LASTEST NEWS

21 ก.ย. 2566"แท็บเล็ต" ยุคยิ่งลักษณ์ถึงไอเดีย "เพิ่มพูน" ควรไปต่อหรือพอได้แล้ว 20 ก.ย. 2566‘เพิ่มพูน’มอบนโยบาย ผอ.สพท. ฝากการบ้านผู้บริหารเดินหน้า‘เรียนดี มีความสุข’ 20 ก.ย. 2566“รมว.ศธ.” แนะผอ.สพท.ใช้หลักอริยสัจสี่บริหารการศึกษา 19 ก.ย. 2566สพฐ.รับลูกลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา แจกแท็บเล็ต 19 ก.ย. 2566ผู้ปกครองไม่เห็นด้วยแจกแท็บเล็ต แนะนำงบจ้างครูเพิ่ม เน้นบุคลากรยังขาดแคลน 19 ก.ย. 2566สอศ.เปิดสอบพนักงานราชการครู 48 อัตรา วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 18,000.-บาท สมัครได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป 18 ก.ย. 2566รอเรียกบรรจุ เฮ! ก.ค.ศ.แจ้งจัดสรรอัตราว่างฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย 12,514 อัตรา 18 ก.ย. 2566“เสมา2” แจงคุมสพฐ.ลั่นเจอทุจริตถูกเชือดโทษวินัยแน่ 18 ก.ย. 2566สพฐ.พร้อมหนุนนโยบาย”เพิ่มพูน” เดินหน้าลดภาระครู 18 ก.ย. 2566ด่วน !! กรุงเทพมหานคร เปิดสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ครั้งที่ 1/2566 ทางอินเทอร์เน็ต

แนวทางการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (E-School Master) เพื่อการบริห

usericon

ชื่อเรื่อง แนวทางการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (E-School Master) เพื่อการบริหารจัดการ สำหรับโรงเรียนเชียงรายปัญญานุxxxล จังหวัดเชียงราย
ผู้วิจัย นายทวีศักดิ์ มังกร ตําแหน่ง รองผู้อํานวยการสถานศึกษา
ปีที่ทําการวิจัย 2565 -2566
บทคัดย่อ
    การศึกษาเกี่ยวกับแนวทางการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (E-School Master) เพื่อการบริหารจัดการ สำหรับโรงเรียนเชียงรายปัญญานุxxxล จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและอุปสรรคการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (E-School Master) ในการบริหารสถานศึกษา โรงเรียนเชียงรายปัญญานุxxxล จังหวัดเชียงราย 2) เพื่อเสนอแนวทางพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (E-School Master) ในการบริหารสถานศึกษา โรงเรียนเชียงรายปัญญานุxxxล จังหวัดเชียงราย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน ครู จำนวน 10 คน และเจ้าหน้าที่ จำนวน 1 คน ในโรงเรียนเชียงรายปัญญานุxxxล จังหวัดเชียงราย รวมทั้งสิ้น 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 2 ชุด ได้แก่ 1. แบบสอบถาม และ 2. แบบสัมภาษณ์ การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Method Research) จึงมีการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผลการวิจัย พบว่า
1. สถานภาพส่วนใหญ่เป็นครูผู้สอน เป็นเพศหญิงมากที่สุด ส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาปริญญาตรี มีประสบการณ์ทำงานอยู่ระหว่างประสบการณ์ 5 – 10 ปี มากที่สุด และมีระยะเวลาในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (E-School Master) มากกว่า 1 ปี ร้อยละ 85.7
2. ภาพรวมความเข้าใจเกี่ยวกับหลักและวิธีการใช้ระบบงานเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการบริหารจัดการงาน อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ กลุ่มบริหารงานวิชาการ และด้านน้อยที่สุด คือ กลุ่มบริหารงานกิจการนักเรียน
3. แนวทางการพัฒนาการใช้ระบบงานเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มบริหารงานวิชาการ ได้แก่ จัดให้มีเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ ดูแลระบบ ควรจัดอบรมให้ความรู้เพิ่มเติมให้กับผู้ปฏิบัติงาน มีการแต่งตั้งผู้ดูแลและให้คำแนะนำ กลุ่มบริหารงานทั่วไป ได้แก่ มีการเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน จัดสรรงบประมาณ สนับสนุน ในการพัฒนาการใช้ระบบงานเทคโนโลยีสารสนเทศ และมีการกำกับติดตามการทำงานอย่างต่อเนื่อง กลุ่มบริหารงานบุคคล ได้แก่ การใช้ข้อมูลในการกำกับ ติดตาม มาใช้ในการปรับปรุงระบบการทำงานและรายงานผลการปฏิบัติงานกลุ่มบริหารงานกิจการนักเรียน ได้แก่ การเชื่อมต่อระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ากับกลุ่มงานที่มีภารกิจสัมพันธ์กัน การใช้เก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของนักเรียน
คำสำคัญ : ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ การบริหารจัดการ
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^ <