LASTEST NEWS

27 ก.ค. 2567โอกาสมาแล้ว!! น้องนิสิต นักศึกษาครู เชิญทางนี้ กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย (โครงการช้อนครู) 322 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 2 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567เมืองพัทยา เปิดสอบผู้ช่วยครูผู้ช่วย จำนวน 17 อัตรา รับสมัคร 1-9 สิงหาคม 2567  26 ก.ค. 2567สพป.นนทบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 15 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 11 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ปทุมธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567“ศธ.-มท.” เตรียมสุ่มตรวจยาเสพติดโรงเรียน 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2566 รอบที่ 7 จำนวน 1 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2567 รอบที่ 2 จำนวน 9 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี 2567 รอบที่ 2 จำนวน 8 อัตรา - รายงานตัว 7 สิงหาคม 2567 24 ก.ค. 2567ยินดีด้วยครับ ! สพป.นครราชสีมา เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 จำนวน 80 อัตรา - รายงานตัว 30 กรกฎาคม 2567

รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก

usericon

ชื่อผลงานทางวิชาการ รายงานการประเมินโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้รูปแบบการประเมินซิป(CIPP Model) โรงเรียนบ้านอาจสามารถ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5
ผู้วิจัย นางปุณยวีร์ จิตศรัทธา
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านอาจสามารถ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น
ปีการศึกษา 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้รูปแบบการประเมินซิป (CIPP Model) โรงเรียนบ้านอาจสามารถ จำนวน 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตของโครงการ ได้แก่ 1) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน 8 ประการ และ 2) ความคุ้มค่าและประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินงานโครงการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครอง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 โดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 30 คน จากโรงเรียนโนนงามศึกษา สำหรับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูและบุคลากรทางการศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครอง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 โดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 98 คน จากโรงเรียนบ้านอาจสามารถ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล มี 3 ชุด เป็นแบบสอบถามชนิดประมาณค่า 5 ระดับ ชุดที่ 1 - 2 จำนวน 4 ด้านตามรูปแบบ การประเมินแบบซิป (CIPP Model) ชุดที่ 3 แบบสอบถามความพึงพอใจต่อโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยใช้รูปแบบการประเมินซิป (CIPP Model) ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย ใช้สถิติเบื้องต้นในการวิเคราะห์ข้อมูลประมวลผล เช่น ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นต้น ผลการประเมินโครงการ พบว่า
    การประเมินโดยภาพรวมของโครงการ จำนวน 4 ด้าน อยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านบริบท
1) ด้านบริบท (Context Evaluation) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ โรงเรียนมีการกำหนดนโยบายโครงการส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกไว้อย่างชัดเจน รองลงมาได้แก่ วัตถุประสงค์ของโครงการมีความชัดเจน สอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียน มีความเป็นไป ส่วนในข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ กิจกรรมตามโครงการสามารถปฏิบัติได้จริง
2) ด้านปัจจัยนำเข้า (Inputs Evaluation) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ มีแผนงานดำเนินงานโครงการอย่างชัดเจน รองลงมาได้แก่ ระยะเวลาในการดำเนินการโครงการมีความเหมาะสม ตามลำดับ ส่วนประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด อยู่ในระดับมาก ได้แก่ โรงเรียนมีสถานที่ห้องเรียนที่เอื้อต่อการปฏิบัติกิจกรรมโครงการอย่างเพียงพอ
3) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ มีการกำหนดขั้นตอน และวิธีดำเนินงานโครงการที่ชัดเจนเหมาะสม รองลงมาได้แก่ มีการวางแผนงานในการขับเคลื่อนโครงการสู่การปฏิบัติ ตามลำดับ สำหรับประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ มีการเปิดเผยข้อมูล และขยายผลการประเมินโครงการสู่ชุมชน และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายรับทราบอยู่เสมอ
4) ด้านผลผลิต (Products Evaluation) ประเด็นที่ 1 คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน 8 ประการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ใฝ่เรียนรู้ รองลงมาได้แก่ มีวินัย ตามลำดับ สำหรับประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ มีจิตสาธารณะ ส่วนประเด็นที่ 2 คุณค่าและประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินงานโครงการ ผลการประเมินพบว่า ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ คณะครูสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ภายในโรงเรียนได้ทั้งระบบ รองลงมาได้แก่ ครูมีแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนอย่างชัดเจน ตามลำดับ สำหรับประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ โรงเรียนมีการประเมินผลผลิตการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้รูปแบบการประเมินซิป (CIPP Model)
ผลการประเมินความพึงพอใจต่อโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้รูปแบบการประเมินซิป (CIPP Model) โรงเรียนบ้านอาจสามารถ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 พบว่า มีความพึงพอใจต่อโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) โดยใช้รูปแบบการประเมินซิป (CIPP Model) ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ประเด็นที่พึงพอใจสูงสุด ได้แก่ วัตถุประสงค์ และกิจกรรมของโครงการมีความเหมาะสม รองลงมาได้แก่ โรงเรียนมีความพร้อมในการดำเนินงานโครงการ เพื่อพัฒนาจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียน ตามลำดับ
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^