LASTEST NEWS

18 เม.ย. 2567ก.ค.ศ. เข้ม สั่งสอบครูคัดลอกผลงานฯ เตรียมจับมือ จุฬาฯ ใช้ระบบอักขราวิสุทธิ์ตรวจสอบ 18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567สพม.ยะลา ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567  18 เม.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ สังกัด สพฐ. ปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 18 เม.ย. 2567ประกาศผลย้ายครู ปี 2567 ครั้งที่ 1 (รอบที่ 1) สพป.อุดรธานี เขต 4 - ผลย้ายครู 2567 สพป.อุดรธานี เขต 4 17 เม.ย. 2567สพม.ลพบุรี ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 17 เม.ย. 2567สพป.ตรัง เขต 2 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 17 เม.ย. 2567สพป.เพชรบูรณ์ เขต 1 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการคัดเลือกฯ ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีพิเศษ ปี พ.ศ.2567 17 เม.ย. 2567โรงเรียนนิยมศิลป์อนุสรณ์ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาเกาหลี เงินเดือน 15,000 บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ – 25 เมษายน พ.ศ.2567 17 เม.ย. 2567โรงเรียนบัวใหญ่ รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 18,000 บาท สมัครตั้งแต่วันที่ 17 – 26 เมษายน พ.ศ.2567

เผยแพร่ผลงานการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน

usericon

ชื่อเรื่อง : การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกระทุ่มแบน “วิเศษสมุทคุณ”
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาครสมุทรสงคราม
ผู้ประเมิน : สายธวา อาบรัมย์ รองผู้อำนวยการชำนาญการ โรงเรียนกระทุ่มแบน "วิเศษสมุทคุณ"
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม
ปีการศึกษา : 2564

บทคัดย่อ
การประเมินการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกระทุ่มแบน "วิเศษสมุทคุณ" ปีการศึกษา 2564 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกยามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม โดยใช้รูปแบบการประเมิน IPOO Model ประเมิน 4 ด้าน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า (Input evaluation : I) การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกระทุ่มแบน "วิเศษสมุทคุณ" ปีการศึกษา 2564 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม 2) เพื่อประเมินกระบวนการ (Process evaluation : P) การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกระทุ่มแบน "วิเศษสมุทคุณ" ปีการศึกษา 2564 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม 3) เพื่อประเมินผลผลิต (Output evaluation : O) การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกระทุ่มแบน "วิเศษสมุทคุณ" ปีการศึกษา 2564 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม และ 4) เพื่อประเมินผลลัพธ์ (Outcome evaluation : O) (ความพึงพอใจ) การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกระทุ่มแบน "วิเศษสมุทคุณ" ปีการศึกษา 2564 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้ให้ข้อมูลด้านปัจจัยนำเข้า (Input) กระบวนการของโครงการ (Process) และผลผลิต โครงการ (Output) ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการครู พนักงานราชการครู และครูอัตราจ้าง จำนวน 109 คน 2) กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลด้านผลลัพธ์ (Outcome)(ความพึงพอใจ) ของโครงการ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ของโรงเรียนกระทุ่มแบน "วิเศษสมุทคุณ" ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1,091 คน เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินเป็นแบบสอบถามจำนวน 4 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency (f)) ค่าร้อยละ (Percentage (%)) ค่าเฉลี่ย (Mean (μ)) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation (σ))

