LASTEST NEWS

26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพป.แพร่ เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.แพร่ เขต 1 26 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. อนุมัติให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีและเลื่อนเป็นวิทยฐานะเชี่ยวชาญ  26 เม.ย. 2567สพป.ชัยนาท ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ชัยนาท 26 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 26 เม.ย. 2567สพม.นครศรีธรรมราช ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.นครศรีธรรมราช 26 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพม.ลพบุรี 26 เม.ย. 2567สพม.สุรินทร์ ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 2) - ผลย้ายครู 2567 สพม.สุรินทร์ 26 เม.ย. 2567สพป.ตาก เขต 1 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ตาก เขต 1 26 เม.ย. 2567สพป.ลำพูน เขต 2 ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 รอบที่ 1 (ครั้งที่ 1) - ผลย้ายครู 2567 สพป.ลำพูน เขต 2

5BEST MODEL เพื่อการขับเคลื่อนสถานศึกษาสู่มาตรฐานการศึกษาอย่างมี

usericon

ผู้ศึกษา : นางสาวศณีณาถ แซ่ตัน
นางสาวธารทิพย์ ราชเพ็ชร
นางสาวนิรดา คำเสน
นางสาวขนิษฐา หนูแก้ว
นางสาวปัญจลักษณ์ นิดคง
นายฉัตรชัย สุขหอม
นางสาวศันสุนีย์ ชูเกิด
นางสาวณัฐวดี นาคแท้
นางสาวเสาวลี เกิดทอง
นายอภิชัย สามชุม
นางสาวศิริรัตน์ สมพงษ์

