LASTEST NEWS

21 ก.ย. 2566"แท็บเล็ต" ยุคยิ่งลักษณ์ถึงไอเดีย "เพิ่มพูน" ควรไปต่อหรือพอได้แล้ว 20 ก.ย. 2566‘เพิ่มพูน’มอบนโยบาย ผอ.สพท. ฝากการบ้านผู้บริหารเดินหน้า‘เรียนดี มีความสุข’ 20 ก.ย. 2566“รมว.ศธ.” แนะผอ.สพท.ใช้หลักอริยสัจสี่บริหารการศึกษา 19 ก.ย. 2566สพฐ.รับลูกลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา แจกแท็บเล็ต 19 ก.ย. 2566ผู้ปกครองไม่เห็นด้วยแจกแท็บเล็ต แนะนำงบจ้างครูเพิ่ม เน้นบุคลากรยังขาดแคลน 19 ก.ย. 2566สอศ.เปิดสอบพนักงานราชการครู 48 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000.-บาท สมัครได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป 18 ก.ย. 2566รอเรียกบรรจุ เฮ! ก.ค.ศ.แจ้งจัดสรรอัตราว่างฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย 12,514 อัตรา 18 ก.ย. 2566“เสมา2” แจงคุมสพฐ.ลั่นเจอทุจริตถูกเชือดโทษวินัยแน่ 18 ก.ย. 2566สพฐ.พร้อมหนุนนโยบาย”เพิ่มพูน” เดินหน้าลดภาระครู 18 ก.ย. 2566ด่วน !! กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ครั้งที่ 1/2566 ทางอินเทอร์เน็ต

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)

usericon

ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดย
    ใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์
    สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) สร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ดังนี้ 3.1) หาประสิทธิภาพของรูปแบบที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3.2) เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3.3) ศึกษาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนโดยเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 3.4) ศึกษาเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ 4) ประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ร่วมกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาผลการใช้รูปแบบเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนเทศบาลนาเชือก ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวิเคราะห์เอกสาร 2) แบบสัมภาษณ์ข้อมูลสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการ 3) คู่มือการใช้รูปแบบ 4) แผนการจัดการเรียนรู้ 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 6) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 7) แบบวัดเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียน 8) แบบสอบถามความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที แบบ Dependent Samples t-test และ One Sample t-test
    ผลการวิจัยพบว่า
        1. การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในปัจจุบันครูมุ่งเน้นให้ความรู้ด้านเนื้อหาแก่นักเรียนโดยเน้นวิธีการสอนแบบบรรยาย เนื่องจากไม่ต้องเตรียมสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ในการสอน อีกทั้งมีข้อจำกัดเรื่องเวลา ต้องสอนให้จบเนื้อหาตามหลักสูตร ส่งผลให้นักเรียนขาดการเชื่อมโยงความรู้ ขาดการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ไม่สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้ ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ แต่ขาดแนวทางในการปฏิบัติ ขาดทักษะ และการนำความรู้ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สำหรับแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ ครูควรจัดการเรียนรู้โดยเน้นให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ ร่วมกันระดมสมอง เพื่อสร้างแนวคิดอย่างหลากหลาย อภิปราย โต้แย้ง แบ่งปัน โดยครูเป็นผู้ชี้แนะและสนับสนุน
        2. รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า SEAEA Model ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ 1) แนวคิด และทฤษฎีพื้นฐาน 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 นำเสนอสิ่งเร้าและระบุปัญหา (Stimulating and Invented the problem) ขั้นที่ 2 ขั้นร่วมมือกันค้นหาคำตอบ (Exploration) ขั้นที่ 3 วิเคราะห์และสรุปผล (Analyzing and conclude) ขั้นที่ 4 ประเมินและสะท้อนผล (Evaluating and Reflecting) ขั้นที่ 5 ประยุกต์ใช้ความรู้ (Applying) 4) ระบบสังคม 5) หลักการตอบสนอง และ 6) ระบบสนับสนุน ผลการประเมินความเหมาะสมของร่างรูปแบบโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด
        3. ประสิทธิภาพของรูปแบบเท่ากับ 82.86/81.04 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80/80 นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบมีคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับ มากที่สุด
        4. ครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับ มาก มีการปรับปรุงแก้ไขรูปแบบ โดยปรับลดกิจกรรมให้เหมาะสมกับเวลา ปรับความยากง่ายของแบบทดสอบ และจัดระบบสนับสนุนในชั้นเรียน

tem9797 19 พ.ค. 2566 เวลา 14:46 น. 0 115
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^ <