LASTEST NEWS

28 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 1 28 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 มี.ค. 2567สพม.นนทบุรี รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 9 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 28 มี.ค. 2567สพป.อุบลราชธานี เขต 2 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 15 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.สระบุรี เขต 1 - ผลย้ายครู 2567 สพป.สระบุรี เขต 1 28 มี.ค. 2567สพป.สตูล รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 20 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพป.สระแก้ว เขต 1 รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567 28 มี.ค. 2567สพม.เชียงราย รับสมัครสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 จำนวน 14 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 5-11 เม.ย.2567

การพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดประสบการณ์

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะ
    กระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้วิจัย    นางนิธิกานต์ ขวัญบุญ
    ตำแหน่ง ศึกษานิเทศก์ วิทยฐานะ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ
    สังกัดกองการศึกษา เทศบาลเมืองกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร
ปีที่วิจัย    2563

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความคาดหวังในการนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 4) เพื่อประเมินรูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) ผู้บริหาร จำนวน 8 คน ครูผู้สอน จำนวน 12 คน การดำเนินการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ที่ใช้วิธีการวิจัยแบบวิธีผสม (Mixed Method Research) โดยการเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพใช้แนวคิดการพัฒนารูปแบบที่ผู้วิจัยสังเคราะห์ขึ้น ซึ่งมีขั้นตอนของการวิจัยประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาวิเคราะห์สภาพและประเมินความต้องการจำเป็น ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบและพัฒนารูปแบบ ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบ ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบ และผู้วิจัยได้สรุปผลตามสมมติฐานของการวิจัย และขั้นตอนการวิจัย ได้ดังนี้
    จากผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและความคาดหวังในการนิเทศเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย จากการสํารวจสภาพปัจจุบันและความคาดหวังเกี่ยวกับการนิเทศเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย พบว่า สภาพปัจจุบันเกี่ยวกับการนิเทศเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.87) และจัดเรียงลำดับรายด้านจากน้อยไปหามาก 3 ลำดับ ได้แก่ การนิเทศแบบร่วมมือ ( = 1.50) การให้ความรู้ก่อนการนิเทศ ( = 249) และการกำหนดเป้าหมายร่วมกัน ( = 3.15)
ความคาดหวังเกี่ยวกับการนิเทศเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.55) เมื่อวิเคราะห์เป็นรายด้านเรียงลำดับความคาดหวังจากมากไปหาน้อย ได้แก่ การนิเทศแบบร่วมมือ ( = 4.65) การให้ความรู้ก่อนการนิเทศ ( = 4.61) การสร้างความสัมพันธ์ ( = 4.52) การกำหนด เป้าหมายร่วม ( = 4.51) การออกแบบการทํางานและการประเมินผล ( = 4.50) ตามลําดับ
2. ผลการพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะ
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ผลการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และการศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบัน และความคาดหวังต่อการพัฒนารูปแบบการนิเทศ การศึกษาแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศจากโรงเรียนทั้ง 2 โรงเรียน และกระบวนการตรวจสอบยืนยันจากผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการพัฒนารูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย สรุปผล ดังนี้
รูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มีองค์ประกอบ คือ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) กระบวนการดําเนินงานของรูปแบบการนิเทศ (ARSIDE Model) ประกอบด้วย 6 ขั้น คือ การกําหนดเป้าหมายร่วม (Analysis for Goal) การสร้างความสัมพันธ์ (Relationship) การออกแบบการทํางาน (Styling) การให้ความรู้ก่อนการนิเทศ (Information) การนิเทศแบบร่วมมือ (Doing) และการประเมินผล (Evaluation) และ 4) ปัจจัยความสําเร็จ ประกอบด้วย การได้รับ การสนับสนุนส่งเสริมให้เกิด การเปลี่ยนแปลง ความต่อเนื่องในการนิเทศ การสร้างขวัญและกําลังใจต่อ ผู้ปฏิบัติและ ความตระหนักในหน้าที่ของบทบาทที่ได้รับ
3. ผลการใช้รูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยสรุปว่า ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยสูงขึ้น มีผลการนํารูปแบบไปใช้ดังนี้ คือ
3.1 ความสามารถของผู้นิเทศในการนิเทศเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดประสบการณ์ ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในระดับมาก ( = 3.97)
3.2 ครูปฐมวัยมีความสามารถในการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในระดับมากที่สุด ( = 4.53)


4. ผลการประเมินรูปแบบการนิเทศเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยหลังนําไปใช้ พบว่า เมื่อนํารูปแบบการนิเทศ ที่พัฒนาขึ้นมาใช้ในการพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูผู้สอนเพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มีผลการประเมินรูปแบบอยู่ในระดับมาก ( = 4.42)

sirisab2009 26 ก.พ. 2566 เวลา 04:01 น. 0 216
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^