LASTEST NEWS

27 ก.ค. 2567ไม่ต้องผ่านภาค ก 65 อัตรา วุฒิปริญญาตรีทุกสาขา เงินเดือน 16,830 บาท สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล รับสมัครสอบบรรจุเป็นพนักงาน ตั้งแต่บัดนี้ - 9 สิงหาคม 2567 27 ก.ค. 2567โอกาสมาแล้ว!! น้องนิสิต นักศึกษาครู เชิญทางนี้ กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย (โครงการช้อนครู) 322 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 2 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567เมืองพัทยา เปิดสอบผู้ช่วยครูผู้ช่วย จำนวน 17 อัตรา รับสมัคร 1-9 สิงหาคม 2567  26 ก.ค. 2567สพป.นนทบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 15 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 11 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ปทุมธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567“ศธ.-มท.” เตรียมสุ่มตรวจยาเสพติดโรงเรียน 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2566 รอบที่ 7 จำนวน 1 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2567 รอบที่ 2 จำนวน 9 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี 2567 รอบที่ 2 จำนวน 8 อัตรา - รายงานตัว 7 สิงหาคม 2567

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับ

usericon

ชื่อเรื่อง        การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้
            แบบ Active Learning เพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์
            เรื่อง ความเท่ากันทุกประการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
ผู้วิจัย            นางสาวธัญนันท์ โบราณกุล
            ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
            โรงเรียนเทศบาล ๑ สว่างวิทยา สำนักการศึกษา เทศบาลเมืองหนองคาย
ปีที่ทำการวิจัย    ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๕

บทคัดย่อ

    ในการพัฒนาครั้งนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อ ๑) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการ
ให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ๒) สร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความเท่ากันทุกประการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ๓) ศึกษาผลการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น ดังนี้ ๓.๑) หาประสิทธิภาพของรูปแบบที่
พัฒนาขึ้น ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ๓.๒) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ๓.๓) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ๓.๔) ศึกษาความ
พึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบที่พัฒนาขึ้น ๔) เพื่อประเมินการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น การวิจัยแบ่งเป็น ๔ ระยะ ระยะที่ ๑ กลุ่มเป้าหมายคือ ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน ๕ คน
และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ จำนวน ๑๒ คน โรงเรียนในสำนักการศึกษา เทศบาลเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสารและแบบสัมภาษณ์ ระยะที่ ๒ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๗ คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองใช้ (Try-Out) คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒/๑ ทั้งหมดจำนวน ๓๕ คน ได้แก่ ทดลองแบบเดี่ยว จำนวน ๓ คน ทดลองแบบกลุ่มเล็ก จำนวน ๙ คน และ ทดลองภาคสนาม จำนวน ๓๓ คน (ซึ่งไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างจริง) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบประเมินรูปแบบ และเครื่องมือประกอบการใช้รูปแบบ ระยะที่ ๓ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒/๒ โรงเรียนเทศบาล ๑ สว่างวิทยา จำนวน ๓๐ คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน ๑๔ แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าความยากง่าย (p) ตั้งแต่ ๐.๓๓-๐.๗๒ และมีค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ ๐.๒๒-๐.๗๗ และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๑ แบบทดสอบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๘๘ และแบบสอบถามความพึงพอใจ มีอำนาจจำแนกรายข้อ (rxy) ตั้งแต่ ๐.๒๒-๐.๘๑ และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๐ ระยะที่ ๔ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูผู้สอนรายวิชาคณิตศาสตร์ จำนวน ๑๗ คน เครื่องมือที่ใช้แบบประเมินความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ t-test (Independent system)
    ผลการวิจัยพบว่า
    ๑. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า สภาพการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นยังไม่บรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการ เนื่องจากการจัดการเรียนการสอนของครู
ไม่เชื่อมโยงกับชีวิตจริง ยังขาดการคิดวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การแก้ปัญหา และการให้เหตุผล
ส่งผลการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์เน้นการจดจำมากกว่าความเข้าใจ ขาดการใช้เหตุผลสนับสนุน ครูจึงมี
ความต้องที่จะพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เสริมสร้างความสามารถในการให้เหตุผล และการคิดแก้ปัญหาไปพร้อมกับพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่เน้นให้นักเรียนลงมือปฏิบัติจริง มีโอกาสได้เรียนรู้ร่วมกับเพื่อน และฝึกด้วยตนเอง
ผ่านการเผชิญปัญหาและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง จะสามารถพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ ของนักเรียนได้
    ๒. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความเท่ากันทุกประการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ มีชื่อว่า WACASE Model มีองค์ประกอบที่พัฒนาขึ้น ๖ องค์ประกอบ คือ ๑) หลักการ ๒) วัตถุประสงค์ ๓) กระบวนการจัดการเรียนรู้ ๔) ระบบสังคม ๕) หลักการตอบสนอง และ ๖) สิ่งสนับสนุน มีกระบวนการจัดการเรียนรู้ ๕ ขั้นตอน คือ ๑) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน (Warm Up : W) ๒) ขั้นลงมือปฏิบัติ (Action : A) ๓) ขั้นสร้างความรู้ (Construction : C)
๔) ขั้นนำไปใช้ (Apply : A) ๕) ขั้นสรุป (Summary : S) และ ๖) ขั้นประเมินผล (Evaluation : E) ผลการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบจากผู้ทรงคุณวุฒิ มีคุณภาพเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
๓. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความเท่ากันทุกประการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ (WACASE Model) พบว่า ๑) ประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ (E๑/E๒) เท่ากับ ๘๔.๓๑/๘๓.๗๘ ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ที่ตั้งไว้ ๒) นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ๓) นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ๔) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น โดยรวมอยู่ในระดับมาก
    ๔. ผลการประเมินความคิดเห็นของครูผู้สอนรายวิชาคณิตศาสตร์ต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ความเท่ากันทุกประการ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^