LASTEST NEWS

19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 2) สพป.ขอนแก่น เขต 3 - ผลย้ายครู 2567 สพป.ขอนแก่น เขต 3 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.เชียงใหม่ เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.เชียงใหม่ เขต 2 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.นครสวรรค์ เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครสวรรค์ เขต 1 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.เพชรบุรี เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.เพชรบุรี เขต 1 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.สมุทรสงคราม - ผลย้ายครู 2567 สพป.สมุทรสงคราม 19 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.นครราชสีมา เขต 2 - ผลย้ายครู 2567 สพป.นครราชสีมา เขต 2

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน PBL

usericon

การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เรื่องสถิติและความน่าจะเป็น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการจำเป็น และแนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เรื่องสถิติและความน่าจะเป็น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ 3) ทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ และ4) ปรับปรุงและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ ดำเนินการวิจัยและพัฒนาแบ่งเป็น 4 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการจำเป็น และแนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ ระยะที่ 2 การสร้างรูปแบบและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ ระยะที่ 3 ทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ และระยะที่ 4 ปรับปรุงและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนเดื่อศรีไพรวัลย์ สังกัดสำนักการศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสกลนคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 36 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบันในการจัดการเรียนรู้ฯ 2) แบบสอบถามความต้องการสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ 3) แบบสัมภาษณ์แนวทางในการจัดการเรียนรู้ 4) แบบวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารูปแบบ 5) แบบตรวจสอบประสิทธิภาพด้านความสมเหตุสมผลเชิงทฤษฎี ความเป็นไปได้ และความสอดคล้องของรูปแบบ 6) แบบประเมินชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องสถิติและความน่าจะเป็น 7) แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ รายวิชาคณิตศาสตร์ (ค23102) สาระที่ 3 สถิติและความน่าจะเป็น 8) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เรื่องสถิติและความน่าจะเป็น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องสถิติและความน่าจะเป็น จำนวน 5 เล่ม และ 3) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 แผน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย (X ̅) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติการทดสอบที (t-test Dependent Samples) ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และนำเสนอผลโดยการพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการจำเป็นในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เรื่องสถิติและความน่าจะเป็น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า 1.1) สภาพปัญหาปัจจุบันในการจัดการเรียนรู้ สภาพปัญหาในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง (X ̅ = 3.18, S.D. = 0.65) 1.2) นักเรียนความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เรื่องสถิติและความน่าจะเป็น ความต้องการจำเป็นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X ̅ = 4.20, S.D. = 0.79) 1.3) แนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ แนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องสถิติและความน่าจะเป็น เพื่อกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ สร้างแผนการเรียนรู้ และสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วย (1) เนื้อหาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 เรื่อง สถิติ 3 และความน่าจะเป็น (2) รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ใช้รูปแบบโครงงาน โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) 6 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหา ขั้นที่ 2 วิเคราะห์และทำความเข้าใจกับปัญหา ขั้นที่ 3 ดำเนินการศึกษาค้นคว้า ขั้นที่ 4 รวบรวมข้อมูลและสังเคราะห์ความรู้ ขั้นที่ 5 สรุปและประเมินผลการเรียนรู้ และขั้นที่ 6 นำเสนอและประเมินผลงาน (3) การพัฒนาทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน ได้แก่ การแก้ปัญหา การสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ การเชื่อมโยง การให้เหตุผล และการคิดสร้างสรรค์ และ (4) แนวทางในการวัดและประเมินผล วัดผลและประเมินผลจากการปฏิบัติและประเมินตามสภาพจริง
2. ผลพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เรื่องสถิติและความน่าจะเป็น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด พบว่า 2.1) ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพ (E1/ E2) เท่ากับ 80.67/81.22 และ 2.2) ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องสถิติและความน่าจะเป็น มีประสิทธิภาพ (E1/ E2) เท่ากับ 80.96/81.22 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
3. ผลการทดลองใช้และประเมินผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เรื่องสถิติและความน่าจะเป็น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า 3.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องสถิติและความน่าจะเป็น นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ (X ̅ = 40.61, S.D. = 0.90) สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ (X ̅ = 27.97, S.D. = 0.97) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เรื่องสถิติและความน่าจะเป็น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅ = 4.57, S.D. = 0.53)
4. ผลการปรับปรุงและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เรื่องสถิติและความน่าจะเป็น ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า หลังการใช้รูปแบบฯ ผู้วิจัยได้ร่วมสนทนากลุ่ม (Focus Group) กับผู้เชี่ยวชาญและคณะครูได้สะท้อนผลหลังการใช้รูปแบบฯ ให้ข้อเสนอแนะ สิ่งที่ควรพัฒนา ตลอดจนผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการคาดหวัง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญและคณะครูได้ให้ข้อเสนอแนะ เพื่อการพัฒนาในด้านการนำรูปแบบฯ ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สะท้อนผล ถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของรูปแบบฯ ในด้านต่าง ๆ ผู้วิจัยได้นำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงแก้ไขรูปแบบให้มีประสิทธิภาพ และมีความเหมาะสมกับการนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อ
พัฒนาผู้เรียนได้เต็มตามศักยภาพ
thunyaachaiya 04 มี.ค. 2566 เวลา 22:34 น. 0 188
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^