LASTEST NEWS

27 ก.ค. 2567โอกาสมาแล้ว!! น้องนิสิต นักศึกษาครู เชิญทางนี้ กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย (โครงการช้อนครู) 322 อัตรา รับสมัคร 30 ก.ค. - 2 ส.ค.2567 27 ก.ค. 2567เมืองพัทยา เปิดสอบผู้ช่วยครูผู้ช่วย จำนวน 17 อัตรา รับสมัคร 1-9 สิงหาคม 2567  26 ก.ค. 2567สพป.นนทบุรี เขต 2 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 ปี 2567 จำนวน 15 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ศรีสะเกษ เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 11 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 26 ก.ค. 2567สพป.ปทุมธานี เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบที่ 2 จำนวน 5 อัตรา - รายงานตัว 6 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567“ศธ.-มท.” เตรียมสุ่มตรวจยาเสพติดโรงเรียน 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2566 รอบที่ 7 จำนวน 1 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.ฉะเชิงเทรา เขต 1 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย บัญชีปี พ.ศ.2567 รอบที่ 2 จำนวน 9 อัตรา - รายงานตัว 1 สิงหาคม 2567 25 ก.ค. 2567สพป.นครราชสีมา เขต 6 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปี 2567 รอบที่ 2 จำนวน 8 อัตรา - รายงานตัว 7 สิงหาคม 2567 24 ก.ค. 2567ยินดีด้วยครับ ! สพป.นครราชสีมา เขต 4 เรียกบรรจุครูผู้ช่วย รอบ 2 จำนวน 80 อัตรา - รายงานตัว 30 กรกฎาคม 2567

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์

usericon

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 2) สร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบ ดังนี้ 3.1) หาประสิทธิภาพของรูปแบบที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3.2) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3.3) ศึกษาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์โดยเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 4) ประเมินและปรับปรุงรูปแบบ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาผลการใช้รูปแบบเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนเทศบาลนาเชือก ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวิเคราะห์เอกสาร 2) แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์
ด้านการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 3) คู่มือการใช้รูปแบบ 4) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 6) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ 7) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน 8) แบบวิเคราะห์เอกสารการสนทนากลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ไปใช้ สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที แบบ Dependent Samples t-test และ One Sample t-test
    ผลการวิจัยพบว่า
        1. ปัญหาและอุปสรรคด้านการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการ
คิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์มีสาเหตุจากหลายปัจจัย เช่น ด้านครูผู้สอน ขาดรูปแบบการสอนที่เป็นระบบ
ด้านนักเรียน ด้านเครื่องมือ สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ ครูผู้สอนทุกคนเห็นด้วย และมีความต้องการด้านการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ โดยต้องการให้นักเรียนลงมือปฏิบัติโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์มากที่สุด รองลงมาคือ สามารถกำหนดสมมติฐานได้ และสามารถระบุตัวแปรในการทดลองได้ ตามลำดับ
        2. รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า P-IDEA Model มี 6 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการ แนวคิด และทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การค้นหาปัญหา (Problem Finding) ขั้นที่ 2 การค้นหาแนวคิด (Idea Finding) ขั้นที่ 3 การค้นหาคำตอบ (Discovery) ขั้นที่ 4 การสรุปและประเมินผล (Evaluation) และขั้นที่ 5 การประยุกต์ใช้ความรู้ (Apply) 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนอง และ 6) ระบบสนับสนุน ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับ มากที่สุด มีความเป็นไปได้อยู่ในระดับ มาก
        3. ประสิทธิภาพของรูปแบบเท่ากับ 83.06/81.90 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80/80 นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบมีคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
        4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด ผลการสนทนากลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีความเห็นว่ารูปแบบมีความสมเหตุสมผล สอดคล้องกับหลักสูตร หลักการ แนวคิด และทฤษฎี มีความถูกต้องแม่นยำ เชื่อถือได้ และเป็นประโยชน์ จากนั้นมีการปรับปรุงแก้ไขรูปแบบ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การตั้งวัตถุประสงค์ ปรับเวลาให้เหมาะสม ปรับความยากง่ายของข้อคำถาม การตั้งคำถาม รวมทั้งการจัดระบบสังคม หลักการตอบสนอง และระบบสนับสนุนในชั้นเรียน


ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^