LASTEST NEWS

07 ธ.ค. 2567ปฏิทินการย้าย "ข้าราชการครู" สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านระบบ TRS (Teacher Rotation System) ประจำปี พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1 07 ธ.ค. 2567ว24/2567 แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินการย้าย การประมวลผลและการพิจารณาย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านระบบ TRS (Teacher Rotation System) 07 ธ.ค. 2567ศธ. ขอบคุณนายกฯ และ ครม. หลังเริ่มจัดสรรงบอาหารกลางวัน ม.1-3 โรงเรียนขยายโอกาส "พี่อิ่มท้อง น้องอิ่มใจ" 07 ธ.ค. 2567สพฐ. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “โครงการโรงเรียนสุจริต” ระดับประเทศ 07 ธ.ค. 2567โรงเรียนบ้านน้ำเที่ยงนาเรียง รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือนละ 5,000 บาท (ห้าพันบาทถ้วน) ตั้งแต่วันที่ 9 - 17 ธันวาคม 2567 ไม่เว้นวันหยุดราชการ 07 ธ.ค. 2567ยกเลิกประกาศแล้ว !!! โรงเรียนบ้านกุดแข้ ยกเลิกประกาศรับสมัครครูอัตราจ้าง เนื่องจากมีข้อผิดพลาดเรื่องจำนวนเงินเดือน เพื่อตรวจทานแก้ไขให้เรียบร้อยก่อนประกาศใหม่ 06 ธ.ค. 2567โรงเรียนเอราวัณวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 6 - 18 ธันวาคม 2567 06 ธ.ค. 2567โรงเรียนบ้านกุดแข้ รับสมัครครูอัตราจ้าง วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 3,000.- บาท/เดือน สมัคร 9-19 ธันวาคม 2567 06 ธ.ค. 2567ศธ. - สพฐ. สรุปผลสอบกรณีครูเบญ พบดำเนินการถูกต้องตามระเบียบ เจ้าตัวยอมรับ-ไม่ติดใจผลคะแนน 06 ธ.ค. 2567วิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 4 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000 บาท ตั้งแต่ 16-20 ธันวาคม 2567

แบบรายงานวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)

