียน และระยะที่ 4 การประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาแบบมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกประเมินความพึงพอใจครูที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกกลุ่มเป้าหมายการประเมินความพึงพอใจครู ได้แก่ ครูผู้สอนระดับประถมศึกษาปีที่ 1 - ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาล 4 วัดโพธิวราราม สำนักการศึกษา เทศบาลนครอุดรธานี ปีการศึกษา 2564 จำนวน 25 คน นักเรียน จำนวน 81 คน และคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 13 คน รวมจำนวน 119 คน ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็น

1.1 ผลจากการศึกษาเอกสาร ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในขั้นตอนนี้ได้สรุปองค์ประกอบของรูปแบบได้ 6 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) หลักการ เป็นแนวคิดที่เป็นพื้นฐานหรือหลักการในการจัดกิจกรรมตามรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ เป็นเป้าหมายที่กำหนดไว้ในการพัฒนาคุณลักษณะที่ต้องการให้เกิดขึ้น 3) เนื้อหา เป็นสาระความรู้ที่กำหนดไว้ให้สัมพันธ์สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของรูปแบบ 4) กระบวนการ เป็นขั้นตอนหรือลำดับของการจัดกิจกรรมการบริหารแบบมีส่วนร่วมในแต่ละขั้นตอนเพื่อให้การบริหารบรรลุผล 5) การวัดและประเมินผล เป็นแนวทางในการวัดและประเมินผลการบริหารที่จัดขึ้นตามรูปแบบที่จะชี้ให้เห็นถึงประสิทธิภาพของรูปแบบและการบรรลุวัตถุประสงค์ และ 6) เงื่อนไขของรูปแบบ เป็นแนวทาง/เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้

1.2 ผลการสนทนากลุ่ม ได้องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโรงเรียนเทศบาล 4 วัดโพธิวราราม จำนวน 3 องค์ประกอบหลัก 15 ตัวชี้วัด สรุปสภาพปัจจุบันและความต้องการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความต้องการพัฒนาเรียงตามลำดับมากไปน้อย

2. ผลการสังเคราะห์ร่างรูปแบบและประเมินความเหมาะสมของคู่มือ พบว่า ผลการวิเคราะห์ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโรงเรียนเทศบาล 4 วัด โพธิวราราม จากการสัมมนาอิงกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ มีความคิดเห็นว่าความเหมาะสม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และผลการประเมินความเหมาะสมของคู่มือรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโรงเรียนเทศบาล 4 วัด โพธิวราราม สำนักการศึกษาเทศบาลนครอุดรธานี จากผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า มีความเหมาะสม โดยรวมอยู่ ในระดับมากที่สุด

3. ผลการใช้รูปแบบบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเปรียบเทียบความรู้ ความเข้าใจของครูเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกก่อนและหลังการใช้รูปแบบ พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยหลังได้รับการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสูงกว่าก่อนพัฒนา ผลการประเมินการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครู หลังการใช้รูปแบบพบว่า มีค่าเฉลี่ยโดยรวมคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการวัดเจตคติที่มีต่อการเรียนรู้เชิงรุกของครู หลังการใช้รูปแบบ พบว่า ครูผู้สอนมีเจตคติที่ดีต่อการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยรวมอยู่ ในระดับดี และพบว่า เจตคติในประเด็นรายการ การจัดการเรียนรู้เชิงรุกช่วยพัฒนาการคิดระดับดีมาก ด้านการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าในระดับดีมาก

4. ผลการประเมินรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโรงเรียนเทศบาล 4 วัด โพธิวราราม พบว่า ครู คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโรงเรียนเทศบาล 4 วัดโพธิวราราม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน 3 ลำดับ เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย

Abstract
    This research aims to study the current desirable conditions and necessary requirements in order to create, experiment with, and evaluate a collaborative educational management model to enhance teachers' proactive learning management capabilities at Wat Pho Waramaram Municipal School 4, Nakhon Udon Thani Municipality Education Office. The research and development process consists of four phases:
    Phase 1: Study the desirable current conditions and the needs necessary for the development of a collective community growth model to strengthen learning management. Economic learning of municipal 4 school teachers at Wat Phothiwararam Udon Thani Village Education Office By surveying the current condition that needs and wants to study in the guideline, 25 people receive 13 people and 59 parents, totaling 97 people, and study and express opinions about the current condition that is desirable and needs to be improved. By organizing economic learning by a sample group (focus group discussion). Instructions for 7 people. Phase 2 creates models for different types of business management. To increase teachers' enjoyment of active learning management by drafting a form and preparing to use this form Appropriate assessment by 9 experts. Phase 3: Try using a participatory service model to increase the efficiency of teachers' proactive learning management by putting them into practice in learning in 2021 with municipal teachers schools. 4 Wat Pho Wararam, 25 subjects were obtained by following a specific questionnaire to assess an economic learning management plan. Derivative learning and portfolio/asking questions Join to encourage teacher footnote learning arrangements. Assessment of teacher scoring - 6 municipal schools 4 Wat Phothiwararam Udon Thani Municipality Education Office, Academic Year 2021, 25 students, 81 students and 13 challengers, totaling 119 people.
    1. Desirable results of the study of present conditions and necessary needs
    1.1 Results from study materials, textbooks, and those who have to do the steps summarize the results according to the pattern. 6 pixels follow. set 3) The content is a detailed knowledge content to be related to the following of the form. steps for management to achieve results; 5) measuring and liberating instructors, measuring and releasing that will help follow a pattern that will point targets to achieve the pattern that achieves objectives; and 6) Conditions of the form is possible/conditions for implementing the form.
    1.2 The results were given to the group to try to create a participatory responsibility model for proactive learning of teachers at Municipal School 4 Wat Phothiwararam in the amount of 3 pixels for the 15th digit. current and demand All in all, there are many questions about these developments descending.
    2. Summarize the draft model and evaluate its suitability every time, which will result in the appropriateness and include the model management model to receive proactive learning management of teachers at Municipal School 4 Wat Phothiwararam. bureau of education Udon Thani Municipality Expert Group Seminar The following is deemed appropriate to combine as much as possible. and is the most overall example of a meeting. and the results of the appropriate group meeting of Guidelines for Participatory Administrative Modeling to Promote Proactive Learning Management for Teachers at Municipal School 4 Wat Phothiwararam Udon Thani Municipal Education Office.
    3. The results of using the participatory management model to enhance the economic learning management of teachers A comparison of teachers' knowledge and understanding of active learning management before and after using the model would be scored. After analysis, it is proactively managed to reinforce learning to manage the proactive learning of others before it develops, which results in a teacher's proactive learning. After using different formats Most effective content Measuring Jet Confirm, don't forget the teacher's proactive learning. after using that format Teachers will be given the attitude to continue to organize all available comparative learning. at a good level and found that the attitude on the issue Academic academic learning materials help to develop thinking to a very high level.
    4. The results obtained will form a collective management model to cause proactive learning management of teachers at Municipal School 4, Phothiwararam Temple. Documents on participatory management modeling to enhance learning in proactive learning management of municipal school 4 teachers, Phothiwararam Temple. bureau of education Udon Thani Municipality which usually comes from descending.
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^