ผลการใช้นวัตกรรม 5BEST MODEL
๑. ระบบการประกันคุณภาพภายในมีประสิทธิผล ก่อให้เกิดการพัฒนาด้านคุณภาพผู้เรียน (ปีการศึกษา ๒๕๖๑ – ๒๕๖๔)
คุณภาพผู้เรียน
๑.๑ ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
๑. มีความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ
ผู้เรียนมีทักษะในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดในแต่ละระดับชั้น
๒. มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา
ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดจำแนกแยกแยะ ใคร่ครวญไตร่ตรอง พิจารณาอย่างรอบคอบ โดยใช้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล
๓. มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม
ผู้เรียนมีความสามารถในการรวบรวมความรู้ได้ทั้งด้วยตัวเองและการทำงานเป็นทีม เชื่อมโยงองค์ความรู้ และประสบการณ์มาใช้ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆอาจเป็นแนวความคิด โครงการ โครงงาน ชิ้นงาน ผลผลิต
๔. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ผู้เรียนมีความสามารถในใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการพัฒนาตนเองและสังคมในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน สร้างสรรค์ และมีคุณธรรม
๕. มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรสถานศึกษา
ผู้เรียนบรรลุและมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาจากพื้นฐานเดิมในด้านความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ กระบวนการต่างๆ รวมทั้งมีความก้าวหน้าในผลการทดสอบระดับชาติ หรือผลการทดสอบอื่น ๆ
๖. มีความรู้ ทักษะพื้นฐาน และเจตคติที่ดีต่องานอาชีพ
ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะพื้นฐานในการจัดการ เจตคติที่ดีพร้อมที่จะศึกษาต่อในระดับชั้นที่สูงขึ้น การทำงานหรืองานอาชีพ
๑.๒ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน
๑. มีคุณลักษณะและค่านิยมที่ดีตามที่สถานศึกษากำหนด
ผู้เรียนมีพฤติกรรมเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม เคารพในกฎกติกา มีค่านิยมและจิตสำนึกตามที่สถานศึกษากำหนดโดยไม่ขัดกับกฎหมายและวัฒนธรรมอันดีของ
๒. มีความภูมิใจในท้องถิ่นและความเป็นไทย
ผู้เรียนมีความภูมิใจในท้องถิ่น เห็นคุณค่าของความเป็นไทย มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีไทย รวมทั้งภูมิปัญญาไทย
๓ .ยอมรับที่จะอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างและหลากหลาย
ผู้เรียนยอมรับและอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้าน เพศ วัย เชื้อชาติ ศาสนา ภาษาวัฒนธรรม ประเพณี
๔. มีสุขภาวะทางร่างกาย และจิตสังคม
ผู้เรียนมีการรักษาสุขภาพกาย สุขภาพจิต อารมณ์ และสังคม และแสดงออกอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัยสามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างมีความสุข เข้าใจผู้อื่นไม่มีความขัดแย้งกับผู้อื่น
๒. ระบบการประกันคุณภาพภายในมีประสิทธิผล ก่อให้เกิดการพัฒนาด้านกระบวนการบริหารและการจัดการ
(ปีการศึกษา ๒๕๖๑ – ๒๕๖๔)
๒.๑ มีเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธะกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน
สถานศึกษากำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจไว้อย่างชัดเจน สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา ความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น วัตถุประสงค์ของแผนการศึกษาแห่งชาติ นโยบายของรัฐบาลและของต้นสังกัดรวมทั้งทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม
โรงเรียนบ้านไทรบ่วงมีกระบวนการพัฒนาตามโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โรงเรียนได้ดำเนินการวิเคราะห์สภาพปัญหา ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมา โดยการศึกษาข้อมูลสารสนเทศจากผลการนิเทศ ติดตาม ประเมินการจัดการศึกษาตามนโยบายการปฏิรูปการศึกษา และจัดประชุมระดมความคิดเห็นจากบุคลากรในสถานศึกษาเพื่อวางแผนร่วมกัน ในการกำหนดเป้าหมาย ปรับวิสัยทัศน์ กำหนดพันธกิจ กลยุทธ์ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
๒.๒ มีระบบบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษา
สถานศึกษาสามารถบริหารจัดการคุณภาพของสถานศึกษาอย่างเป็นทั้งในส่วนการวางแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา การนำแผนไปปฏิบัติเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีการติดตามตรวจสอบประเมินผลและปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง มีการบริหารอัตรากำลัง ทรัพยากรทางการศึกษา และระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีระบบการนิเทศภายใน การนำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาบุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมการวางแผน ปรับปรุง และพัฒนา และร่วมรับผิดชอบต่อผลการจัดการศึกษา
โรงเรียนบ้านไทรบ่วง มีกระบวนการพัฒนาตามโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยมีการปรับแผนพัฒนาคุณภาพจัดการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา ความต้องการพัฒนาและนโยบาย การปฏิรูปการศึกษา พร้อมทั้งจัดหาทรัพยากรจัดสรรงบประมาณ มอบหมายงานให้ผู้รับผิดขอบ ดำเนินการพัฒนาตามแผนงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ มีการดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมิน ผลการดำเนินงาน และสรุปผลการดำเนินงาน
๒.๓ ดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตามหลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย
สถานศึกษาบริหารจัดการเกี่ยวกับงานวิชาการ ทั้งด้านการพัฒนาหลักสูตรกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน เชื่อมโยงวิถีชีวิตจริง และครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย หมายรวมถึงการจัดการเรียนการสอนของกลุ่มที่เรียนแบบควบรวมหรือกลุ่มที่เรียนร่วมด้วย
โรงเรียนมีกระบวนการพัฒนาตามโครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา มีการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน เชื่อมโยงวิถีชีวิตจริงและครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย
