LASTEST NEWS

09 ธ.ค. 2567โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา เปิดสอบครูผู้ช่วย วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 19,500 บาท สมัครด้วยตนเอง ตั้งแต่ 9-25 ธันวาคม 2567 09 ธ.ค. 2567ประเด็นน่ารู้เกี่ยวกับระบบการย้ายข้าราชการครู (Teacher Rotation System : TRS) 09 ธ.ค. 2567โรงเรียนอนุบาลแม่ฮ่องสอน รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 7,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 9-13 ธันวาคม 2567 09 ธ.ค. 2567อย่างเป็นทางการ ! สอศ. เรียกบรรจุครูผู้ช่วย อาชีวะ 644 อัตรา - รายงานตัว 23-25 ธันวาคม 2567 09 ธ.ค. 2567วิทยาลัยเทคนิคสมุทรปราการ รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 11 - 27 ธันวาคม 2567 09 ธ.ค. 2567วิทยาลัยการอาชีพหัวไทร รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 11 - 19 ธันวาคม 2567 09 ธ.ค. 2567วิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 4 อัตรา ตั้งแต่ 16 - 20 ธันวาคม 2567 09 ธ.ค. 2567วิทยาลัยเทคนิคน่าน รับสมัครพนักงานราชการ ตำแหน่งด้านการเงินและบัญชี เงินเดือน 18,000.- บาท ตั้งแต่วันที่ 13-20 ธันวาคม 2567 07 ธ.ค. 2567ปฏิทินการย้าย "ข้าราชการครู" สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านระบบ TRS (Teacher Rotation System) ประจำปี พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 1 07 ธ.ค. 2567ว24/2567 แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินการย้าย การประมวลผลและการพิจารณาย้ายข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ผ่านระบบ TRS (Teacher Rotation System)

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม

usericon

ชื่องานวิจัย : การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม เพื่อเสริมสร้าง
มโนทัศน์ทางภาษาไทยและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า
ชื่อผู้วิจัย : นางสาววลัยพร ก้อนจันทร์หอม
สถานศึกษา : โรงเรียนโรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า เทศบาลนครนครอุดรธานี
จังหวัดอุดรธานี
ปีการศึกษา : 2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีคอนสตรักติวิ
ซึม เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางภาษาไทยและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่
2 โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพเชิงประจักษ์ของรูปแบบการเรียนการสอน
ตามทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางภาษาไทยและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า โดยวิธีการทดสอบสมมติฐาน จากการประเมิน
มโนทัศน์ของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอน ประเมินความสามารถด้านการคิด
อย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอน และศึกษาความคิดเห็น
ของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น การวิจัยนี้เป็นการ
วิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยกำหนดรูปแบบการทดลองแบบหนึ่งกลุ่มทดสอบ
ก่อนและหลังการทดลอง (One-Group Pretest Posttest Design) กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย
แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น จำนวน 7 แผน แบบทดสอบวัดมโนทัศน์
ทางภาษาไทย แบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และแบบสอบถามความคิดเห็นของ
นักเรียนต่อรูปแบบการเรียนการสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าค่าเฉลี่ย (x-bar) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้
1) รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีคอนสตรักติวิซึม เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางภาษาไทย
และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า เรียกว่า
VICSA Model (วิคซ่า โมเดล) ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการ
เรียนการสอน สาระความรู้ และเงื่อนไขการนำรูปแบบการเรียนการสอนไปใช้ มีกระบวนการเรียนการสอน
5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นตรวจสอบความรู้เดิม (Verifying Knowledge : V) 2) ขั้นเติมความรู้ใหม่
(Instructing Fundamental Knowledge and Skill : I) 3) ขั้นใส่มโนทัศน์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
(Constructing Concepts and Critical Thinking : C) 4) ขั้นแบ่งปันความรู้รอบ (Sharing Knowledge :
S) และ 5) ขั้นตรวจสอบความรู้ความเข้าใจ (Assessing Knowledge and Understanding : A)
2) ผลการตรวจสอบประสิทธิภาพเชิงประจักษ์ของรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎี
คอนสตรักติวิซึม เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางภาษาไทยและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 2โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า พบว่า มโนทัศน์ทางภาษาไทยของนักเรียนหลังเรียนสูง
กว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของ
นักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนเห็นด้วยกับ
กระบวนการจัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอนในระดับ มาก
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^