ผลการประเมิน
การประเมินการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกระทุ่มแบน "วิเศษสมุทคุณ" ปีการศึกษา 2564 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงครามสรุปผลได้ดังนี้
    1. ผลการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนกระทุ่มแบน “วิเศษสมุทคุณ” ปีการศึกษา 2564 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการ (Input Evaluation) ในภาพรวมพบว่า ปัจจัยนำเข้าของโครงการ (การประเมินความพร้อมของทรัพยากรที่จำเป็นในการดำเนินงาน) มีความพร้อมอยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.50, σ = 0.50)
    เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าทุกด้านมีระดับความพร้อมในระดับ มาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยของระดับความพร้อมมากที่สุด คือ ด้านการบริหารจัดการ (μ = 4.51, σ = 0.50) รองลงมาเป็นด้านครู / บุคลากรดำเนินงาน (μ = 4.51, σ = 0.50) ด้านวัสดุอุปกรณ์อาคารสถานที่(μ = 4.50, σ = 0.50) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยระดับความพร้อมน้อยที่สุดคือ ด้านงบประมาณและแหล่งงบประมาณ (μ = 4.48, σ = 0.50)
    2. ผลการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนกระทุ่มแบน “วิเศษสมุทคุณ” ปีการศึกษา 2564 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม ด้านกระบวนการของโครงการ (Process Evaluation) ตามวงจรเดมมิ่ง PDCA พบว่าในภาพรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (μ = 4.40, σ = 0.61)
     เมื่อพิจารณาเป็นรายขั้นตอน ขั้นที่มีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติมากที่สุด คือ การดำเนินงานตามแผน (Do) (μ = 4.43, σ = 0.59) รองลงมาคือ ขั้นสรุป/รายงานผล/ปรับปรุง(Act) (μ = 4.39, σ = 0.60) การวางแผนเตรียมการ (Plan) (μ = 4.25,  = 0.56) และ ส่วนที่มีค่าเฉลี่ยระดับการปฏิบัติน้อยที่สุดคือ ขั้นการประเมินผล (check) (μ = 4.25, σ = 0.70)
3. ผลการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนกระทุ่มแบน “วิเศษสมุทคุณ” ปีการศึกษา 2564 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม ด้านปัจจัยด้านผลผลิตของโครงการ (Output Evaluation) พบว่าในภาพรวม มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (μ = 4.21, σ = 0.67)
ค่าเฉลี่ยของรายการประเมินผลการประเมินปัจจัยด้านผลผลิตของโครงการ (Output Evaluation) พบว่าระดับการปฏิบัติอยู่ในด้านฝึกทักษะการตัดสินใจ (Decision making)
(μ = 4.64, σ = 0.48) มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือด้านฝึกทักษะการแก้ปัญหา (Problem solving) (μ = 4.53, σ = 0.50) ด้านฝึกทักษะการคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking) (μ = 4.52, σ = 0.50) และ และ ตามลำดับ ส่วนน้อยที่สุดคือด้าน ฝึกทักษะการจัดการกับความเครียด (Coping with stress) ซึ่งมีค่าค่าเฉลี่ยการปฏิบัติ อยู่ที่ (μ = 3.45, σ = 1.07)
4. ผลการประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนกระทุ่มแบน "วิเศษสมุทคุณ" ปีการศึกษา 2564 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงครามด้านผลลัพธ์ (Outcome)(ความพึงพอใจ) โดยภาพรวมพบว่า ค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจ (μ = 4.35, σ = 0.57) ข้อมูลผลจากการดำเนินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนพบว่า ส่วนใหญ่ นักเรียนสามารถพัฒนาพฤติกรรม และ บุคลิกภาพของตนเองให้เป็นที่พึงปรารถนาของสังคม(μ = 4.75, σ = 0.70) รองลงมาคือ นักเรียนมีสัมพันธภาพที่ดีกับครู กล้าที่จะปรึกษาหารือกับครู (μ = 4.70, σ = 0.50) และ สัมพันธภาพที่ดีกับนักเรียนให้เกิดความคุ้นเคยเป็นกันเองมีความไว้วางใจรู้สึกมีที่พึ่งและมีความอบอุ่นใจนั(μ = 4.55, σ = 0.50) นักเรียนได้ปรับปรุงพฤติกรรมของตนเอง ให้มีคุณลักษณะที่พึงมากขึ้นเพื่อจะได้ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข (μ = 4.54, σ = 0.50) ส่วนน้อยที่สุดคือด้าน นักเรียนสามารถใช้วิจารณญาณของตน ในการแก้ปัญหาขัดแย้งระหว่างความต้องการของตนกับขอบเขตของศีลธรรมจรรยาได้ดีขึ้น ซึ่งมีค่าค่าเฉลี่ยการปฏิบัติ อยู่ที่ (μ = 3.10, σ = 0.85)

คำสำคัญ : การประเมินโครงการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน




saythawa.ar 22 พ.ย. 2565 เวลา 09:39 น. 0 337
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^