usericon

แบบรายงานวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) เรื่อง การวางแผนการศึกษาโดยใช้แบบประเมินความสามารถทางพหุปัญญาด้วยทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์
ชื่อผู้พัฒนา : นางสาวจุฑารัตน์ สงวนคำ
โรงเรียนสตรีพังงา    จังหวัดพังงา    สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพังงา ภูเก็ต ระนอง
โทรศัพท์มือถือ : 0867428965    E-mail : juta.saa28@gmail.com
1. ความสำคัญของปฏิบัติที่เป็นเลิศ
    ปัจจุบันการปฏิรูปการศึกษา มุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและปฏิรูประบบการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับความหลากหลายของการจัดการศึกษาและตอบโจทย์การพัฒนาของโลกอนาคต โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เรียนทุกกลุ่มวัยได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน มีทักษะที่จำเป็นของโลกอนาคต สามารถแก้ปัญหา ปรับตัว สื่อสาร และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิผล มีวินัย มีนิสัยใฝ่เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และเป็นพลเมืองที่รู้สิทธิและหน้าที่ มีความรับผิดชอบ มีจิตสาธารณะ มีความรักและความภาคภูมิใจในความเป็นไทย โดยมีขอบเขตครอบคลุมทั้งการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมวัยไปจนถึงระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนสู่การเรียนรู้ฐานสมรรถนะ เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 การปฏิรูปกลไกและระบบการผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพมาตรฐาน นำไปสู่การยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ,2564)
    ทักษะด้านการวางแผนเป็นทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบความคิด หรือความสามารถในการคิดวางแผนหรือคาดการณ์ล่วงหน้า เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมาย เช่น การจัดลำดับขั้นตอนความสำคัญ การตัดสินใจที่ดี การกำหนดหรือมอบหมายงานที่เหมาะสมกับทักษะ การวางแผนการจัดการ เป็นต้น ซึ่งเป็นทักษะทางการคิดที่ทำให้สามารถทำงานสำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพ (สมพิศ โห้งาม ,2553) การวางแผนการศึกษาจึงเป็นเครื่องมือสำคัญยิ่งของการจัดการศึกษาทุกระดับ เพราะก่อนจะดำเนินการใดๆ ต้องมีการวางแผนเป็นระบบมีขั้นตอนกระบวนการเพื่อเป็นกรอบหรือเป็นเค้าโครง ในการทำงานและองค์ประกอบสำคัญอีกประการหนึ่ง คือการเข้ามามีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในการวางแผนงานเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่หลากหลายแล้วนามาวิเคราะห์สภาพปัจจุบันในการจัดการศึกษา
    ทฤษฎีพหุปัญญา ของ ดร.โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ ชี้ให้เห็นถึงความหลากหลายทางปัญญาของมนุษย์ ซึ่งมีหลายด้าน หลายมุม แต่ละด้านก็มีความอิสระในการพัฒนาตัวของมันเองให้เจริญงอกงาม ในขณะเดียวกันก็มีการบูรณาการเข้าด้วยกัน เติมเต็มซึ่งกันและกัน แสดงออกเป็นเอกลักษณ์ทางปัญญาของมนุษย์แต่ละคน คนหนึ่งอาจเก่งเพียงด้านเดียว หรือเก่งหลายด้าน หรืออาจไม่เก่งเลยสักด้าน แต่ที่ชัดเจน คือ แต่ละคนมักมีปัญญาด้านใดด้านหนึ่งโดดเด่นกว่าเสมอ ไม่มีใครที่มีปัญญาทุกด้านเท่ากันหมด หรือไม่มีเลยสักด้านเดียว นับเป็นทฤษฎีที่ช่วยจุดประกายความหวัง เปิดกระบวนทัศน์ใหม่ในการศึกษาด้านสติปัญญาของมนุษย์ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ทั้งในกลุ่มเด็กปกติ เด็กที่มีความบกพร่อง และเด็กที่มีความสามารถพิเศษ (H. Gardner ,1997)
    นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสตรีพังงาส่วนใหญ่จะประสบปัญหาเรื่องของการกำหนดสายการเรียน ซึ่งนักเรียนที่เลือกเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ต้องตัดสินใจว่าจะเลือกเรียนในแผนการเรียนใดเพื่อให้ตรงกับความรู้ความสามารถของตนเอง หากทางเลือกของนักเรียนถูกกำหนดให้แคบและอาจไม่รองรับกับความชอบความสนใจของตนเอง กลายเป็นปัญหาเรียนแล้วไม่มีความสุข ไม่สนุก หรือไม่ชอบ เรียนให้ผ่านไปวันๆ เพื่อที่จะสอบเข้ามหาวิทยาลัยโดยที่ยังไม่รู้ว่าตนเองสนใจหรือถนัดเรื่องไหน และท้ายที่สุดก็ส่งผลให้เกิดความเครียดตามมา
    เพื่อพัฒนานักเรียนให้สามารถวางแผนการศึกษาได้ ครูผู้สอนจึงจัดรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบประเมินความสามารถทางพหุปัญญาด้วยทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์ มาใช้ในการประเมินความสามารถของนักเรียน เพื่อให้นักเรียนเข้าใจความสามารถของตนเอง ใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของตนและปรับปรุงจุดอ่อนของตน เสริมความมั่นใจในตนเอง และช่วยในการประเมินทักษะพื้นฐานและระดับของนักเรียนได้อย่างแม่นยำ ส่งผลให้การบริหารจัดการด้านการเรียนและการวางแผนการศึกษาของนักเรียนเกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในลำดับต่อไป

2. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
    2.1 วัตถุประสงค์
2.1.1 เพื่อประเมินความสามารถและพัฒนาความสามารถทางการเรียนของนักเรียนตามทฤษฎีพหุปัญญา
2.1.2 เพื่อศึกษาความสามารถด้านที่เด่นของนักเรียนโดยใช้แบบประเมินความสามารถทางพหุปัญญาด้วยทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์
2.1.3 เพื่อให้นักเรียนเข้าใจความสามารถของตนเองและใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของตนและปรับปรุงจุดอ่อนของตน
2.1.4 เพื่อให้นักเรียนสามารถบริหารจัดการด้านการเรียนและการวางแผนการศึกษาของนักเรียนเกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
2.2 เป้าหมายของการดำเนินงาน
        2.2.1 เชิงปริมาณ
1) นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ร้อยละ 80 ได้เรียนรู้ด้วยทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์
2) นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ร้อยละ 80 สามารถหาด้านที่เด่นของนักเรียนโดยใช้แบบประเมินความสามารถทางพหุปัญญาด้วยทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์
3) ร้อยละ 80 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนของครูในระดับมากขึ้นไป
2.2.2 เชิงคุณภาพ
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เกิดกระบวนการในการคิด การตัดสินใจ มีเจตคติที่ดีต่อการจัดการเรียนรู้ของครูและเรียนรู้อย่างมีความสุข สามารถบริหารจัดการด้านการเรียนและการวางแผนการศึกษาของนักเรียนเกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