๒.๔ พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ
สถานศึกษาส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาครู บุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิซาชีพและจัดให้มีชุมชน การเรียนรู้ทางวิชาชีพ มาใช้ในการพัฒนางานและการเรียนรู้ของผู้เรียน
โรงเรียนบ้านไทรบ่วงมีกระบวนการพัฒนาครูตามโครงการศึกษาดูงานของครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนบ้านไทรบ่วง เพื่อเสริมสร้างวิสัยทัศน์ใหม่ๆ ของผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา วิทยาการหรือนวัตกรรมใหม่ ๆ จากสถานที่ไปศึกษาดูงานแล้วนำกลับมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการของโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พร้อมทั้งจัดส่งบุคลากรเข้าร่วมประชุม อบรมทางวิชาการกับหน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานอื่น เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาครู บุคลากร ให้มีความเชี่ยวชาญทางด้านวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนางานและความรู้ของผู้เรียน
๒.๕ จัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้
สถานศึกษาจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนและสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ และมีความปลอดภัย
โรงเรียนบ้านไทรบ่วงมีกระบวนการพัฒนาตามโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้อาคารสถานที่ อาคารประกอบและสิ่งแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวกของโรงเรียนและบริเวณโรงเรียนสะอาด ร่มรื่น ปลอดภัย เอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนของนักเรียนและการปฏิบัติงานของบุคลากรในโรงเรียน
๒.๖ จัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้
สถานศึกษาจัดระบบการจัดหา การพัฒนาและการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของสถานศึกษา
โรงเรียนบ้านไทรบ่วงมีกระบวนการพัฒนาตามโครงการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามนโยบายเรียนฟรี ๑๕ ปี อย่างมีคุณภาพระดับประถมศึกษา มีกระบวนการจัดหา การพัฒนาและบริการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหารจัดการ และการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน
๓. ระบบการประกันคุณภาพภายในมีประสิทธิผล ก่อให้เกิดคุณภาพด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (ปีการศึกษา ๒๕๖๑ – ๒๕๖๔)
๓.๑ จัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถนำไปจัดกิจกรรมได้จริง มีรูปแบบการจัดการเรียนรู้เฉพาะสำหรับผู้ที่มีความจำเป็นและต้องการความช่วยเหลือพิเศษ ผู้เรียนได้รับการฝึกทักษะ แสดงออก แสดงความคิดเห็น สรุปองค์ความรู้ นำเสนอผลงานและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้
ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยผ่านกระบวนการคิด และปฏิบัติจริงด้วยตนเอง เซ่น จัดการเรียนรู้ด้วยโครงงาน มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่สามารถปฏิบัติได้จริง ผู้เรียนได้รับทักษะการแสดงออก แสดงความเห็น สรุปองค์ความรู้ นำเสนอผลงาน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้
๓.๒ ใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้
มีการใช้สื่อ เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ โดยสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากสื่อที่หลากหลาย
โรงเรียนมีกระบวนการพัฒนาตามโครงการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามนโยบายเรียนฟรี ๑๕ ปี อย่างมีคุณภาพระดับประถมศึกษา มีการสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้นักเรียนในด้าน ICT โดยมีการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนการสอน โดยสร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากสื่อที่หลากหลาย
๓.๓. มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก
ครูผู้สอนมีการบริหารจัดการชั้นเรียน โดยเน้นการมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวก ให้เด็กรักครู ครูรักเด็ก และเด็กรักเด็ก เด็กรักที่จะเรียนรู้ สามารถเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข
ครูผู้สอนมีการบริการจัดการชั้นเรียน โดยเน้นการมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวก ให้เด็กรักครู ครูรักเด็ก และเด็กและรัก เด็กรักที่จะเรียนรู้ สามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
๓.๔ ตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน
มีการตรวจสอบและประเมินคุณภาพการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนโดยใช้เครื่องมือและวิธีการวัดและประเมินผลที่เหมาะสมกับเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้ และให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนเพื่อนำไปใช้พัฒนาการเรียนรู้
โรงเรียนมีกระบวนการพัฒนาตามโครงการนิเทศภายใน โดยให้ครูทุกคนจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ มีกระบวนการตรวจแผนการจัดการเรียนรู้ นิเทศการสอนของครูทุกคนในโรงเรียน และครูมีกระบวนการประเมินผลการเรียนตามสภาพจริง เช่น การสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ภายในชั้นเรียน การตรวจใบงาน แบบฝึกหัด ผลงานต่างๆ ของนักเรียน การทดสอบความรู้ด้วยแบบทดสอบ มีการกำหนดผู้เชี่ยวชาญในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ เพื่อตรวจสอบการออกข้อสอบให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ และมีรูปแบบที่เหมาะสม เพื่อให้ผลการทดสอบสะท้อนความรู้ความสามารถทางด้านการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหาของนักเรียนได้อย่างแท้จริง และให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนเพื่อนำไปพัฒนาการเรียนรู้
๓.๕ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้
ครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้
โรงเรียนมีกระบวนการพัฒนานักเรียนตามโครงการนิเทศภายใน ซึ่งให้ครูผู้สอนมีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้


samchum30 27 ม.ค. 2566 เวลา 09:26 น. 0 257
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^