LASTEST NEWS

09 มิ.ย. 2566มติ กสถ. สอบท้องถิ่นรอบใหม่ ปี 66 จำนวน 65 ตำแหน่ง 4,010 อัตรา - ครูผู้ช่วย 18 วิชาเอก 770 อัตรา 09 มิ.ย. 2566สำนักงาน ก.พ. เปิดรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุเข้ารับราชการ สมัครทางอินเทอร์เน็ต 19 มิ.ย.-7 ก.ค.2566 09 มิ.ย. 2566ปัญหาครูขาดแคลน ดรามาครูอัตราจ้างเงินเดือน 6,000 บาท 08 มิ.ย. 2566(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบ ภาค ก และ ภาค ข ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปีพ.ศ.2566 ทั่วประเทศ 08 มิ.ย. 2566สพป.ตรัง เขต 2 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบ ภาค ก และ ภาค ข ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปีพ.ศ.2566 08 มิ.ย. 2566สพป.ตรัง เขต 1 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบ ภาค ก และ ภาค ข ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปีพ.ศ.2566 08 มิ.ย. 2566สพป.เชียงใหม่ เขต 6 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบ ภาค ก และ ภาค ข ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปีพ.ศ.2566 08 มิ.ย. 2566สพป.เชียงใหม่ เขต 5 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบ ภาค ก และ ภาค ข ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปีพ.ศ.2566 08 มิ.ย. 2566สพป.เชียงใหม่ เขต 3 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบ ภาค ก และ ภาค ข ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปีพ.ศ.2566 08 มิ.ย. 2566สพป.เชียงใหม่ เขต 2 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบ ภาค ก และ ภาค ข ตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัด สพฐ. ปีพ.ศ.2566

เผยแพร่ผลงาน นางสาวณิชมน ขุนชิต

usericon

ชื่อผลงาน    การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน (PRGMCAO MODEL) ที่ส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงานประดิษฐ์อย่างสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย        ณิชมน ขุนชิต ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
        โรงเรียนเทศบาลเทศบาลเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ปีการศึกษา     2565
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (research and development) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทักษะปฏิบัติของ ซิมพ์ซัน (PRGMCAO MODEL) ที่ส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงานประดิษฐ์อย่างสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 2) สร้างและการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน (PRGMCAO MODEL) ที่ส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงานประดิษฐ์อย่างสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 3) ศึกษาผลการใช้การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน (PRGMCAO MODEL) ที่ส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงานประดิษฐ์อย่างสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่พัฒนาขึ้น ดังนี้ (1) หาประสิทธิภาพด้านกระบวนการและผลลัพธ์ของรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทักษะปฏิบัติ ของซิมพ์ซัน (PRGMCAO MODEL) ที่ส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงานประดิษฐ์อย่างสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (2) เปรียบเทียบทักษะการปฏิบัติงานประดิษฐ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน (PRGMCAO MODEL) ที่ส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงานประดิษฐ์อย่างสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน (3) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน (PRGMCAO MODEL) ที่ส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงานประดิษฐ์อย่างสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน (4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เรียน ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน (PRGMCAO MODEL) ที่ส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงานประดิษฐ์อย่างสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่าง ก่อนเรียนและหลังเรียน (5) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน (PRGMCAO MODEL) ที่ส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงานประดิษฐ์อย่างสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 4) การประเมินและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน (PRGMCAO MODEL) ที่ส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงานประดิษฐ์อย่างสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนเทศบาลเขาชัยสน สังกัดกองการศึกษา เทศบาลตำบลเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 26 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน (PRGMCAO MODEL) ที่ส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงานประดิษฐ์อย่างสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ และ 4) แบบประเมินทักษะงานประดิษฐ์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทีและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน (PRGMCAO MODEL) ที่ส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงานประดิษฐ์อย่างสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์และการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยมีกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบ่งออกได้เป็น 7 ขั้นตอนตามแนวทักษะปฏิบัติของชิมพ์ชัน (PREMCAO MODEL) คือ ขั้นที่ 1 การรับรู้ (Perception) ขั้นที่ 2 การเตรียมความพร้อม (Readiness) ขั้นที่ 3 ขั้นการสนองตอบภายใต้การควบคุม (Guided Response) ขั้นที่ 4 การให้ลงมือกระทำจนกลายเป็นกลไกที่สามารถกระทำได้เอง (Mechanism) ขั้นที่ 5 การกระทำอย่างชำนาญ (Complex Overt Response) ขั้นที่ 6 การปรับปรุงและประยุกต์ใช้ (Adaptation) ขั้นที่ 7 การคิดริเริ่ม (Origination) มีค่าประสิทธิภาพ(E1/E2) ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ เท่ากับ 81.43/80.79 เมื่อเทียบกับเกณฑ์ 80/80 ปรากฏว่ามีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และมีค่าดัชนีประสิทธิผลทำให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น 0.6027 หรือคิดเป็นร้อยละ 60.27 2) ทักษะปฏิบัติงานประดิษฐ์ ความคิดสร้างสรรค์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน (PRGMCAO MODEL) ที่ส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงานประดิษฐ์อย่างสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทักษะปฏิบัติของซิมพ์ซัน (PRGMCAO MODEL) ที่ส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงานประดิษฐ์อย่างสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^ <