3. ขั้นตอนการดำเนินงาน
3.1 ขั้นวางแผน (Plan)
3.1.1 ศึกษาหลักสูตรและทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์
3.1.2 ศึกษารูปแบบการจัดการจัดการกิจกรรมการเรียนรู้และสื่อการเรียนร
3.1.3 ออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
3.1.4 จัดทำสื่อนวัตกรรมการเรียนการสอน
3.2 ขั้นดำเนินการตามแผน (Do)
    3.2.1 ครูสอบถามนักเรียนเกี่ยวกับความสามารถที่โดดเด่นของแต่ละคน
    3.2.2 ครูอธิบายถึงหน่วยการเรียนรู้ที่สอน รายละเอียดหน่วยการเรียนรู้ รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้แก่นักเรียน
3.2.3 ครูนำเสนอแบบประเมินความสามารถทางพหุปัญญาให้นักเรียนพร้อมทั้งอธิบายรายละเอียดและขั้นตอนการทำโดยให้นักเรียนทำเครื่องหมายถูกหน้าข้อที่ตรงกับความสามารถ หรือ ตามความเป็นจริงของนักเรียน ซึ่งแบบทดสอบจะมีทั้งหมด 80 ข้อ
3.2.4 หลังจากนำเสนอแบบทดสอบแล้วให้เวลานักเรียน 20 นาทีในการทำแบบประเมิน
3.2.5 ครูให้นักเรียนรวมคะแนน ลงในตารางเพื่อนำมาวิเคราะห์ผลลงในแผนภาพแสดงทักษะทางพหุปัญญา
3.3 ขั้นตรวจสอบ (Check)
        3.3.1 นักเรียนมีความตื่นตัวในการทำกิจกรรม โดยมีครูทำหน้าที่ให้ข้อเสนอแนะ
3.3.2 เมื่อนักเรียนจัดทำแบบประเมินแล้ว ครูทำหน้าที่ตรวจสอบ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมและข้อเสนอแนะ
3.4 การสะท้อนผล (Action)
3.4.1 นำผลจากการประเมิน ผลจากการวัดและประเมินผลตามจุดประสงค์การเรียนรู้มาสรุป
4. ผลการดำเนินงานและประโยชน์ที่ได้รับ
    4.1 ผลการดำเนินงาน
        4.1.1 นักเรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้มากขึ้นโดยใช้แบบประเมินความสามารถทางพหุปัญญาด้วยทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์
        4.1.2 นักเรียนเกิดกระบวนการคิดมากขึ้น โดยใช้แบบประเมินความสามารถทางพหุปัญญาด้วยทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์
        4.1.3 นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องที่เรียนอย่างแท้จริง สามารถสร้างความรู้ด้วยตนเอง    
        4.1.4 นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนและชีวิตประจำวัน
    4.2 ประโยชน์ที่ได้รับ
        4.2.1 นักเรียนมีความสามารถในการประเมินและพัฒนาความสามารถทางการเรียนของตนเองตามทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์ได้
4.2.2 นักเรียนสามารถค้นหาด้านที่เด่นของนักเรียนตามทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์ได้
4.2.3 นักเรียนเข้าใจความสามารถของตนเองและใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของตนและปรับปรุงจุดอ่อนของตนได้

5. ปัจจัยความสำเร็จ
    5.1 กระบวนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบประเมินความสามารถทางพหุปัญญาด้วยทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์ ช่วยพัฒนานักเรียนให้เกิดการเรียนรู้สูงสุด มีการวางแผนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการสร้างองค์ความรู้ของนักเรียนในการวางแผนการศึกษา
    5.2 นักเรียนตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการเรียนการสอน ให้ความร่วมมือในการจัดการเรียนการสอนของครูและนำผลการจัดการเรียนการสอนไปพัฒนาตนเองให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
5.3 ครูพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ให้ความสนใจต่อความต้องการในการเรียนรู้และส่งเสริมนักเรียนสู่การเรียนรู้ที่ประสบความสำเร็จ

6. บทเรียนที่ได้รับ
    6.1 กระบวนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบประเมินความสามารถทางพหุปัญญาด้วยทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการเรียนรู้กับนักเรียน นักเรียนได้ฝึกทักษะการคิด การวิเคราะห์ในความสามารถของตนเอง
6.2 นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยใช้แบบประเมินความสามารถทางพหุปัญญาด้วยทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์
6.3 นักเรียนมีเจตคติที่ดีในการเรียนวิชาแนะแนว ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ดี ส่งงานครบและตรงเวลา
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^